ประเทศซาอุดีอาระเบีย
พิกัดภูมิศาสตร์: 24°N 45°E / 24°N 45°E
ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ٱلْمَمْلَكَة ٱلْعَرَبِيَّة ٱلسُّعُوْدِيَّة (อาหรับ) | |
---|---|
เพลงชาติ: ٱلنَّشِيْد ٱلْوَطَنِي ٱلسُّعُوْدِي "อันนะชีดุลวะเฏาะนี อัสซะอูดี" "เพลงชาติซาอุดีอาระเบีย" | |
![]() | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | รียาด 24°39′N 46°46′E / 24.650°N 46.767°E |
ภาษาราชการ | อาหรับ[2][3] |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2014[4]) | 90% ชาวอาหรับ 10% แอฟโร-อาหรับ |
ศาสนา (ค.ศ. 2010)[6] |
|
เดมะนิม |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์อิสลาม |
สมเด็จพระราชาธิบดีซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ | |
มุฮัมมัด บิน ซัลมาน | |
สภานิติบัญญัติ | ไม่มี [a] |
ก่อตั้ง | |
ค.ศ. 1744 | |
ค.ศ. 1824 | |
13 มกราคม ค.ศ. 1902 | |
23 กันยายน ค.ศ. 1932 | |
• ได้รับการยอมรับเป็นสมาชิกสหประชาชาติ | 24 ตุลาคม ค.ศ. 1945 |
31 มกราคม ค.ศ. 1992 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 2,149,690[2] ตารางกิโลเมตร (830,000 ตารางไมล์) (อันดับที่ 12) |
0.7 | |
ประชากร | |
• 2019 ประมาณ | 34,218,169[9] (อันดับที่ 40) |
15 ต่อตารางกิโลเมตร (38.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 174) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 1.868 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 14) |
• ต่อหัว | 51,648.34 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 12) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2022 (ประมาณ) |
• รวม | 876.148 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 18) |
• ต่อหัว | 24,224.38 ดอลลาร์สหรัฐ[10] (อันดับที่ 35) |
จีนี (ค.ศ. 2013) | 45.9[11] ปานกลาง |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | ![]() สูงมาก · อันดับที่ 40 |
สกุลเงิน | ริยาลซาอุดีอาระเบีย (SR) (SAR) |
เขตเวลา | UTC+3 (เวลามาตรฐานซาอุดีอาระเบีย) |
รูปแบบวันที่ | วว/ดด/ปปปป (ฮ.ศ.) |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +966 |
โดเมนบนสุด |
ซาอุดีอาระเบีย (อังกฤษ: Saudi Arabia; อาหรับ: السعودية) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (อาหรับ: المملكة العربية السعودية) เป็นรัฐอาหรับในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ กินอาณาบริเวณกว้างขวางในคาบสมุทรอาหรับ มีพื้นที่ประมาณ 2,149,690 ตารางกิโลเมตร ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลกอาหรับรองจากประเทศแอลจีเรีย ประเทศซาอุดีอาระเบียมีพรมแดนติดประเทศจอร์แดนและอิรักทางเหนือ ประเทศคูเวตทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศกาตาร์ บาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทางตะวันออก ประเทศโอมานทางตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศเยเมนทางใต้ เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งติดทั้งทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย และภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วยทะเลทรายแห้งแล้ง อยู่อาศัยไม่ได้ หรือธรณีสัณฐานไม่อุดม
พื้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบียสมัยใหม่ประกอบด้วยสี่ภูมิภาคสำคัญ ได้แก่ ฮิญาซ นัจญด์ และบางส่วนของอาระเบียตะวันออกและอาระเบียใต้ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียก่อตั้งในปี พ.ศ. 2475 โดย กษัตริย์ อิบนุ ซะอูด (King Ibnu Saud) พระองค์ทรงรวบรวมสี่ภูมิภาคเข้าเป็นรัฐเดี่ยวผ่านชุดการพิชิตเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2445 ด้วยการยึดรียาด บ้านบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ซะอูดของพระองค์ นับแต่นั้น เป็นการปกครองประเทศแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
บ้างก็เรียกประเทศซาอุดีอาระเบียว่า "ดินแดนสองมัสยิดศักดิ์สิทธิ์" โดยหมายถึง มัสยิดอัลฮะรอมในมักกะฮ์ และมัสยิดอันนะบะวีในมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นสองมัสยิดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนาอิสลาม แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีประชากร 28.7 ล้านคน สัญชาติซาอุดีอาระเบีย 20 ล้านคน และ 8.7 ล้านคนเป็นชาวต่างประเทศ
มีการค้นพบปิโตรเลียมในปี พ.ศ. 2481 และประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกแต่ต่อไปน้ำมันคงไร้ความหมาย โดยควบคุมน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก ราชอาณาจักรจัดอยู่ในเศรษฐกิจรายได้สูงของธนาคารโลกโดยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง และเป็นประเทศอาหรับประเทศเดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ จี 20 ทว่า เศรษฐกิจซาอุดีอาระเบียมีความหลากหลายน้อยที่สุดในสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรเป็นอัตตาธิปไตยราชาธิปไตยและฟรีดอมเฮาส์จัดว่า "ไม่เสรี" ประเทศซาอุดีอาระเบียมีรายจ่ายทางทหารสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และในปี พ.ศ. 2553 – 2557 SIPRI พบว่าประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ประเทศซาอุดีอาระเบียถือว่าเป็นอำนาจภูมิภาคและปานกลาง นอกเหนือจากสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรยังเป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมืออิสลามและโอเปคและนอกจากนี้ยังเริ่มมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลอีกด้วย
ภูมิศาสตร์[แก้]
ประเทศซาอุดีอาระเบียตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทิศเหนือติดอิรักและจอร์แดน ทิศตะวันออกติด คูเวต กาตาร์ บาห์เรน ทิศตะวันตก อียิปต์ ทิศใต้ติดเยเมน ติดอ่าวอาหรับ (อ่าวเปอร์เซีย) มีพื้นที่ประมาณ 2,149,690 ตร.กม.
ประวัติศาสตร์[แก้]
ยุคก่อนการสถาปนาซาอุดีอาระเบีย[แก้]
ประวัติศาสตร์ประเทศซาอุดีอาระเบียเริ่มขึ้นประมาณปี 1850 ในใจกลางคาบสมุทรอาหรับ เมื่อ มุฮัมมัด บินซะอูด ผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมมือกันกับ มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมา เรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีแรก โดยแยกออกจากอาณาจักรออตโตมัน แต่ประเทศที่เป็นซาอุดีอาระเบียในปัจจุบันนั้นสถาปนาขึ้นเป็นครั้งที่สองโดยกษัตริย์อับดุลอะซีซ อาลซะอูด (หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ อิบนุซะอูด) ในปี 1902 อิบนุซะอูดได้ยึดรียาดซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของราชวงศ์ซะอูด คืนมาจากตระกูลอัลรอชีด ซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งของราชวงศ์ซะอูด ต่อจากนั้น ก็ได้กรีฑาทัพเข้ายึดแคว้นต่าง ๆ มาได้ ได้แก่ อัลฮะสาอ์, นะญัด และฮิญาซ อันเป็นที่ตั้งของนครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์ ในปี 1932 อิบนุซะอูดได้ทำการรวมประเทศขึ้นเป็นราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
สมัยการรวมชาติ[แก้]
การเจรจาทำสนธิสัญญาแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับจอร์แดน อิรัก และคูเวต มีขึ้นช่วงทศวรรษ 1920 และได้มีการจัดตั้ง "เขตเป็นกลาง" ขึ้นด้วยกัน 2 แห่ง คือระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรัก และซาอุดีอาระเบียกับคูเวต ในปี 1971 ได้มีการแบ่งเขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับคูเวต โดยให้แต่ละฝ่ายแบ่งทรัพยากรน้ำมันกันอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนการแบ่งขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิรักได้เสร็จสิ้นลงในปี 1983 ทางด้านเขตแดนตอนใต้ที่ติดกับเยเมนนั้น มีการเจรจาแบ่งเขตแดนโดยสนธิสัญญาฏออิฟ ในปี 1934 (พ.ศ. 2477) แต่ก็สิ้นสุดลงด้วยการสู้รบระหว่างสองประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับเยเมนในบางพื้นที่ก็ยังมิได้แบ่งลงไปอย่างแน่ชัด ส่วนเขตแดนที่ติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นสามารถตกลงกันได้ในปี 1974 สำหรับเขตแดนกับกาตาร์นั้นยังเป็นปัญหาอยู่
อิบนุซะอูด สิ้นพระชนม์ในปี 1953 และพระราชโอรสองค์โตคือเจ้าชายซะอูด ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาอีก 11 ปี ในปี 1964 กษัตริย์ซะอูดได้สละราชสมบัติให้กับเจ้าชายฟัยศ็อล ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดาและดำรงตำแหน่ง รมว.กต.อยู่ด้วย กษัตริย์ฟัยศ็อล เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียพัฒนาไปสู่ระบบที่ทันสมัย
ซาอุดีอาระเบียมิได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบในสงครามหกวันระหว่างอาหรับกับอิสราเอล แต่ได้ให้เงินช่วยเหลือรายปีแก่อียิปต์ จอร์แยเหลือเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 1973 ซาอุดีอาระเบียได้เข้าร่วมการคว่ำบาตรทางน้ำมันต่อสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ในฐานะสมาชิกของโอเปก (OPEC) ซาอุดีอาระเบียได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ขึ้นราคาน้ำมันในปี 1971 ภายหลังสงครามปี 1973 ราคาน้ำมันได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากนำความมั่งคั่งและอิทธิพลทางการเมืองมาสู่ซาอุดีอาระเบีย
ในปี 1975 กษัตริย์ฟัยศ็อล ถูกลอบสังหารโดยหลานชายของพระองค์เอง เจ้าชายคอลิด พระอนุชาต่างมารดาได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อมาและยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย กษัตริย์คอลิด ได้แต่งตั้งเจ้าชายฟะฮัด น้องชายต่างมารดาของพระองค์เป็นมกุฎราชกุมาร และมอบหมายให้มีอำนาจให้ดูแลกิจการภายในประเทศและต่างประเทศ ในรัชสมัยของกษัตริย์คอลิด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและซาอุดีอาระเบียได้มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีการเมืองในภูมิภาคและในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในปี 1982 กษัติรย์ฟะฮัดได้ขึ้นครองราชย์และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนกษัตริย์คอลิด ซึ่งสิ้นพระชนม์ลง กษัตริย์ฟะฮัดได้แต่งตั้งเจ้าชายอับดุลลอฮ์ น้องชายต่างมารดาซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการของซาอุดีอาระเบียขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร ส่วนเจ้าชายสุลต่านรัฐมนตรีกลาโหมซึ่งเป็นน้องชายแท้ ๆ ของกษัตริย์ฟะฮัด ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่สอง
ภายใต้รัชสมัยของพระราชาธิบดีฟะฮัด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียได้ปรับสภาพให้เข้ากับรายได้จากน้ำมันซึ่งมีราคาตกต่ำลงอย่างมากอันสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งตกต่ำลงในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน ซาอุดีอาระเบียเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้มีการหยุดยิงระหว่างอิรัก-อิหร่านในปี 1988 และในการก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศรัฐริมอ่าว 6 ประเทศ
ในระหว่างปี 1990 - 1991 พระราชาธิบดี ฯ มีบทบาทสำคัญทั้งก่อนหน้าและระหว่างสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) โดยพระองค์ได้ช่วยเป็นจุดศูนย์กลางในการระดมความสนับสนุนความช่วยเหลือ และได้ใช้อิทธิพลของพระองค์ในฐานะผู้พิทักษ์มัสญิดต้องห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง ชักชวนให้ประเทศอาหรับและอิสลามเข้าร่วมในกองกำลังผสม
การเมืองการปกครอง[แก้]

ก่อนหน้าปี 2534 ซาอุดีอาระเบียใช้กฎหมายอิสลามเป็นหลักในการปกครองประเทศโดยพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดในการบริหารประเทศ ต่อมาหลังจากวิกฤตการณ์อิรัก-คูเวต ได้มีความเคลื่อนไหวจากประชาชนบางส่วนให้มีการพัฒนารูปแบบการปกครองให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย พระราชาธิบดีฯ จึงได้วางรูปแบบการปกครองอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก โดยประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา 3 ฉบับ เมื่อเดือนมีนาคม 2534 กฎหมายดังกล่าวระบุว่า การปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้แต่งตั้งและเพิกถอนครม. และสภาที่ปรึกษา (Shura) สภาที่ปรึกษานี้ถือเป็นพัฒนาการใหม่ของซาอุดีอาระเบีย ทีเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่ก็เป็นเพียงในฐานะที่ปรึกษาเท่านั้น มิใช่สภานิติบัญญัติเช่นประเทศอื่น ๆ แม้ว่าในทางกฎหมายพระราชาธิบดีฯ มีอำนาจสิทธิขาดในปกครองประเทศ แต่ในทางปฏิบัติ พระราชาธิบดี ฯ จะใช้วิธีดำเนินนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน (consensus) จากกลุ่มต่าง ๆ ในประเทศ อาทิ ประชาชน ฝ่ายศาสนา ทหาร ราชวงศ์ และนักธุรกิจ
บริหาร[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นิติบัญญัติ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตุลาการ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิทธิมนุษยชน[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กองทัพ[แก้]
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ซาอุดีอาระเบียแบ่งการปกครองเป็น 13 แคว้น ได้แก่
เศรษฐกิจ[แก้]
โครงสร้าง[แก้]
ซาอุดีอาระเบีย มีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก คิดเป็นประมาณ 260 พันล้านบาร์เรลหรือประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของปริมาณน้ำมันสำรองของโลก โดยที่รายรับของประเทศประมาณ 2 ใน 3 มาจากการส่งออกน้ำมัน เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย จึงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันโลกค่อนข้างมาก ในช่วงหลังสงครามอิรัก-คูเวต ภาระค่าใช้จ่ายในระหว่างวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียประกอบกับรายได้ที่ลดลงจากการตกต่ำของราคาน้ำมัน และรายจ่ายภาครัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้ออาวุธ ทำให้ซาอุดีอาระเบีย เผชิญปัญหาขาดดุลงบประมาณติดต่อกัน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโดยรวมของซาอุดีอาระเบีย ยังอยู่ในสภาพที่มั่นคง การลงทุนภาคเอกชนมีมากขึ้น ความพยายามในการกระจายรายรับโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่น้ำมันเริ่มประสบผลสำเร็จ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในต่อหัว (Per Capita Gross Domestic Product GDP Per Capita) ของซาอุดีอาระเบีย มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาเนื่องจากอัตราเพิ่มของประชากรมีมากกว่าอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ
สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การท่องเที่ยว[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาธารณสุข[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สวัสดิการสังคม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากรศาสตร์[แก้]
เชื้อชาติ[แก้]
ประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นมีประชากรประมาณ 27 ล้านคน
ศาสนา[แก้]
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามประมาณ 95%
ภาษา[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
กีฬา[แก้]
กระโดดยาง
ฟุตบอล[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรม[แก้]
สถาปัตยกรรม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อาหาร[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแต่งกาย[แก้]
เนื่องจากซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง อีกทั้งประชาชนยังนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งตัวไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้ชาวซาอุดีอาระเบียแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก แต่ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียความชุ่มชื้น ผู้ชายจะใส่ชุดสีขาว เรียกว่า โต๊ป (Thobe) ส่วนผู้หญิงต้องสวมใส่เสื้อคลุมสีดำที่เรียกว่า อาบายะห์ (Abaya)
ความเชื่อ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สื่อมวลชน[แก้]
วันหยุด[แก้]
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ มีสภาที่ปรึกษาหรือสภาชูรอ ซึ่งไม่มีอำนาจทางนิติบัญญัติ[7] เพราะบทบาทของสภานี้มีแค่เฉพาะเป็นที่ปรึกษา จึงไม่ถือเป็นนิติบัญญัติ[8]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "About Saudi Arabia: Facts and figures". The Royal Embassy of Saudi Arabia, Washington, DC. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 17 April 2012.
- ↑ 2.0 2.1 Saudi Arabia. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ↑ "Basic Law of Governance". Ministry of Education. Ministry of Education – Kingdom of Saudi Arabia. สืบค้นเมื่อ 1 September 2020.
- ↑ "The World Factbook". 2 July 2014. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2014-07-02.
- ↑ "Saudi Arabia - The World Factbook". CIA. CIA. สืบค้นเมื่อ 30 May 2021.
- ↑ "Religious Composition by Country" (PDF). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 23 มีนาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2021.
- ↑ Hefner, Robert W. (2009). Remaking Muslim Politics: Pluralism, Contestation, Democratization. Princeton University Press. p. 202. ISBN 978-1-4008-2639-1.
- ↑ "Analysts: Saudi Arabia Nervous About Domestic Discontent". www.voanews.com. VoA News - English. สืบค้นเมื่อ 2021-06-06.
- ↑ "The total population – General Authority for Statistics". stats.gov.sa. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 31 October 2019.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 "Saudi Arabia". International Monetary Fund.
- ↑ "The World Factbook". CIA.gov. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 28 May 2019.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "About ArRiyadh". High Commission for the Development of Ar-Riyadh. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Eastern Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Makkah Al-Mokarramah Region, 2014 A.D." Stats.gov.sa. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2 March 2016. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ 16.0 16.1 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Aseer Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Hail Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ 18.0 18.1 "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Al-Madinah Al-Monawarah Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Al-Riyad Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Al-Qaseem Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Najran Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ↑ "Population Distribution (Saudi and Non Saudi) in Governorates of Tabouk Region, 2013 A.D." Stats.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017.
- ประเทศซาอุดีอาระเบีย Archived 2011-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ
บรรณานุกรม[แก้]
- Abir, Mordechai (1987). Saudi Arabia in the oil era: regime and elites : conflict and collaboration. ISBN 978-0-7099-5129-2.
- Abir, Mordechai (1993). Saudi Arabia: Government, Society, and the Persian Gulf Crisis. ISBN 978-0-415-09325-5.
- Mordechai, Abir (2019). Saudi Arabia In The Oil Era: Regime And Elites; Conflict And Collaboration. Taylor & Francis. ISBN 978-1-00-031069-6.
- Al-Rasheed, Madawi (2010). A History of Saudi Arabia. ISBN 978-0-521-74754-7.
- Bowen, Wayne H. (2007). The History of Saudi Arabia. ISBN 978-0-313-34012-3.
- Hegghammer, Thomas (2010). Jihad in Saudi Arabia: Violence and Pan-Islamism Since 1979. ISBN 978-0-521-73236-9.
- House, Karen Elliott (2012). On Saudi Arabia: Its People, Past, Religion, Fault Lines—and Future. Alfred A. Knopf. ISBN 978-0-307-27216-4.
- Long, David E. (2005). Culture and Customs of Saudi Arabia. ISBN 978-0-313-32021-7.
- Malbouisson, Cofie D. (2007). Focus on Islamic issues. ISBN 978-1-60021-204-8.
- Otto, Jan Michiel (2010). Sharia Incorporated: A Comparative Overview of the Legal Systems of Twelve Muslim Countries in Past and Present. ISBN 978-90-8728-057-4.
- Tausch, Arno; Heshmati, Almas; Karoui, Hichem (2015). The political algebra of global value change. General models and implications for the Muslim world (1st ed.). New York: Nova Science. ISBN 978-1-62948-899-8. Available at: https://www.researchgate.net/publication/290349218_The_political_algebra_of_global_value_change_General_models_and_implications_for_the_Muslim_world
- Tausch, Arno (2021). The Future of the Gulf Region: Value Change and Global Cycles. Gulf Studies, Volume 2, edited by Prof. Mizanur Rahman, Qatar University (1st ed.). Cham, Switzerland: Springer. ISBN 978-3-030-78298-6., especially Chapter 8: Saudi Arabia—Religion, Gender, and the Desire for Democracy. In: The Future of the Gulf Region. Gulf Studies, vol 2. Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-030-78299-3_8
- Tripp, Harvey; North, Peter (2009). CultureShock! A Survival Guide to Customs and Etiquette. Saudi Arabia (3rd ed.). Marshall Cavendish.
- Tripp, Harvey; North, Peter (2003). Culture Shock, Saudi Arabia. A Guide to Customs and Etiquette. Singapore; Portland, Oregon: Times Media Private Limited.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ซาอุดีอาระเบีย Archived 2021-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์รัฐบาลอย่างเป็นทางการ
- Saudi Arabia. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- ประเทศซาอุดีอาระเบีย ที่เว็บไซต์ Curlie
- Saudi Arabia profile from the BBC News
Wikimedia Atlas of Saudi Arabia
- ประเทศซาอุดีอาระเบีย แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- Key Development Forecasts for Saudi Arabia from International Futures