หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร
หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 | |
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 18 เมษายน พ.ศ. 2458 – 2 กันยายน พ.ศ. 2470 | |
ประสูติ | 26 มีนาคม พ.ศ. 2424 |
สวรรคต | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 (76 ปี) |
ชายา/หม่อม | หม่อมสนิท หม่อมผอบ หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร |
พระบุตร | 8 คน |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | กฤดากร |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ |
พระมารดา | หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2446 – พ.ศ. 2475 |
ชั้นยศ | พลโท |
บังคับบัญชา | กรมพลาธิการทหารบก |
พลโท หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร (26 มีนาคม พ.ศ. 2424 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500) อดีตสมาชิกวุฒิสภา องคมนตรี กรรมการองคมนตรี และเจ้ากรมพลาธิการทหารบก เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับหม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา และเป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประวัติ
[แก้]นายพลโท หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร ประสูติเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2423 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2424) เมื่อทรงพระเยาว์ได้รับการศึกษาจากครูพิเศษซึ่งพระบิดาได้ทรงเลือกมาสอนแก่พระโอรส พระธิดา ในวัง เพราะในสมัยนั้นโรงเรียนยังไม่ดีพอ โดยครูภาษาอังกฤษท่านหนึ่ง นามว่า Mr. Morant ซึ่งภายหลังได้เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการของอังกฤษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2433 เมื่อพระชันษาได้ 10 ปี ได้เสด็จไปเรียนในทวีปยุโรปพร้อมกับพระยาสุริยานุวัติ (เกิด บุนนาค) ผู้ซึ่งออกไปเป็นราชทูตในกรุงปารีส เริ่มแรกเมื่อไปถึงได้ไปพำนักอยู่กับพระยามหาโยธา (นกแก้ว คชเสนี) ผู้เป็นราชทูตไทย ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เนื่องจากมีศักดิ์เป็นคุณตาน้อย จนถึงปี พ.ศ. 2434 พระยามหาโยธา ย้ายมาเป็นราชทูตที่กรุงลอนดอน หม่อมเจ้าเสรฐศิริ จึงทรงย้ายมายังอังกฤษด้วย ในปี พ.ศ. 2435 จึงได้เข้าเรียนกินนอนชั้นต้นที่ซาลฟอนท์ เซนท์โจน Charlefont St. Giles จนถึงปี พ.ศ. 2438 จึงได้เข้าโรงเรียนแฮร์โรว์ Harrow อยู่ในโรงเรียนนี้ 3 ปี[1]
หลังจากนั้นได้ศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อกลับประเทศไทยจึงได้รับราชการเป็นผู้ช่วยนายช่างภาคสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-เพชรบุรี แล้วย้ายไปรับราชการทหาร มีหน้าที่ซ่อมแซมดูแลอาวุธของกองทัพบก เมื่อมีการตั้งกรมช่างแสงทหารบก เพื่อให้ประเทศไทยได้ผลิตอาวุธปืนและกระสุน พลโทหม่อมเจ้าเสรฐศิริ จึงได้เป็นอธิบกรมแสงสรรพาวุธคนแรก รั้งเจ้ากรมช่างแสง และเป็นผู้ทำลูกปืนลูกแรกให้กับกองทัพไทย[2]
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[3]
หม่อมเจ้าเสรฐศิริ รับราชการจนมียศ "พลโท" ในตำแหน่งเจ้ากรมพลาธิการทหารบก จนกระทั่งลาออกจากราชการเมื่อมีการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[4]
ในตอนต้นรัชกาลที่ 9 หม่อมเจ้าเสรฐศิริ มีตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาในช่วงเวลาสั้นๆ วุฒิสภา ชุดที่ 2 (สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2489[5]) ก่อนจะสิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500
หม่อมเจ้าเสรษฐสิริ มีโอรสและธิดา ดังนี้
- พลตรี หม่อมกฤดากรราชเสนา (หม่อมราชวงศ์เทียมพันธ์ กฤดากร)
- หม่อมราชวงศ์ทันพงศ์ กฤดากร อดีตอธิบดีกรมสรรสามิต
- หม่อมราชวงศ์ทรงพัฒน์ กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์ทัดเผ่า กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์เถาพงศ์ กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์หญิงวงศ์สิริ กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์หญิงประภาสิริ กฤดากร ประสูติแต่ หม่อมเจ้าสุรีย์ประภา กฤดากร
- หม่อมราชวงศ์อ๊อด กฤดากร
หม่อมเจ้าเสรฐศิริ กฤดากร ประชวรพระโรคพระหทัยวาย ไม่ทรงแข็งแรงมาหลายปี จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2500 เกิดมีพระอาการบรรทมไม่หลับ เสวยไม่ได้ จึงได้เสด็จไปรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลเนิซซิงโฮม ถนนคอนแวนต์ พระอาการมีแต่ทรงกับทรุด จึงกระทั่งถึงชีพิตักษัย ณ โรงพยาบาล พระชนมายุได้ 76 ปี 8 เดือน
ตำแหน่งราชการ
[แก้]- – เจ้ากรมช่างแสง
- มิถุนายน 2456 – เจ้ากรมสรรพาวุธและรักษาราชการในตำแหน่งเจ้ากรมช่างแสง[6]
พระยศ
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2458 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[10]
- พ.ศ. 2457 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[11]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[12]
- พ.ศ. 2462 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[14]
- พ.ศ. 2461 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[15]
- พ.ศ. 2464 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[16]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 3 (ป.ป.ร.3)[17]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ ม.จ.เศรฐศิริ กฤดากร ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส พ.ศ. 2501.
- ↑ สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. ๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปี จุลจอมเกล้า. กรุงเทพ : [ม.ป.พ.], พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555. 154 หน้า. ISBN 9786169092605
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 32 หน้า 114 เรื่อง รายพระนามและรายนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเป็นองคมนตรี วันที่ 18 เมษายน 2458http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/114.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/D/1343.PDF
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 2020-08-13.
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ถอนและตั้งตำแหน่งราชการ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร์ทหารบก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๙๒, ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๖๔, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๗, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๓๙, ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดรแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๙๐, ๒ ธันวาคม ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันพฤหัสบดีที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๒, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๓, ๑๑ มกราคม ๒๔๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๕, ๓ ธันวาคม ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๑๔, ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๘๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙