ทวีปแอฟริกา
![]() | |
พื้นที่ | 30,370,000 ตร.กม. (อันดับที่ 2) |
---|---|
ประชากร |
1,225,080,510 คนใน พ.ศ. 2560[1] (อันดับที่ 2) |
ความหนาแน่น | 36.4 คน/ตร.กม. |
คำเรียกผู้อาศัย | ชาวแอฟริกา |
จำนวนประเทศ | 54 ประเทศ -1ประเทศ |
จำนวนดินแดน |
ดินแดนโพ้นทะเล (3)
เขตปกครองตนเอง (4)
|
ภาษา | 1250-3000 ภาษา |
เขตเวลา | UTC-1 ถึง UTC+4 |
เมืองใหญ่ |
แอฟริกา (อังกฤษ: Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมด[2] ประชากรกว่า 1,100 ล้านคน (พ.ศ. 2556) ในดินแดน 61 ดินแดน นับเป็นร้อยละ 14.72 ของประชากรโลก
ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซ และทะเลแดง บริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือ มหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ประกอบด้วย 54 รัฐ
เนื้อหา
ที่สุดในทวีปแอฟริกา[แก้]
จุดที่สุดในทวีปแอฟริกา | สถานที่ | รัฐ/ประเทศ |
---|---|---|
จุดเหนือสุด | แหลมบองก์ | บิเซิร์ท/ตูนิเซีย |
จุดใต้สุด | แหลมอะกัลลัสหรือแหลมอะกุลกัส | เวสเทิร์นแคป/แอฟริกาใต้ |
จุดตะวันออกสุด | แหลมแฮฟูน | พุนต์แลนด์/โซมาเลีย |
จุดตะวันตกสุด | แหลมเวอร์ด | ซานโตอัลเตาวน์/กาบูเวร์ดี |
ยอดเขาที่สูงที่สุด | ยอดเขาคีโบ บนภูเขาคีลิมันจาโร | คิลิมันจาโร/แทนซาเนีย |
เกาะที่ใหญ่ที่สุด | เกาะมาดากัสการ์ | มาดากัสการ์ |
แม่น้ำที่ยาวที่สุด | แม่น้ำไนล์ | |
ทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุด | ทะเลทรายสะฮารา |
ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]
ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปทางตอนเหนือ และมีคลองสุเอซเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียทางตะวันออกเฉียงเหนือ จุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 - 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์
- เทือกเขา แบ่งออกเป็น 2 เขตคือ
- เขตภูเขาทางภาคเหนือ เป็นเขตเทือกเขาเกิดใหม่อายุราวพอ ๆ กับเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส ขนานไปกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเขตพื้นที่ประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย
- เขตภูเขาทางภาคใต้ ได้แก่ เทือกเขาดราเคนสเบิร์ก ในประเทศแอฟริกาใต้และเลโซโท
- ทะเลทราย แบ่งเป็น 2 เขตคือ
- เขตทะเลทรายตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลทรายสะฮารา (ซึ่งเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) และทะเลทรายลิเบีย บริเวณนี้จะเกิดลมร้อนในทะเลทรายสะฮารา เรียกว่า ซิร็อกโก
- เขตทะเลทรายตอนใต้ ได้แก่ ทะเลทรายนามิบ และทะเลทรายคาลาฮารี
- แม่น้ำ
- แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก ต้นน้ำคือทะเลสาบวิกตอเรีย ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
- แม่น้ำคองโก เป็นแม่น้ำเขตศูนย์สูตร ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติก
- แม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตก ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราเลโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี
- แม่น้ำแซมเบซี อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปมีแอ่งน้ำตก น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย ที่ประเทศโมซัมบิก
กระแสน้ำในมหาสมุทร[แก้]
- กระแสน้ำอุ่นโมซัมบิก ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันออกของทวีปแอฟริกา ทำให้อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น
- กระแสน้ำเย็นคะแนรี ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา ทำให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง
- กระแสน้ำอุ่นกินี ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา ทำให้มีอากาศอบอุ่นและชุ่มชื้น
- กระแสน้ำเย็นเบงเกวลา ไหลเลียบชายฝั่งทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ทำให้มีอากาศเย็นและแห้งแล้ง
ภูมิอากาศ[แก้]
ส่วนใหญ่จะมีทะเลทราย อากาศแห้งแล้ง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรในทวีป ส่วนมากจะอยู่ทางตอนเหนือสุดและใต้สุดของทวีป ซึ่งมีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาอยู่บริเวณตอนเหนือ และใต้แนวศูนย์
- ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น ( Tropical Rain-forest Climate ) ได้แก่ พื้นที่ตอนกลางของที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก ชายฝั่งตอนใต้ของที่ราบสูงตะวันตก และด้านตะวันตกของเกาะมาดากัสการ์
- ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน(Tropical Desert Climate)พบได้ตามแนวเส้นทรอปิกออฟแครนเซอร์ นับตั้งแต่ประเทศมอริเตเนีย มาลี แอลจีเรีย ไนเจอร์ ลิเบีย อียิปต์ ซูดาน และตามแนวเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น บริเวณประเทศแองโกลา นามีเบีย และบอตสวานา ทางภาคเหนือของแอฟริกามีทะเลทรายกว้างใหญ่ ได้แก่ ทะเลทรายสะฮารา ทะเลทรายลิเบีย และทะเลทรายนูเบียส่วนทางภาคใต้มีทะเลทรายคาลาฮารี และทะเลทรายนูเบีย
การสำรวจ[แก้]
ยุโรปชาติแรกที่สำรวจแอฟริกา คือโปรตุเกส และหลังจากนั้นก็ถูกสำรวจโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ ดัตช์ เป็นต้น นักสำรวจที่ยิ่งใหญ่ของแอฟริกามีหลายท่านด้วยกัน นักสำรวจที่รู้จักกันดีคือ ดร. เดวิด ลิฟวิงสโตน์
เศรษฐกิจ[แก้]
แม้ว่าจะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่แอฟริกากลับเป็นทวีปที่ยากจนและด้อยพัฒนา ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่นการระบาดของโรคร้ายแรง (ได้แก่เชื้อ็H.I.V โรคเอดส์ และมาลาเรีย) รัฐบาล
คอร์รัปชันและละเมิดสิทธิมนุษยชน การที่รัฐบาลขาดการวางแผน ระดับการรู้หนังสือที่ต่ำ การขาดแคลนเงินทุนต่างชาติ และความขัดแย้งระหว่างชนชาติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในรูปของกองโจรไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[3] จากรายงานการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2004 ประเทศที่อยู่อันดับต่ำสุด 26 ประเทศ (อันดับ 151 ถึง 175) ล้วนเป็นประเทศในทวีปแอฟริกา[4]
ข้อมูลเศรษฐกิจ[แก้]
- ตารางแสดงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีมากที่สุดในทวีปแอฟริกา 10 อันดับแรก 1
อันดับ | ประเทศ | จีดีพี (ล้าน$) ปี 2014 |
1 | ![]() |
573,999 |
2 | ![]() |
350,082 |
3 | ![]() |
286,538 |
4 | ![]() |
214,063 |
5 | ![]() |
131,401 |
6 | ![]() |
110,009 |
7 | ![]() |
74,766 |
8 | ![]() |
60,937 |
9 | ![]() |
54,809 |
10 | ![]() |
49,115 |
- 1 ข้อมูลโดย IMF
- แสดงตารางประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีจีดีพีต่อหัวมากที่สุด 10 อันดับแรก 2
อันดับ (แอฟริกา) | ประเทศ | ค่าจีดีพีต่อหัว ($) ปี 2009 | อันดับ (โลก) |
---|---|---|---|
![]() |
|||
![]() |
|||
![]() |
|||
![]() |
|||
![]() |
|||
![]() |
|||
![]() |
|||
![]() |
|||
![]() |
|||
![]() |
bgcolor=orange
ข้อมูลโดย IMF
การคมนาคมขนส่ง[แก้]
ทวีปแอฟริกายังมีปัญหาทางด้านการคมนาคมขนส่งมากกว่าทวีปอื่นๆ เนื่องจากหลายประเทศขาดเงินทุนที่จะนำมาพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ทันสมัย ประกอบกับทวีปแอฟริกามีลักษะภูมิประเทศและมีลักษณะภูมิสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่ง เช่น มีเขตทะเลทรายที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีพื้นที่ลุ่มและป่าดิบที่กว้างใหญ่ และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและภูเขา การคมนาคมขนส่งของทวีปแอฟริกาจึงใช้วิธีการดั้งเดิมกันทั่วไป
ทางบก[แก้]
ทวีปแอฟริกายังมีปัญหาทางด้านการคมนาคมขนส่งมากกว่าทวีปอื่นๆ เนื่องจากหลายประเทศขาดเงินทุนที่จะนำมาพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ทันสมัย ประกอบกับทวีปแอฟริกามีลักษะภูมิประเทศและมีลักษณะภูมิสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมขนส่ง เช่น มีเขตทะเลทรายที่มีอาณาเขตกว้างขวาง มีพื้นที่ลุ่มและป่าดิบที่กว้างใหญ่ และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและภูเขา การคมนาคมขนส่งของทวีปแอฟริกาจึงใช้วิธีการดั้งเดิมกันทั่วไป
ทางอากาศ[แก้]
ทวีปแอฟริกามีสายการบินที่ใช้ติดต่อกันทั้งระหว่างประเทศภายในทวีป และระหว่างทวีป ประเทศที่มีระบบการคมนาคมขนส่งทางอากาศที่ดีในทวีปแอฟริกา ได้แก่ ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ อียิปต์ เอธิโอเปีย เคนยา ไนจีเรีย และกานา ศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศในทวีปแอฟริกา ได้แก่ ไคโร ประเทศอียิปต์, เลกอส ประเทศไนจีเรีย, โจฮันเนสเบิร์ก และเคปทาวน์ประเทศแอฟริกาใต้
ประชากร[แก้]
จำนวนประชากร[แก้]
ทวีปแอฟริกามีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือประเทศไนจีเรีย รองลงมาคือ ประเทศอียิปต์ ซึ่งมีอัตราการเพิ่มของประชากรสูง ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 30.5 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร(2552)
เชื้อสายของประชากร[แก้]
- นิกรอยด์ หรือเรียกว่า แอฟริกันนิโกร เป็นชนกลุ่มใหญ่สุดของทวีป โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ
- บันตู อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก กลาง และใต้ เช่น เผ่าคิคูยู วาตูซี มาไซ
- ซูดานนิโกร อยู่ในแถบแอฟริกาตะวันตกและทะเลทรายสะฮารา
- ปิกมี บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก
- บุชแมนและฮอตเทนทอต บริเวณทะเลทรายคาลาฮารี
- คอเคซอยด์ มาจากคาบสมุทรอาหรับ อยู่ในแถบอียิปต์และซูดาน จากชาวยุโรปบริเวณแหลมกู๊ดโฮป และตอนเหนือของทวีป
ภาษา[แก้]
ทวีปแอฟริกามีภาษาพูดมากกว่า 1000 ภาษา เนื่องจากทวีปแอฟริกามีประชากรอยู่หลายเผ่าพันธุ์ และแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 4 กลุ่ม
- กลุ่มภาษาเซมิติก ได้แก่ ภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาของคนส่วนใหญ่ในแอฟริกาเหนือและบางส่วนในแอฟริกาตะวันออก
- กลุ่มภาษาซูดาน เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตทุ่งหญ้าสะวันนาทางตอนใต้ของทะเลทรายสะฮารา ตั้งแต่ภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกไปทางตะวันออกถึงประเทศแทนซาเนีย
- กลุ่มภาษาบันตู เป็นภาษาของประชากรในประเทศต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ของทวีปแอฟริกา กลุ่มภาษาบันตูมีหลายภาษา เช่น ภาษาซูลู สวาฮิลี
- กลุ่มภาษาเฮาซา เป็นกลุ่มภาษาทางการค้าของประชากรทางภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา กลุ่มภาษาเฮาซามีหลายภาษา เช่น ภาษาฟูลานี แมนดา คะวา
ขนาดพื้นที่[แก้]
ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณ 30,400,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็น3เท่าของทวีปยุโรป และใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากทวีปเอเชีย ประเทศที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด คือ แอลจีเรีย (2,381,740 ตารางกิโลเมตร) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกหรือซาอีร์เดิม (2,345,410 ตารางกิโลเมตร) ซูดาน (1,760,000 ตารางกิโลเมตร) ตามลำดับ
ในแง่ภูมิภาค ภูมิภาคที่มีขนาดพื้นที่มากที่สุด คือ แอฟริกาเหนือ (8,533,021 ตารางกิโลเมตร) ส่วนภูมิภาคที่มีขนาดพื้นที่น้อยที่สุด คือ แอฟริกาใต้ (3,083,998 ตารางกิโลเมตร)
ประวัติศาสตร์[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การแบ่งภูมิภาค[แก้]
ทวีปแอฟริกาสามารถแบ่งได้ 5 ภูมิภาคใหญ่ ๆ ดังนี้
ภูมิภาค | ลำดับ | ประเทศ | พื้นที่ (ตร.กม | ประชากร (2552) | ความหนาแน่น |
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
![]() |
2,505,810 | 41,087,825 | 16.4 | ||
![]() |
619,745 | 8,260,490 | 57.0 | ||
![]() |
163,610 | 10,486,339 | 64.1 | ||
![]() |
446,550 | 34,859,364 | 78.0 | ||
![]() |
1,759,540 | 6,310,434 | 3.6 | ||
![]() |
1,001,450 | 83,082,869 | 82.9 | ||
![]() |
2,381,740 | 34,178,188 | 14.3 | ||
![]() ![]() |
7,492 | 1,694,477 (2544) | 226.2 | ||
![]() ![]() |
20 | 71,505 (2544) | 3,575.2 | ||
![]() ![]() |
797 | 245,000 (2544) | 307.4 | ||
![]() ![]() |
12 | 66,411 (2544) | 5,534.2 | ||
![]() |
266,000 | 405,210 | 1.5 | ||
8,533,021 | 212,487,622 | 24.9 | |||
![]() | |||||
![]() |
267,667 | 1,514,993 | 5.6 | ||
![]() |
475,440 | 18,879,301 | 39.7 | ||
![]() |
1,284,000 | 10,329,208 | 8.0 | ||
![]() |
1,001 | 212,679 | 212.4 | ||
![]() |
342,000 | 4,012,809 | 11.7 | ||
![]() ![]() |
2,345,410 | 68,692,542 | 29.2 | ||
![]() |
622,984 | 4,511,488 | 7.2 | ||
![]() |
28,051 | 633,441 | 22.6 | ||
![]() |
1,246,700 | 12,799,293 | 10.3 | ||
6,613,253 | 121,585,754 | 18.39 | |||
![]() | |||||
![]() |
825,418 | 2,108,665 | 2.6 | ||
![]() |
600,370 | 1,990,876 | 3.3 | ||
![]() |
30,355 | 2,130,819 | 70.2 | ||
![]() |
17,363 | 1,123,913 | 64.7 | ||
![]() |
1,219,912 | 49,052,489 | 40.2 | ||
![]() |
390,580 | 11,392,629 | 29.1 | ||
3,083,998 | 67,799,391 | 21.98 | |||
![]() | |||||
![]() |
27,830 | 8,988,091 | 322.9 | ||
![]() |
2,170 | 752,438 | 346.7 | ||
![]() |
23,000 | 516,055 | 22.4 | ||
![]() |
121,320 | 5,647,168 | 46.5 | ||
![]() |
1,127,127 | 85,237,338 | 75.6 | ||
![]() |
582,650 | 39,002,772 | 66.0 | ||
![]() |
587,040 | 20,653,556 | 35.1 | ||
![]() |
118,480 | 14,268,711 | 120.4 | ||
![]() |
2,040 | 1,284,264 | 629.5 | ||
![]() |
801,590 | 21,669,278 | 27.0 | ||
![]() |
26,338 | 10,473,282 | 397.6 | ||
![]() |
455 | 87,476 | 192.2 | ||
![]() |
637,657 | 9,832,017 | 15.4 | ||
![]() |
945,087 | 41,048,532 | 43.3 | ||
![]() |
236,040 | 32,369,558 | 137.1 | ||
![]() |
752,614 | 11,862,740 | 15.7 | ||
![]() ![]() |
374 | 223,765 | 489.7 | ||
![]() ![]() |
2,512 | 743,981(2545) | 296.2 | ||
5,994,324 | 311,357,022 | 51.9 | |||
![]() | |||||
![]() |
112,620 | 8,791,832 | 78.0 | ||
![]() |
274,200 | 15,746,232 | 57.4 | ||
![]() |
4,033 | 429,474 | 107.3 | ||
![]() |
322,460 | 20,617,068 | 63.9 | ||
![]() |
11,300 | 1,782,893 | 175.7 | ||
![]() |
239,460 | 23,832,495 | 99.5 | ||
![]() |
245,857 | 10,057,975 | 40.9 | ||
![]() |
36,120 | 1,533,964 | 42.5 | ||
![]() |
111,370 | 3,441,790 | 30.9 | ||
![]() |
1,240,000 | 12,666,987 | 10.2 | ||
![]() |
1,030,700 | 3,129,486 | 3.0 | ||
![]() |
1,267,000 | 15,306,252 | 12.1 | ||
![]() |
923,768 | 149,229,090 | 161.5 | ||
![]() |
196,190 | 13,711,597 | 69.9 | ||
![]() |
71,740 | 6,440,053 | 89.9 | ||
![]() |
56,785 | 6,019,877 | 106 | ||
![]() ![]() |
410 | 7,637 | 14.4 | ||
6,144,013 | 296,186,492 | 48.2 | |||
30,368,609 | 1,001,320,281 | 33.0 |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน พ.ศ. 2560.
- ↑ Sayre, April Pulley. (1999) Africa, Twenty-First Century Books. ISBN 0-7613-1367-2.
- ↑ Richard Sandbrook, The Politics of Africa's Economic Stagnation, Cambridge University Press, Cambridge, 1985 passim
- ↑ Human Development Index, สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
|
|