จะเป็ยฎ็องแวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จะเป็ยฎ็องแวง *
  มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมโดยยูเนสโก
Kong Nay เล่นจะเป็ยฎ็องแวงที่พนมเปญเมื่อ พ.ศ. 2550
ประเทศกัมพูชา
ภูมิภาค **เอเชียแปซิฟิก
สาขาเครื่องดนตรีและศิลปะการแสดง
อ้างอิง1165
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน30 พฤศจิกายน 2559 (คณะกรรมการสมัยที่ 11)
รายการระบุไว้ในรายการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จำเป็นต่อการป้องกันอย่างเร่งด่วนเมื่อ พ.ศ. 2559 (11.COM)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการสงวนรักษาที่ดี
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
นักดนตรีหญิงเล่นจะเป็ยสองสาย
นักดนตรีหญิงเล่นกระจับปี่สี่สาย

จะเป็ยฎ็องแวง (เขมร: ចាប៉ីដងវែង) หรือเรียกโดยย่อว่า จะเป็ย (เขมร: ចាប៉ី) ในไทยเรียก กระจับปี่อย่างเขมร หรือ จับเปย[1] เป็นเครื่องสายประเภทดีดชนิดหนึ่งของประเทศกัมพูชา มีคันทวนค่อนข้างยาวและตัวกะโหลกใหญ่ ส่วนลูกบิดสำหรับขึงด้วยสายไนลอนขึ้นสายสองสาย[2][3] ลักษณะคล้ายกับกระจับปี่ของไทยแต่ต่างตรงที่กระจับปี่จะขึ้นสายสี่สาย[1] สายบนกับสายล่างปกติจะตั้งสายให้เป็นคอร์ด G และ C ตามลำดับ ประกอบไปด้วย 12 เฟรต (สลักที่ใช้กำหนดโน้ต) ที่มีโน้ต 1 D, 2 E, 3 F, 4 G, 5 A, 6 B, 7 C, 8 D, 9 E, 10 F, 11 G, 12 A

ปัจจุบันจะเป็ยฎ็องแวงยังมีการบรรเลงอยู่จนถึงปัจจุบันฐานะเครื่องบรรเลงในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่นิยมในหมู่ชาวเขมรดังปรากฏให้เห็นในอินเทอร์เน็ต[1] รวมทั้งมีการใช้จะเป็ยฎ็องแวงเล่นประกอบการขับลำนำด้นสดซึ่งไม่มีในกระจับปี่ของไทย ส่วนการเล่นจะเป็ยฎ็องแวงในไทยพบได้ในชุมชนเชื้อสายเขมร เช่น จังหวัดปทุมธานีย่านคลองหก และจังหวัดสุรินทร์แถบชายแดน[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (2555). "กระจับปี่ : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย". สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-17. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "South East Asia". ATLAS of Plucked Instruments. สืบค้นเมื่อ 2010-07-26.
  3. "The Stringed Instrument Database". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-18. สืบค้นเมื่อ 2016-05-13.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จะเป็ย