โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
บทความนี้ขาดการสรุปข้อมูลที่จำเป็นในรูปแบบกล่องข้อมูล คุณสามารถช่วยเราได้ โดยการเพิ่มกล่องข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเหมาะสม ลงในบทความ |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นโรงพยาบาลสังกัดราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ตั้งอยู่ริมถนนกำแพงเพชร 6 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ประวัติ[แก้]
ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี มีพระปณิธานอันแน่วแน่ที่จะช่วยเหลือประชาชนชาวไทยที่ต้องทนทุกข์จากโรคมะเร็ง มีพระดำริจัดตั้ง “โรงพยาบาลจุฬาภรณ์” และเสด็จพระดำเนินทรงเปิดดำเนินการโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เพื่อเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางรักษาโรคมะเร็ง ขนาด 100 เตียง มีภารกิจในการช่วยเหลือบำบัดดูแลรักษาและบรรเทาความเดือดร้อนทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ภายใต้การศึกษาวิจัยเพื่อค้นคว้าองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ควบคู่กับการส่งเสริมป้องกันมะเร็งให้แก่ประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 ทรงโปรดฯ ให้ขยายขอบข่ายการบริการของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ครอบคลุมการรักษาทุกโรค เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ด้วยพระวิสัยทัศน์และสายพระเนตรที่ยาวไกลว่าควรมีการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีประสิทธิภาพ และมีจำนวนพอเพียง ทรงมีพระดำริให้ดำเนินการพัฒนาต่อยอด “โรงพยาบาลจุฬาภรณ์” ให้เป็น “วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์” สถาบันการศึกษาและบริการทางการแพทย์แบบครบวงจร พร้อมแผนรองรับการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีศักยภาพโดดเด่นในการแก้ไขปัญหาผ่านกระบวนการวิจัย โดยมีโรงพยาบาลจุฬาภรณ์เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยฯ อันประกอบด้วย “ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์” “ศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ” “ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์” และมีพระวินิจฉัยให้ร่วม “สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์” ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตนักวิทยาศาสตร์ในสาขาที่มีความจำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศเข้าไว้ด้วยกัน ตลอดจนให้ทุกหน่วยงานประสานความร่วมมือ โดยรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้องค์กรที่พระราชทานนามว่า... “ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์”