ข้ามไปเนื้อหา

ปรีวีเคาน์ซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปรีวีเคาน์ซิล
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง15 สิงหาคม พ.ศ. 2417
ยุบเลิกพ.ศ. 2435
เขตอำนาจสยาม

ปรีวีเคาน์ซิล หรือ สภาที่ปฤกษาในพระองค์ (อังกฤษ: privy council) เป็นสภาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2417 ตาม พระราชบัญญัติปรีวีเคาน์ซิล พุทธศักราช ๒๔๑๗ ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จำนวน 49 คน มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาส่วนพระองค์ สืบสวนข้อเท็จจริงในราชการต่างๆ เพื่อกราบบังคมทูลและถวายความเห็นให้ทรงทราบ สอดส่องเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง รวมไปถึงการชำระความฎีกาที่มีผู้นำมาถวาย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2430 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งสภาที่ปฤกษาในพระองค์เพิ่มอีก 42 คน[1][2]

ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครอง และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสภาที่ปฤกษาในพระองค์เป็น "องคมนตรีสภา" แทน

สภาที่ปฤกษาในพระองค์

[แก้]

จำนวน 91 คน

แต่งตั้งครั้งแรก จำนวน 49 คน ประกอบด้วย

  1. สมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา (กรมพระยาบำราบปรปักษ์)
  2. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี
  3. พระองค์เจ้ากฤษดาอภินิหาร
  4. พระองค์เจ้าคัคณางค์ยุคล
  5. พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ
  6. พระองค์เจ้าศุขสวัสดี
  7. พระองค์เจ้าสายสนิทวงษ์
  8. พระองค์เจ้าสิงหนาทราชตุรงค์ฤทธิ์
  9. พระองค์เจ้ากลาง (กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์)
  10. พระองค์เจ้าอรุณวงศ์ (กรมหลวงวรศักดาพิศาล)
  11. พระองค์เจ้ายุคันธร (กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์)
  12. พระองค์เจ้าสิงหรา (กรมหมื่นอักษรสาสนโสภณ ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ เป็น กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ)
  13. พระองค์เจ้าชมพูนุท (กรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์)
  14. เจ้าพระยาภาณุวงษ์
  15. เจ้าพระยาภูธราภัย
  16. พระยาราชสุภาวดี
  17. พระยาศรีพิพัฒน์
  18. พระยาราชวรานุกูล
  19. พระยากระสาปน์กิจโกศล
  20. พระยาภาษกรวงษ์
  21. พระยาอภัยรณฤทธิ์
  22. พระยามหาอำมาตย์
  23. พระยาเจริญราชไมตรี
  24. พระยาราไชยสวริยาธิบดี
  25. พระยาพิพิธโภไคย
  26. พระยาจ่าแสนบดี
  27. พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร
  28. พระยารัตนภัณฑมนตรี
  29. พระยาอาหารบริรักษ์
  30. พระยาเพชรชฎา
  31. พระยาพิพัฒน์โกษา
  32. พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง
  33. พระยาราชสงคราม
  34. พระยาโชฎึกราชเศรษฐี
  35. พระยานรนารถภักดี
  36. พระยามหาเทพย์
  37. พระยามหามนตรี
  38. พระยาอินทรเทพย์
  39. พระยาพิเรนทรเทพย์
  40. เจ้าหมื่นเสมอใจราช (พระยามนตรีสุริยวงศ์ ชื่น บุนนาค)
  41. เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (พระยาประภากรวงศ์ ชาย บุนนาค)
  42. เจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี
  43. พระสุนทรานุกิจปรีชา
  44. พระยาสมุทรบุรารักษ์ (เนตร)
  45. พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)
  46. พระราชเสนา
  47. พระนรินทรเสนี
  48. พระไพรัชพากยภักดี
  49. หลวงวิจารณ์จักรกิจ (พระยาเพชรพิชัย เจิม)

แต่งตั้งครั้งที่ 2 จำนวน 42 พระองค์ ประกอบด้วย

  1. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช
  2. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศลิปาคม
  3. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค
  4. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศิริธัชสังกาศ
  5. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์
  6. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์
  7. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ
  8. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์
  9. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าจันทรฑัตจุธาธาร
  10. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยานุชิต
  11. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร
  12. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ
  13. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
  14. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต
  15. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์
  16. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์
  17. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
  18. พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าไชยันตมงคล

สภาที่ปฤกษาในพระองค์นี้ ถือเป็นต้นแบบของคณะองคมนตรีในประเทศไทยในปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  • จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1

ดูเพิ่ม

[แก้]