แมวทราย
แมวทราย | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Mammalia |
อันดับ: | สัตว์กินเนื้อ Carnivora |
อันดับย่อย: | เฟลิฟอเมีย Feliformia |
วงศ์: | เสือและแมว Felidae |
วงศ์ย่อย: | แมว Felinae |
สกุล: | สกุลแมว Felis Loche, 1858 |
สปีชีส์: | Felis margarita[1] |
ชื่อทวินาม | |
Felis margarita[1] Loche, 1858 | |
ชนิดย่อย | |
F. m. margarita Loche, 1858 | |
ถิ่นกระจายพันธุ์ใน ค.ศ. 2016[2] | |
ชื่อพ้อง[1] | |
รายการ
|
แมวทราย, แซนด์แคท หรือ แมวเนินทราย (อังกฤษ: Sand cat, Sand dune cat[2]; ชื่อวิทยาศาสตร์: Felis margarita) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทกินเนื้อชนิดหนึ่ง จำพวกแมวป่า นับเป็นแมวป่าขนาดเล็กที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง
ลักษณะ
[แก้]แมวทรายเป็นแมวที่อยู่ในสกุล Felis เช่นเดียวกับแมวบ้าน (F. catus) หรือแมวป่า (F. chaus) เป็นแมวที่มีขนาดเล็ก ช่วงขาสั้น หางยาว หัวมีลักษณะกลมใหญ่ มีขนสีน้ำตาลซีดจนถึงเทาอ่อนกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม ขนใต้ท้องสีขาว มีแถบสีดำที่ทั้งสีข้างและหาง มีแถบสีแดงเข้มพาดจากหางตามาถึงแก้ม เยื่อเมือกดวงตาเป็นสีดำ ใบหูใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยมปลายเรียว ช่วยในการได้ยินเสียงค่อนข้างดี และสามารถจับแรงสั่นสะเทือนบนพื้นทรายได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น มีความสูงถึงช่วงไหล่ประมาณ 24–36 เซนติเมตร (9.4–14.2 นิ้ว) และน้ำหนัก 1.5–3.4 กิโลกรัม (3.3–7.5 ปอนด์) ความยาวลำตัวหัวประมาณ 39–52 เซนติเมตร (15-20 นิ้ว) และความยาวหาง 23.2–31 เซนติเมตร (9.1–12.2 นิ้ว) มีขนที่อุ้งตีนช่วยป้องกันความร้อนจากพื้นและช่วยเก็บเสียงขณะเดินบนพื้นที่มีผิวหยาบร่วน เมื่อเดินบนพื้นทรายแทบจะไม่ปรากฏรอยเท้าเลย ประสาทหูไวมาก เหมาะสำหรับการหาเหยื่อในพื้นที่ที่หาเหยื่อยาก คาดว่าแมวทรายได้ยินเสียงอัลตราโซนิกจากเหยื่อที่อยู่ใต้ดินได้เช่นเดียวกับเซอร์วัล (Leptailurus serval) ซึ่งเป็นแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า มีความทนทนต่อสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกันสุดขั้วในทะเลทราย ตั้งแต่ –5 องศาเซลเซียส จนถึง 52 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาวขนของแมวทรายอาจยาวงอกมากกว่าปกติได้ถึง 5 เซนติเมตร เพื่อให้ร่างกายได้รับความอบอุ่น[3]
การออกหากิน
[แก้]แมวทรายหากินเวลากลางคืน ส่วนเวลากลางวันมักใช้เวลาส่วนใหญ่ในโพรงตื้น ๆ ที่ขุดไว้ตามเนินทราย ในดงไม้แคระนอนอยู่ไม่ไกลจากปากโพรง กินอาหารด้วยการจับสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนู, นก, กระต่ายป่า, สัตว์เลื้อยคลาน, แมลง มีระยะทางในการออกหากินไกลถึง 5–10 กิโลเมตร แมวทรายเป็นแมวที่ปีนป่ายและกระโดดได้ไม่เก่ง แต่มีทักษะการขุดที่ยอดเยี่ยมเพราะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีพ เพราะต้องใช้ในการขุดโพรงเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยรวมถึงเลี้ยงลูกและหาเหยื่อ บางครั้งอาจจะใช้รูของสัตว์อื่นขุดทิ้งไว้ก็มี แต่แมวทรายก็ตกเป็นเหยื่อของสัตว์ขนาดใหญ่กว่า เช่น คาราคัล (Caracal caracal) ซึ่งเป็นแมวป่าเหมือนกัน หรือหมาป่า[4]
เนื่องจากสภาพที่อยู่อาศัยเป็นทะเลทราย มีความแห้งแล้ง แมวทรายจึงดูดเลือดจากเหยื่อที่จับได้ด้วยแทนน้ำ[5]
ถิ่นที่อยู่และชนิด
[แก้]แมวทรายกระจายพันธุ์ในแถบทะเลทรายของภูมิภาคเอเชียเหนือ ตะวันออกกลาง และแอฟริกาทางตอนเหนือ โดยกระจายออกไปในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ทะเลทรายสะฮาราหรือทะเลทรายอาหรับ แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดย่อย ดังนี้ (แต่ตัวอย่างต้นแบบสาบสูญหายไป[6])
| |||||||||||||||||||||||||||
ตารางการจำแนกแมวในสกุล Felis [7] |
- F. m. margarita (Loche, 1858) – พบจากแอลจีเรียไปทางใต้จนถึงภูเขาอาอีร์ในไนเจอร์, คาบสมุทรไซนาย และคาบสมุทรอาหรับ;[8]
- F. m. thinobia (Ognew, 1926) – จากทะเลทรายคาราคุมไปจนถึงตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองทืร์กเมนบาชือในเติร์กเมนิสถาน และทางตอนใต้ของทะเลทรายคาราคุมจนถึงตะวันตกของเมืองบูคาราในอุซเบกิสถาน และในพื้นที่ทรานส์แคสเปียน จนถึงพื้นที่สงวนชีวมณฑลเรเพเทค;[9] ชนิดนี้ในบางข้อมูลอาจแยกให้เป็นชนิดต่างหาก[6]
- F. m. scheffeli (Hemmer, 1974) – พบในทะเลทรายนุชกีในปากีสถาน;[10]
- F. m. harrisoni (Hemmer, Grubb & Groves, 1976) – พบในคาบสมุทรอาหรับ[11]
- F. m. meinertzhageni Pocock, 1938 – พบเฉพาะทะเลทรายสะฮาราในแอลจีเรีย, จัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น[12]
- F. m. aïrensis Pocock, 1951 – พบเฉพาะเฟรนซ์ซูดาน, จัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น[12]
แมวทรายมีระยะเวลาตั้งท้องนาน 59–66 วัน ตกลูกครั้งละเฉลี่ย 3 ตัว ตั้งท้องได้ 2–3 ครั้งในรอบปี ด้วยรูปร่างลักษณะที่เล็ก ดูแลน่ารัก ทำให้แมวทรายได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์และจัดแสดงในสวนสัตว์ รวมถึงมีการล่าเป็นเกมกีฬาและการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย[2] แมวทรายที่ถูกนำมาเป็นสัตว์เลี้ยงและเพาะขยายพันธุ์ในสวนสัตว์ต่าง ๆ มักจะตายด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ[13][14] จึงทำให้เป็นสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเข้าใกล้ถูกคุกคาม
โดยภาพเคลื่อนไหวของลูกแมวทรายนั้นยังไม่เคยมีใครบันทึกไว้ได้เลย จนกระทั่งเดือนเมษายน ค.ศ. 2017 มีการถ่ายภาพเคลื่อนไหวของลูกแมวทรายได้เป็นครั้งแรกของโลกโดยสถาบันแพนเทอรา ซึ่งเป็นสถาบันที่ศึกษาเกี่ยวกับสัตว์จำพวกแมวและเสือโดยเฉพาะ โดยเป็นลูกแมวทรายที่อาศัยอยู่ในโพรงที่ทะเลทรายสะฮารา ในประเทศโมร็อกโก อายุคาดว่า 6–8 เดือน จำนวน 3 ตัว ที่โผล่ออกมาเล่นนอกโพรง เชื่อว่าแม่แมวทรายคงจะออกไปหาอาหาร[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Wozencraft, W. C. (2005). "Species Felis margarita". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 536. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Sliwa, A.; Ghadirian, T.; Appel, A.; Banfield, L.; Sher Shah, M. & Wacher, T. (2016). "Felis margarita". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T8541A50651884. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T8541A50651884.en. สืบค้นเมื่อ 24 January 2022.
- ↑ Briggs, M.; Briggs, P. (2006). The Encyclopedia of World Wildlife. Somerset, UK: Parragon Publishing. p. 45. ISBN 978-1-4054-8292-9.
- ↑ Mendelssohn, H. (1989). Felids in Israel. Cat News 10: 2–4.
- ↑ "เรื่องน่าทึ่งของสัตว์ตระกูลแมว ตอน สุดยอดแมว". ไทยพีบีเอส. 2019-11-13. สืบค้นเมื่อ 2019-11-14.
- ↑ 6.0 6.1 Cole, F.R.; Wilson, D.E. (2015). "Felis margarita (Carnivora: Felidae)" (PDF). Mammalian Species. 47 (924): 63–77. doi:10.1093/mspecies/sev007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-12-10. สืบค้นเมื่อ 2016-06-03.
- ↑ Mattern, M.Y.; McLennan, D.A. (2000). "Phylogeny and speciation of felids". Cladistics. 16 (2): 232–53. doi:10.1111/j.1096-0031.2000.tb00354.x.
- ↑ Ellerman, J. R. and Morrison-Scott, T. C. S. (1966). Checklist of Palaearctic and Indian mammals 1758 to 1946. Second edition. British Museum of Natural History, London. Pp. 306–307.
- ↑ Ognew, S. (1927). "A new genus and species of cat from the Transcaspian region". Annuaire du Musée Zoologique Académie des Sciences USSR. 27: 356–62.
- ↑ Hemmer, H. (1974). [Studies on the systematics and biology of the sand cat.] Zeitschrift des Kölner Zoo 17(1):11–20. (in German)
- ↑ Hemmer, H., Grubb, P. and C. P. Groves (1976). Notes on the sand cat, Felis margarita Loche 1958. Zeitschrift für Säugetierkunde 41: 286–303.
- ↑ 12.0 12.1 Pocock, R. I. (1951). Catalogue of the genus Felis. British Museum (Natural History), London, 190 pp.
- ↑ Bray, S. (ed.) (2010).Sand Cat SSP เก็บถาวร 2013-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Felid TAG Times (May 2010): 3
- ↑ Krystian, M. (2012). Rare Sand Kittens Born in Israel After Years of Rumored Extinction เก็บถาวร 2013-01-26 ที่ archive.today The International Business Times TV, 15 August 2012
- ↑ หน้า 2, พบลูก"แมวทราย"น่ารักสุดๆ. "เปิดม่าน JOKE OPERA" โดย ดอย ดอกฝิ่น. ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21813: วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560 แรม 6 ค่ำ เดือน 11 ปีระกา
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Sand Cat Working Group".
- "Sand Cat". IUCN/SSC Cat Specialist Group.
- Sand Cat: The King of the Desert. Animalogic. 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-24. สืบค้นเมื่อ 2022-07-22.
{{cite AV media}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - Sand Cat: How does this cat survive in the desert without water? Sand cat versus snakes and scorpion. Wildopedia. 2021.