หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร
หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2471 เป็นโอรสของ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2441 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2483) กับ หม่อมหลวงแส กฤดากร (สกุลเดิม สนิทวงศ์; 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 - 25 สิงหาคม พ.ศ. 2523 โดยมีศักดิ์เป็นพี่ของ หม่อมหลวงบัว กิติยากร พระราชชนนีในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)
โดยหม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ์ กฤดากร เป็นพระโอรสใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ ต้นราชสกุลกฤดากร ผู้เป็น พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดากลิ่น ประสูติแด่หม่อมเจิม (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2424 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2491)
ครอบครัว[แก้]
หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร สมรสเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2504 กับ ท่านผู้หญิงวิยะฎา กฤดากร ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม ราชวัลลภานุสิษฐ์) (13 มิถุนายน พ.ศ. 2473 - 19 กันยายน พ.ศ. 2540) ซึ่งเป็น นางสนองพระโอษฐ์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ผู้ตามเสด็จตกที่จังหวัดนราธิวาส มีบุตรธิดาคือ
- หม่อมหลวงปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี สมรสกับ นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ทายาทของนายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี และคุณหญิงสุภัจฉรี ภิรมย์ภักดี มีบุตร 3 คนคือ จิตภัสร์ นันทญา และณัยณัพ
- หม่อมหลวงชโยทิต กฤดากร สมรสกับ มนทกานติ์ กฤดากร (นามสกุลเดิม ปราโมช) บุตรสาวของ หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช และท่านผู้หญิงวราพร ปราโมช ณ อยุธยา มีบุตรชาย 1 คนคือ ปิยกร กฤดากร ณ อยุธยา
ถึงแก่อนิจกรรม[แก้]
หม่อมราชวงศ์ยงสวาสดิ์ กฤดากร ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 สิริอายุ 82 ปี พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2559 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2547 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[1]
- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[3]
- พ.ศ. 2550 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[4]
- พ.ศ. 2520 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[5]
- พ.ศ. 2503 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๘, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๐, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๖, ๗ มกราคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๕๒ ง หน้า ๒๔๓๗, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๙๓๘, ๒๒ มีนาคม ๒๕๐๓
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |