นิธโฮเทป
นิธโฮเทป ในไฮเออโรกลีฟ | |||
---|---|---|---|
พระนามประสูติ คือ
นิธ-โฮเทป/โฮเทป-นิธ nt-ḥtp "เทพีนิธ ผู้ทรงมีเมตตา"[1] | |||
ชิ้นส่วนเศวตศิลาที่ปรากฏพระนามของพระนางนิธ-โฮเทป |
นิธโฮเทป เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณที่ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่และทรงปกครองในช่วงต้นของราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์ โดยครั้งหนึ่งเคยคิดว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองบุรุษ เนื่องจากค้นพบมาสตาบาขนาดใหญ่ที่โดดเด่นของพระองค์และพระนามเซเรคที่ล้อมรอบพระนามของพระองค์บนตราประทับหลายครั้งก่อนหน้านี้ ส่งผลให้นักไอยคุปต์วิทยาและนักประวัติศาสตร์เชื่ออย่างผิดๆ ว่าพระองค์อาจจะทรงเป็นฟาโรห์ที่ไม่ทราบที่มา[2] เมื่อความเข้าใจเกี่ยวกับงานเขียนของชาวอียิปต์ช่วงแรกพัฒนาขึ้น นักวิชาการได้ทราบว่าแท้จริงแล้ว พระนางนิธโฮเทปเป็นสตรีที่มีฐานะพิเศษ ต่อมาพระองค์ได้รับการพิจารณาให้เป็นพระมเหสีของฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์พระนามว่า นาร์เมอร์ และเป็นพระมารดาของฟาโรห์ฮอร์-อฮา[2]
การค้นพบเมื่อเร็วๆ นี้บ่งชี้ว่า พระนางนิธโฮเทปอาจจะเป็นพระมเหสีของฟาโรห์ฮอร์-อฮาแทน และเป็นพระราชมารดาและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของผู้ปกครองพระองค์ต่อมาพระนามว่า ดเจอร์ และหลักฐานทางโบราณคดียังบ่งชี้ว่าพระนางอาจจะทรงปกครองในฐานะฟาโรห์ด้วยราชสิทธิ์ของพระองค์เอง และด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงทรงเป็นผู้ปกครองสตรียุคแรกสุดในประวัติศาสตร์ที่เป็นที่รู้จัก[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Silke Roth: Die Königsmütter des Alten Ägypten von der Frühzeit bis zum Ende der 12. Dynastie. Harrassowitz, Wiesbaden 2001, ISBN 3-447-04368-7, p. 377.
- ↑ 2.0 2.1 Toby A. H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt - Strategy, Security and Society. Routledge, London 1999, ISBN 0-415-26011-6, p. 5,p.26 & 174.
- ↑ Owen Jarus: Name of queen Neith-hotep found at Wadj Ameyra. In: Live Science, 19. January 2016 (online). (Englisch)