ราชอาณาจักรคุช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชอาณาจักรคุช

ป. 1070 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ป. ค.ศ. 550[2]
ศูนย์กลางของคุช และราชอาณาจักรคุชแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ ประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช[3]
ศูนย์กลางของคุช และราชอาณาจักรคุชแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ ประมาณ 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช[3]
เมืองหลวงเคอร์มา
แนปาตา
เมโรวี
ภาษาทั่วไปเมโรวี
อียิปต์[4]
คูไชต์[5]
นิวเบีย
ศาสนา
ศาสนาคุช[6]
ลัทธิพหุเทวนิยมคุช
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์ 
ยุคประวัติศาสตร์สมัยสัมฤทธิ์จนถึงปลายสมัยโบราณ
• สถาปนา
ป. 1070 ปีก่อนคริสต์ศักราช 
• ย้ายราชธานีไปยังเมโรวี
591 ปีก่อนคริสต์ศักราช
• ล่มสลาย
 ป. ค.ศ. 550[2]
ประชากร
• ช่วงเมโรวี[7]
1,150,000
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิอียิปต์
ราชอาณาจักรอะโลเดีย
ราชอาณาจักรมาคูเรีย
ราชอาณาจักรโนบาเทีย
อาณาจักรอักซุม
วัฒนธรรมกลุ่มเอ็กซ์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของซูดาน
อียิปต์

ราชอาณาจักรคุช (อังกฤษ: Cush, Kush; อียิปต์โบราณ: 𓎡𓄿𓈙𓈉 kꜣš, อัสซีเรีย: Kûsi, ใน LXX กรีกโบราณ: Κυς Kus และ Κυσι[โปรดขยายความ] Kusi; คอปติก: ⲉϭⲱϣ Ecōš; ฮีบรู: כּוּשׁ Kūš) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า คุช เป็นอาณาจักรโบราณในบริเวณนิวเบีย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ซึ่งปัจจุบัน คือ ตอนเหนือของประเทศซูดานและตอนใต้ของประเทศอียิปต์

ภูมิภาคนิวเบียเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมในยุคแรก ซึ่งก่อให้เกิดสังคมที่ซับซ้อนหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับการค้าและอุตสาหกรรม[8] นครรัฐเคอร์มากลายเป็นฐานอำนาจทางการเมืองที่โดดเด่นในช่วงระหว่าง 2450 ถึง 1450 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยควบคุมพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ระหว่างแก่งน้ำตกแม่น้ำไนล์ที่หนึ่งจนถึงที่สี่ ซึ่งเป็นพื้นที่ใหญ่พอ ๆ กับอียิปต์ ชาวอียิปต์เป็นคนกลุ่มแรกที่ระบุว่านครรัฐเคอร์มาเป็น "ชาวคุช" และในอีกหลายศตวรรษต่อมา อารยธรรมทั้งสองก็มีส่วนร่วมในสงคราม การค้า และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเป็นระยะ ๆ[9]

นิวเบียส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอียิปต์ในช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่ (ระหว่าง 1550–1070 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการล่มสลายของอียิปต์ท่ามกลางในช่วงการล่มสลายปลายยุคสัมฤทธิ์ โดยชาวคุชได้สถาปนาราชอาณาจักรขึ้นใหม่ในแนปาตา (ปัจจุบันคือเมืองการิมา ประเทศซูดาน) แม้ว่าราชอาณาจักรคุชจะได้พัฒนาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมหลายอย่างกับอียิปต์ เช่น ความเลื่อมใสต่อเทพอามุน และราชวงศ์ของทั้งสองอาณาจักรบางครั้งก็อภิเษกสมรสระหว่างกัน แต่วัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติของราชอณาจักรคุช นั้นแตกต่างกัน โดยศิลปะอียิปต์ทำให้ชาวคคุชมีความโดดเด่นด้วยการแต่งกาย รูปร่างหน้าตา และแม้กระทั่งวิธีการเดินทาง[8]

ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์คาชตา ("ชาวคุช") ได้ทรงขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์บนโดยไม่มีการต่อต้าน ในขณะที่พระนางอเมนอิร์ดิส ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสาวิกาผู้ศักดิ์สิทธ์แห่งอามุนในธีบส์[10] กษัตริย์ปิเย ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์ได้ทรงรุกรานอียิปต์ล่าง โดยทรงสถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า ซึ่งปกครองโดยชาวคุช เชปเอนอูเพตที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ปิเยก็ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นสาวิกาผู้ศักดิ์สิทธ์แห่งอามุนเช่นดัน กษัตริย์แห่งคุชทรงปกครองอียิปต์มานานกว่าหนึ่งศตวรรษจนกระทั่งชาวอัสซีเรียเข้ามาพิชิตอียิปต์ ในที่สุดก็กษัตริย์คุชก็ทรงถูกกษัตริย์เอซาร์ฮัดดอนและกษัตริย์อาชูร์บานิปัลแห่งอัสซีเรียทรงขับไล่ออกจากอียิปต์ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากสิ้นสุดอำนาจการปกครองเหนืออียิปต์แล้ว เมืองหลวงของจักรวรรดิคูไชต์ก็ตั้งอยู่ที่เมืองเมโรวี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวชาวกรีกรู้จักกันในนามของเอธิโอเปีย

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราชจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 3 ทางตอนเหนือของนิวเบียได้ถูกรุกรานและถูกผนวกโดยอียิปต์ ซึ่งปกครองโดยผู้ปกครองชาวมาซิโดเนียและผู้ปกครองชาวโรมันเป็นเวลา 600 ปีจากนั้น ดินแดนบริเวณดังกล่าวจะเป็นที่รู้จักในโลกของกรีก-โรมันในนาม ดอเดคาสสคออินอส ต่อมาถูกปกครองโดยกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรคุชที่สี่พระนามว่า เยเซโบเคอามานิ ราชอาณาจักรแห่งชาวคุชยังคงเป็นมหาอำนาจระดับภูมิภาคดังกล่าวจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อราชอาณาจักรคุชอ่อนแอและได้สลายตัวจากการก่อจลาจลภายในท่ามกลางสภาพอากาศที่เลวร้ายลง และการรุกรานและพิชิตโดยชาวโนบา (นิวเบีย) ซึ่งภาษานิวเบียเข้ามาแทนที่จากภาษาเมโรวีดั้งเดิมและเรียกตนเองวว่า นิวเบีย แทนที่ชื่อเรียกที่ครั้งหนึ่งเคยเรียกว่า คุช เมืองเมโรวีได้ถูกยึดและปล้นสะดมโดยราชอาณาจักรอักซุม ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของราชอาณาจักรและการสลายตัวเป็นสามขั้วอำนาจการเมือง คือ ราชอาณาจักรโนบาเทีย, ราชอาณาจักรมาคูเรีย, และราชอาณาจักรอะโลเดีย หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่นาน ราชอาณาจักรอะโลเดียจะเข้าควบคุมดินแดนทางตอนใต้ของจักรวรรดิเมโรวีในอดีต รวมทั้งบางส่วนของราชอาณาจักรเอริเทรียด้วย[11]

การค้นพบทางโบราณคดีตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 กลับไม่เป็นที่สนใจโดยเพื่อนบ้านชาวอียิปต์ที่โดดเด่นกว่ามายาวนาน ซึ่งเผยให้เห็นว่าราชอาณาจักรคุชนั้นเป็นอารยธรรมขั้นสูงในสิทธิของตนเอง ชาวคุชมีภาษาและลายลักษณ์อักษรที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเอง มีการรักษาระบบเศรษฐกิจที่ซับซ้อนบนพื้นฐานของการค้าและอุตสาหกรรม ชาวคุชเชี่ยวชาญการยิงธนู และพัฒนาสังคมเมืองที่ซับซ้อนด้วยการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในระดับสูงโดยเฉพาะ[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. Török 1998, p. 2 (1997 ed.).
  2. Welsby 1996, p. [ต้องการเลขหน้า]
  3. "Dive beneath the pyramids of Sudan's black pharaohs". National Geographic (ภาษาอังกฤษ). 2 July 2019.
  4. Török 1998, p. 49 (1997 ed.).
  5. Rilly, Claude (2019). "Languages of Ancient Nubia". ใน Raue, Dietrich (บ.ก.). Handbook of Ancient Nubia. De Gruyter. pp. 133–4. ISBN 978-3-11-041669-5. สืบค้นเมื่อ 2019-11-20. The Blemmyan language is so close to modern Beja that it is probably nothing else than an early dialect of the same language.
  6. "Kushite Religion". encyclopedia.com.
  7. 7.0 7.1 Stearns, Peter N., บ.ก. (2001). "(II.B.4.) East Africa, c. 2000–332 B.C.E.". The Encyclopedia of World History: Ancient, Medieval, and Modern, Chronologically Arranged (6th ed.). Boston: Houghton Mifflin Harcourt. p. 32. ISBN 978-0-395-65237-4.[ลิงก์เสีย]
  8. 8.0 8.1 Society, National Geographic (2018-07-20). "The Kingdoms of Kush". National Geographic Society (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-05. สืบค้นเมื่อ 2020-08-29.
  9. Alberge, Dalya. "Tomb reveals Ancient Egypt's humiliating secret". The Times. London.
  10. Török 1998, pp. 144–6.
  11. Derek Welsby (2014): "The Kingdom of Alwa" in "The Fourth Cataract and Beyond". Peeters.
  12. Stirn, Isma'il Kushkush, Matt. "Why Sudan's Remarkable Ancient Civilization Has Been Overlooked by History". Smithsonian Magazine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-23.

บรรณานุกรม[แก้]

  • Török, László (1998). "The Kingdom of Kush: Handbook of the Napatan-Meroitic Civilization". Handbook of Oriental Studies. Section 1 the Near and Middle East. Leiden: Brill. ISBN 978-9004104488.
  • Welsby, Derek (1996). The Kingdom of Kush: the Napatan and Meroitic empires. London: Published for the Trustees of the British Museum by British Museum Press. ISBN 978-0-7141-0986-2. OCLC 34888835.