ทามาริสก์
Tamarix | |
---|---|
Tamarix aphylla ซึ่งพบในธรรมชาติ แถบประเทศอิสราเอล | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Caryophyllales |
วงศ์: | Tamaricaceae |
สกุล: | Tamarix L. |
สปีชีส์ | |
ดูในบทความ |
ทามาริสก์ (อังกฤษ: Tamarix ,tamarisk, salt cedar; อาหรับ: الأثل อ่านว่า อัลอัซล์) มี 50- 60 สายพันธุ์เป็นพืชในตระกูล Tamaricaceae เป็นพืชท้องถิ่นในเขตแห้งแล้งของทวีปยุโรป และแอฟริกา ทามาริสก์จะเขียวชอุ่มตลอดปี เป็นพืชผลัดใบและเป็นไม้พุ่ม มีความสูงตั้งแต่ 1-18 เมตร Tamarix aphylla จะเขียวชอุ่มอยู่เสมอและอาจสูงถึง 8 เมตร โดยปกติจะเจริญเติบโตในดินเค็ม มีความอดทนต่อภาวะเป็นพิษของความเค็มถึง 15000 ppm และยังอดทนต่อความเป็นด่าง มีลักษณะแผ่กิ่งก้านเรียวยาว มีใบเขียวอมเทา เปลือกของกิ่งในขณะเป็นต้นอ่อนมีลักษณะเกลี้ยงเรียบ สีน้ำตาลแดง เมื่อตอนมีอายุช่วงสุดท้าย เปลือกไม้จะเป็นร่องมีรอยย่น และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลม่วง มีใบขนาดเท่า ๆ กัน ยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร และใบจะทับซ้อนกันตามความยาวของก้าน มักจะมีน้ำเกลือไหลออกมาห่อหุ้มลำต้นอยู่เสมอ จะออกดอกอย่างหนาแน่นตรงปลายรวงของกิ่งยาว 5-10 เซนติเมตร ซึ่งจะออกดอกในเดือนมีนาคม ถึง กันยายน แต่บางสายพันธุ์มีแนวโน้มจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว
การใช้ประโยชน์
[แก้]ทามาริสก์ใช้เป็นพุ่มไม้ประดับ เป็นสิ่งป้องกันลม และใช้เป็นร่มเงาบังแดด ในประเทศจีน มีโครงการปลูกทามาริสก์ เพื่อทำให้พื้นที่เขตทะเลทรายเขียวชอุ่ม ใช้ในการทำปุ๋ยหมัก
ประวัติศาสตร์ความเชื่อ
[แก้]กุรอาน 34;16 ระบุว่า "แต่พวกเขาผินหลังให้ (ไม่ยอมรับศรัทธา) เราจึงส่งอุทกภัยทำลายล้างพวกเขา แล้วเราได้เปลี่ยนสวนทั้งสองของพวกเขาให้เป็นสองสวนที่มีสิ่งบริโภคอันขมขื่นและมีต้นทามาริสก์ (ต้นอะซัล) รวมทั้งมีผลพุทราเพียงเล็กน้อย"
ปฐมกาล 21;33 "อับราฮัมปลูกต้นทามาริสก์ไว้ที่เบเออร์เชบา (Beer-sheba) และนมัสการออกพระนามพระเยโฮวาห์พระเจ้านิรันดร์ที่นั่น"
ในสารานุกรมเทพนิยายของ ละรูส (Larousse) ทามาริสก์เป็นพืชที่เทพเจ้าอพอลโล ทรงชื่นชอบ
สปีชีส์
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- veritt, B. L. (1980), "Ecology of Saltcedar - A plea for research.", Environmental Geology 3 (3): 77–84, doi:10.1007/BF02473474.
- Everitt, B. L. (1998), "Chronology of the spread of Tamarisk in the central Rio Grande.", Wetlands (18): 658–668.