หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร
หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 |
สิ้นชีพิตักษัย | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2500 (48 ปี) |
หม่อม | หม่อมราชวงศ์จันทรรัตน์ เทวกุล |
ธิดา | หม่อมราชวงศ์หญิงอมรรัตน์ กฤดากร |
ราชสกุล | กฤดากร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ |
พระมารดา | หม่อมเจิม กฤดากร ณ อยุธยา |
หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร เป็นโอรสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ในหม่อมเจิม กฤดากร ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2451 ทรงมีพระโสทร 3 องค์ด้วยกัน คือ
- หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร
- หม่อมเจ้าผจงรจิตร กฤดากร
- หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร
หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร สิ้นชีพิตักษัยด้วยโรคพระหทัย เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2500 สิริพระชันษา 48 ปี 9 เดือน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และพระราชทานโกศราชวงศ์ พร้อมทั้งเครื่องประกอบเกียรติยศ[1] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
ประวัติ
[แก้]การศึกษา
[แก้]เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงรับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง และโรงเรียนราชวิทยาลัย ประมาณ 3 ปี จนพระชนมายุได้ 11 ปี จึงได้เสด็จไปศึกษาที่ยุโรป โดยทุนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้เข้าเฝ้ากราบถวายบังคมลาเมื่อ วันที่ 22 เมษายน 2463 ระหว่างงานพระราชพิธีพืชมงคลที่พระที่นั่งอภิเศกดุสิต[2] โดยทรงสำเร็จการศึกษาตามลำดับดังต่อไปนี้
- พ.ศ. 2463 เข้า Preparatory School ที่ประเทศอังกฤษ
- พ.ศ. 2468 เข้าโรงเรียน Charterhouse สอบได้ Credits ในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส ละติน ซึ่งทำได้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- พ.ศ. 2472 เข้ามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สอบได้ B.A. (Honours)
- พ.ศ. 2475 เข้าเรียนต่อที่ école libre des sciences politiques ที่กรุงปารีส ทรงศึกษาได้เพียง 1 ปี ก็เสด็จกลับประเทศไทยเพื่อเข้ารับราชการ
- พ.ศ. 2499 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 1
ด้านชีวิตครอบครัว หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร ทรงสมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงจันทรรัตน์ (เทวกุล) กฤดากร ธิดาใน พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศวโรทัย มีธิดาร่วมกันเพียง 1 ท่าน คือ
- หม่อมราชวงศ์หญิงอมรรัตน์ กฤดากร
ประวัติการรับราชการ
[แก้]หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร เริ่มเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2475 โดยมีตำแหน่งตามลำดับดังต่อไปนี้
- พ.ศ. 2475 ปลัดกรมชั้น 2 กรมการเมือง
- พ.ศ. 2476 หัวหน้าแผนกสมาคมมนุษย์สงเคราะห์และกรรมกร กองนานาชาติ
- พ.ศ. 2485 หัวหน้ากองแปล สำนักงานที่ปรึกษา
- พ.ศ. 2490 เลขานุการโท สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
- พ.ศ. 2494 ที่ปรึกษา สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน
- พ.ศ. 2495 อธิบดีกรมการเมือง
- พ.ศ. 2497 อธิบดีกรมยุโรปและอเมริกา
- พ.ศ. 2498 รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2498 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ จนสิ้นชีพิตักษัย
ราชการพิเศษ
[แก้]- เลขาธิการคณะทูตไทยไปประเทศจีน เพื่อแลกเปลี่ยนสัตยาบันในสนธิสัญญาไมตรีระหว่างราชอาณาจักรไทย กับสาธารณรัฐจีน
- ผู้แทนรัฐบาลไทยในคณะกรรมการพิจารณาแบ่งสรรข้าวระหว่างประเทศ ณ ประเทศแมกซิโก
- ผู้ช่วยเหลือในการเจรจาเพื่อขอรับทองคำไทยคืนจากประเทศญี่ปุ่น
- ผู้แทนสำรองในการประชุมคณะมนตรีภาวะทรัสตี ครั้งที่ 9 และผู้แทนฝ่ายไทยในคณะกรรมการเยี่ยมดินแดนภาวะทรัสตีในแอฟริกาตะวันออก
- กรรมการจัดเตรียมงานการทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
- ประธานคณะกรรมการเชิญและรับรองแขกต่างประเทศ เนื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2498 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[4]
- พ.ศ. 2497 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2485 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[6]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- อิตาลี:
- พ.ศ. 2482 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 4[7]
- สาธารณรัฐจีน:
- พ.ศ. 2492 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว ชั้นที่ 3[8]
- อิตาลี:
- พ.ศ. 2498 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสาธารณรัฐอิตาลี ชั้นที่ 1[9]
- พม่า:
- พ.ศ. 2499 – เครื่องอิสริยาภรณ์แห่งสหภาพพม่า ชั้นที่ 2[10]
- เดนมาร์ก:
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานการไปเยี่ยมดินแดนในภาวะทรัสตี ในอาฟริกาตะวันออก ของ หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร เจ้าภาพพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าดิลกฤทธิ์ กฤดากร ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2501
- ↑ กราบถวายบังคมลา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๒ ตอนที่ ๙๕ ง หน้า ๓๐๔๔, ๑๓ ธันวาคม ๒๔๙๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๖, ๒๙ ธันวาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๓๐ ง หน้า ๑๒๒๕, ๑๑ พฤษภาคม ๒๔๙๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๒ ง หน้า ๒๕๓๑, ๑๐ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๕๕๗, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๖ ตอนที่ ๘ ง หน้า ๕๑๖, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๓ ง หน้า ๑๓๕, ๓ มกราคม ๒๔๙๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๓ ตอนที่ ๑๑ ง หน้า ๓๘๖, ๓๑ มกราคม ๒๔๙๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2451
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2500
- หม่อมเจ้าชาย
- ราชสกุลกฤดากร
- บุคคลจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการทูตชาวไทย
- ปลัดกระทรวงการต่างประเทศไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญช่วยราชการเขตภายใน