เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ 4
เจ้าคุณจอมมารดา สำลี ในรัชกาลที่ 4 ป.จ. | |
---|---|
![]() | |
เกิด | พ.ศ. 2378 กรุงเทพมหานคร ไทย |
เสียชีวิต | 21 มกราคม พ.ศ. 2443 กรุงเทพมหานคร สยาม |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บุตร | • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบงเบิกบาน • สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี |
บิดามารดา | สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) หม่อมน้อย บุนนาค |

เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (สกุลเดิม บุนนาค, พ.ศ. 2378 - พ.ศ. 2443) เป็นมารดาในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ[แก้]
เจ้าคุณจอมมารดาสำลี เป็นธิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) และขรัวยายคล้าย เกิดเมื่อ พ.ศ. 2378 ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับราชการฝ่ายในเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโอรส-ธิดา 5 พระองค์ คือ
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายแดง สิ้นพระชนม์แต่ยังทรงพระเยาว์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเขียว (รัชกาลที่ 4 ทรงออกพระนามว่า "หญิงเล็ก")[1] สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบงเบิกบาน
- สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเจ้าจอมมารดาสำลีเป็น เจ้าคุณจอมมารดาสำลี เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2443 ซึ่งพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรีได้มีพระหัตถเลขาถึงสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ในเรื่องนี้ ความตอนหนึ่งว่า
...ด้วยแม่มีความยินดีที่จะบอกลูกว่า ในการถือน้ำเมื่อวานนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คุณยายเป็นเจ้าคุณโดยยกเหตุว่า เป็นผู้มีบรรดาศักดิ์และเป็นพระญาติวงศ์ กับทั้งเป็นเจ้าจอมทูนหม่อมปู่ เป็นมารดาของแม่ ให้เรียกกันโดยสามัญว่า เจ้าคุณตำหนักเดิม (เพราะเหตุว่าอยู่ตำหนักเดิมของทูนหม่อมปู่) ในบาญชีเบี้ยหวัดเรียกเจ้าคุณจอมมารดา แม่รู้สึกดีมากในข้อที่ทรงยกว่าเป็นพระญาติวงศ์ เพราะคนใหม่ ๆ โดยมากไม่ใคร่รู้สึกว่าตระกูลข้างแม่เราเป็นพระญาติสนิทแก่พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ รัชกาลอย่างไร...[2]
ถึงแก่พิราลัย[แก้]
เจ้าคุณจอมมารดาสำลีถึงแก่พิราลัยในรัชกาลที่ 5 เมื่อวัน 21 มกราคม พ.ศ. 2443 เวลาเที่ยง ณ บ้านตำบลหน้าวัดชิโนรสารามวรวิหาร สิริอายุ 65 ปี เวลาหนึ่งทุ่มพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการผู้ใหญ่ ได้ร่วมรดน้ำศพ แล้วย้ายศพมาไว้ที่หอนิเพทพิทยา ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งขัดต่อพระราชประเพณีในการที่จะนำศพสามัญชนที่เสียชีวิต เข้ามายังพระบรมมหาราชวัง แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้เหตุผลว่าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ ในการบำเพ็ญกุศลศพ และยังทรงพระกรุณาฯ ให้ใช้คำว่า พิราลัย แก่เจ้าคุณจอมมารดาเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ยังได้รับพระราชทานโกศกุดั่นน้อยประกอบศพ[3] อีกด้วย
ได้รับพระราชทานเพลิงบุพโพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ร.ศ. 120[4] และรับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุผ้าขาวจตุรมุขยอดมณฑป ท้องสนามหลวง ได้รับพระราชทานโกศกุดั่นใหญ่ประกอบศพ เมื่อวันที่ 15 มกราคม ร.ศ. 120[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2442 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[6]
อ้างอิง[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ 4 |
- วิบูล วิจิตรวาทการ, สตรีสยามในอดีต, สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2542, ISBN 974-7377-292
- แสงเทียน ศรัทธาไทย, สามราชินีคู่บัลลังก์ ร.๕, มหรรณพ, 2539, ISBN 974-914-830-4
- ↑ กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 61
- ↑ จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, นายแพทย์. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ลายคำ, 2552, หน้า 447
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวพิราไลย, เล่ม 17, 27 มกราคม 2443, หน้า 634
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเพลิงบุพโพ เจ้าคุณจอมมารดาสำลี, เล่ม 18, 8 ธันวาคม 2444, หน้า 699
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การเมรุท้องสนามหลวง, เล่ม 18, 26 มกราคม 2444, หน้า 831-7
- ↑ "การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลพระจุลจอมเกล้าแลถวายบังคมพระบรมรูป" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (34): 498. 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442. Check date values in:
|date=
(help)