ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล
States directly involved in the Arab-Israeli conflict
  สันนิบาตอาหรับ
  เคยทำสงครามกับอิสราเอล
  อิสราเอล
วันที่ค.ศ. 1920[1] - ปัจจุบัน
สถานที่
ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ
ผล

การหยุดยิง:

  • บรรลุการหยุดยิงกับซีเรีย อียิปต์ และจอร์แดน ตั้งแต่ปี 1973
  • สนธิสัญญาสันติภาพกับอียิปต์ ลงนามในปี 1979
  • ข้อตกลงออสโลกับปาเลสไตน์นำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993
  • หยุดยิงกับองค์การปาเลสไตน์ตั้งแต่ปี 2004
  • หยุดยิงกับเลบานอนตั้งแต่ปี 2006
  • หยุดยิงกับฮามาส (ฉนวนกาซา) ตั้งแต่ปี 2012
คู่สงคราม
 อิสราเอล

 สันนิบาตอาหรับ ปาเลสไตน์:

 จอร์แดน (1948–1994)
 อียิปต์ (1948–1979)
 อิรัก (1948–)
 ซีเรีย (1948–)
 เลบานอน (1948–)

ความสูญเสีย
ทหารเสียชีวิต 74,000 นาย
พลเรือนเสียชีวิต 18,000 คน
(ค.ศ. 1945-1995)[2]

ความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอล (อาหรับ: الصراع العربي الإسرائيلي Al-Sura'a Al'Arabi A'Israili; ฮีบรู: הסכסוך הישראלי-ערבי Ha'Sikhsukh Ha'Yisraeli-Aravi) หมายถึงความตึงเครียดทางการเมืองและความขัดแย้งทางทหารระหว่างสันนิบาตอาหรับและอิสราเอล และระหว่างชาวอาหรับกับชาวอิสราเอล ต้นตอของความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลสมัยใหม่นี้เกิดจากความรุ่งเรืองของขบวนการไซออนิสต์และลัทธิชาตินิยมอาหรับช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนที่ชาวยิวมองว่าเป็นบ้านเกิดทางประวัติศาสตร์ของพวกตนนั้น ก็ถูกมองโดยขบวนการรวมอาหรับว่าเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นของชาวอาหรับปาเลสไตน์[3] และเป็นดินแดนของมุสลิมในบริบทรวมอิสลาม ความขัดแย้งระหว่างชาวยิวและชาวอาหรับปาเลสไตน์อุบัติขึ้นในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ระหว่างเหตุจลาจลนบีมูซาเมื่อปี 1920 และบานปลายเป็นสงครามกลางเมืองเต็มขั้นในปี 1947 และขยายเป็นประเทศสันนิบาตอาหรับทั้งหมดเมื่อมีการสถาปนารัฐอิสราเอลสมัยใหม่ขึ้นในเดือนพฤษภาคม 1948

เมื่อเวลาผ่านไป ความขัดแย้งดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นเป็นความขัดแย้งทางการเมืองและชาตินิยมเหนือความปรารถนาดินแดนที่แข่งกันหลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย ได้เปลี่ยนแปลงจากความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลในภูมิภาคเต็มขั้น ไปเป็นความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่จำกัดบริเวณกว่า โดยความเป็นปรปักษ์เต็มขั้นส่วนใหญ่สิ้นสุดลงด้วยการหยุดยิง หลังสงครามเดือนตุลาคม ปี 1973 ต่อมา มีการลงนามความตกลงสันติภาพระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ในปี 1979 และอิสราเอลกับจอร์แดนในปี 1994 ข้อตกลงออสโลนำไปสู่การสถาปนาองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ในปี 1993 แม้จะยังไม่บรรลุความตกลงสันติภาพขั้นสุดท้ายก็ตาม ปัจจุบัน การหยุดยิงยังมีผลระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย เช่นเดียวกับเลบานอนที่เพิ่งลงนามไป (ตั้งแต่ปี 2006) ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกาซาที่ปกครองโดยฮามาส แม้จะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสันนิบาตอาหรับ แต่โดยปกตินับเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ จึงเป็นความขัดแย้งอาหรับ–อิสราเอลด้วย แม้จะบรรลุความตกลงสันติภาพและการหยุดยิงต่าง ๆ แต่โลกอาหรับและอิสราเอลโดยทั่วไปยังหมางใจกันอยู่เหนือบางดินแดน

อ้างอิง[แก้]

  1. Tom Segev,'When Zionism was an Arab cause,' at Haaretz, 6 April 2012.
  2. Buzan, Barry (2003). Regions and powers. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-89111-0. สืบค้นเมื่อ April 21, 2009.
  3. "The Palestinian National Charter – Article 6". Mfa.gov.il. สืบค้นเมื่อ 2013-01-19.