พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ |
|
---|---|
![]() |
|
|
|
พระนาม | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ |
พระอิสริยยศ | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 |
ฐานันดรศักดิ์ | พระองค์เจ้า |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์จักรี |
ข้อมูลส่วนพระองค์ | |
ประสูติ | 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 |
สิ้นพระชนม์ | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468 (70 ปี) |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดากลิ่น |
หม่อม | หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา หม่อมแช่ม กฤดากร ณ อยุธยา หม่อมเจิม กฤดากร ณ อยุธยา |
พระบุตร | 20 พระองค์ |
มหาเสวกเอก จางวางเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เนื้อหา
พระประวัติ[แก้]
พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร ประสูติเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 โดยประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลิ่น ธิดาพระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) บุตรของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) ทรงว่าราชการกรมพระนครบาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะนั้นเรียกชื่อว่า "คอมมิตตี กรมพระนครบาล" ทรงเป็นผู้ปรับปรุงและจัดระเบียบกิจการตำรวจกรมกองตระเวน ตามแบบอย่างของสิงคโปร์ หลังจากได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสสิงคโปร์ เมื่อ ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) ต่อมาได้พัฒนามาเป็นกิจการตำรวจไทย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เป็น กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 2442 และทรงราชการเป็นสมุหมนตรี และเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร มีพระนามเต็มว่า
"พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ มหิศวรราชรวิวงศ์ สิทธิประสงค์กฤดาธิการ สุทธสันดานสีตลหฤทัย มไหศวริยราชนิติธาดา สุปรีชาสรรพกิจโกศล วิมลสุจริตจริยานุวัตร พุทธาทิรัตนสรณารักษ์ อุดมศักดิ์บพิตร"[1]
พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหารประทับที่วังถนนพระอาทิตย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักพระราชทานบนที่ดินมรดกของพระองค์ ต่อมาเมื่อทรงเจริญพระชันษาครบ 5 รอบใน พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์สำหรับทรงสร้างตำหนักหลังใหม่ ชื่อ "วังมะลิวัลย์" ส่วนเจ้าจอมมารดากลิ่นยังคงพำนักอยู่ที่ตำหนักเดิม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ประทับที่วังมะลิวัลย์จนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468 พระชันษาได้ 70 ปี ใกล้เคียงกับที่เจ้าจอมมารดากลิ่นถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2468 และได้ประดิษฐานพระโกศพระศพ และโกศศพไว้เคียงกันที่ท้องพระโรงของวังมะลิวัลย์
พระโอรสและพระธิดา[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลกฤดากร มีหม่อม 3 ท่าน ได้แก่
- หม่อมสุภาพ (สกุลเดิม: สังขทัย)
- หม่อมแช่ม
- หม่อมเจิม
โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 20 พระองค์ เป็นชาย 14 พระองค์ และหญิง 6 พระองค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นพระชนม์/สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
![]() |
1. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | 31 พฤษภาคม 2417 | 1 กันยายน 2417 | ||
![]() |
2. หม่อมเจ้าอรุณศักดิ | พ.ศ. 2417 | ไม่ทราบปี | ||
![]() |
3. หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร (พ.ศ. 2455: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจรูญศักดิ์กฤดากร) |
ที่ 1 ในหม่อมสุภาพ | 2 กรกฎาคม 2418 | 5 ตุลาคม 2471 | หม่อมปรุง หม่อมเชื่อม (อภัยวงศ์) |
![]() |
4. หม่อมเจ้าบวรเดช (พ.ศ. 2472: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช) |
ที่ 2 ในหม่อมสุภาพ | 26 มีนาคม 2420 | 16 พฤศจิกายน 2496 | หม่อมทิพวัน (เจ้าทิพวัน ณ เชียงใหม่) หม่อมศรีนวล (เจ้าศรีนวล ณ เชียงใหม่) หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร |
![]() |
5. หม่อมเจ้าเสรษฐศิริ | ที่ 3 ในหม่อมสุภาพ | 26 มีนาคม 2423 | 2 พฤศจิกายน 2500 | หม่อมสนิท (สังขทัย) หม่อมผอบ หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา (รพีพัฒน์) หม่อมพ้อง (คชเสนี) |
![]() |
6. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | ||
![]() |
7. หม่อมเจ้าสิทธิพร | ที่ 4 ในหม่อมสุภาพ | 10 กันยายน 2426 | 22 มิถุนายน 2514 | หม่อมทิพ หม่อมศรีพรหมา (เจ้าศรีพรหมา ณ น่าน) |
![]() |
8. หม่อมเจ้าอมรทัต | ที่ 5 ในหม่อมสุภาพ | 29 เมษายน 2429 | 30 กรกฎาคม 2495 | หม่อมพร้อยสุพิณ (บุนนาค) หม่อมอู๊ด |
![]() |
9. หม่อมเจ้าเขจรจรัสฤทธิ์ | ที่ 6 ในหม่อมสุภาพ | 29 กุมภาพันธ์ 2430 | 12 กรกฎาคม 2468 | |
![]() |
10. หม่อมเจ้าวรรณวิลัย | ที่ 1 ในหม่อมแช่ม | 1 สิงหาคม 2431 | 19 กุมภาพันธ์ 2477 | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงษ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม |
![]() |
11. หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ | ที่ 7 ในหม่อมสุภาพ | 16 มกราคม 2432 | 19 กุมภาพันธ์ 2477 | หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา (รพีพัฒน์) |
![]() |
12. หม่อมเจ้าปุ๋ย (ชาย) | ตุลาคม 2436 | 20 ธันวาคม 2439 | ||
13. หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม | ที่ 2 ในหม่อมแช่ม | 20 กันยายน 2438 | 20 มิถุนายน 2510 | หม่อมเจ้ารัสสาทิศ (สวัสดิวัตน์) | |
14. หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ | ที่ 1 ในหม่อมเจิม | 11 พฤษภาคม 2441 | 10 ธันวาคม 2483 | หม่อมหลวงแส (สนิทวงศ์) | |
![]() |
15. หม่อมเจ้าเพิ่มผล | สิงหาคม 2441 | 29 ธันวาคม 2441 | ||
16. หม่อมเจ้าลีลาศหงษ์ | ที่ 3 ในหม่อมแช่ม | 15 เมษายน 2442 | 2 กุมภาพันธ์ 2463 | หม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล | |
![]() |
17. หม่อมเจ้าเล็ก (หญิง) | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | ||
![]() |
18. หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ | ที่ 2 ในหม่อมเจิม | 30 เมษายน 2446 | 22 พฤศจิกายน 2524 | พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช |
![]() |
19. หม่อมเจ้าชิดชนก | ที่ 4 ในหม่อมแช่ม | 23 ตุลาคม 2447 | 10 มีนาคม 2541 | หม่อมเจ้าฤดีวรวรรณ (วรวรรณ) หม่อมหลวงต่อ (ชุมสาย) |
20. หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ | ที่ 3 ในหม่อมเจิม | 18 กันยายน 2451 | 18 มิถุนายน 2500 | หม่อมราชวงศ์จันทรรัตน์ (เทวกุล) |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[2]
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการในพระองค์ (ร.ด.ม.(พ))[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฏอิตาลี ชั้นที่ 1, ประเทศอิตาลี[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ เฉลิมพระยศเจ้านาย เล่ม 2 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพฯ, 2538), หน้า 43.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชการที่ ๔, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๑, ตอน ๒๗, ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙, ตอน ๕, ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๕, หน้า ๓๕
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
- http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=1178&stissueid=2467&stcolcatid=2&stauthorid=13
|
|
|
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2398
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2468
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้า
- กรมพระ
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- ราชสกุลกฤดากร
- สกุลคชเสนี
- ชาวไทยเชื้อสายมอญ
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- สมาชิกเหรียญ ร.ด.ม.(พ)
- สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.2
- สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- สมาชิกเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- สมาชิกกองเสือป่า