ข้ามไปเนื้อหา

วงศ์พังพอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์พังพอน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนตอนต้น ถึง ปัจจุบัน, 21.8–0 Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
อันดับย่อย: Feliformia
วงศ์: Herpestidae
Bonaparte, 1845
สกุล
14 สกุล (ดูในเนื้อ)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์สัตว์ในวงศ์พังพอน
ชื่อพ้อง
  • Cynictidae Cope, 1882
  • Herpestoidei Winge, 1895
  • Mongotidae Pocock, 1920
  • Rhinogalidae Gray, 1869
  • Suricatidae Cope, 1882
  • Suricatinae Thomas, 1882

วงศ์พังพอน (อังกฤษ: mongoose; ไทยถิ่นเหนือ: จ่อน) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Herpestidae

เดิมเคยถูกรวมเป็นวงศ์เดียวกับ วงศ์ Viverridae หรือ วงศ์ชะมดและอีเห็น[1]

ลักษณะและพฤติกรรม

[แก้]

พังพอนมีรูปร่างโดยรวม เป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีลำตัวเพรียวยาว ช่วงขาสั้นแต่แข็งแรง มีเล็บที่แข็งแรงและแหลมคม หางยาว ใบหูเล็ก ส่วนใบหน้าแหลม ในปากมีฟันแหลมคมประมาณ 33-34 ซี่ ซึ่งนับว่าใกล้เคียงกับวงศ์ชะมดและอีเห็น มีลำตัวยาวตั้งแต่ 43 เซนติเมตร จนถึง 1 เมตร น้ำหนัก 320 กรัม จนถึง มากกว่า 5 กิโลกรัม

พังพอนส่วนใหญ่มีขนที่หยาบสีน้ำตาลหรือสีเทา ในบางชนิดจะเป็นขนสีอ่อนและมีลายปล้องสีคล้ำพาดเป็นลายขวางหรือลายตั้งเป็นทางยาว

พังพอนโดยมากจะมีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง หรืออยู่ลำพังเพียงตัวเดียว หรืออยู่กันเป็นครอบครัว ในหลากหลายสภาพภูมิประเทศ ตั้งแต่ป่าดิบทึบ, ทุ่งหญ้า, ป่าละเมาะ, ทะเลทราย จนถึงนาข้าว หรือพื้นที่เกษตรกรรมในชุมชนของมนุษย์

พังพอนมักหากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารได้หลากหลาย ตั้งแต่ ผลไม้, ลูกไม้, แมลง, สัตว์ทั้งมีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กต่าง ๆ รวมถึง แมงมุม, แมงป่อง และงูหรือกิ้งก่าอีกด้วย อีกทั้งพังพอนเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไว สามารถพองขนให้ตัวมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เพื่อขู่ศัตรู และมีภูมิคุ้มกันพิษงูอยู่ในตัว จึงสามารถสู้กับงูพิษได้เป็นอย่างดี ด้วยการหลอกล่อให้งูเหนื่อย และฉวยโอกาสเข้ากัดที่ลำคอจนตาย แต่ถ้าหากถูกกัดเข้าอย่างจัง ก็ทำให้ถึงตายได้เช่นกัน

พังพอนเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2 ปี ยกเว้นในบางชนิดที่สามารถตั้งท้องเมื่ออายุได้เพียง 9 เดือน มีระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 45-105 วัน ออกลูกครั้งละ 10-24 ตัว มีอายุขัยประมาณ 10 ปี มีรายงานว่าพังพอนในสถานที่เลี้ยงบางตัวมีอายุยืนถึง 17 ปี

การอนุกรมวิธาน

[แก้]

ปัจจุบัน พังพอนถูกอนุกรมวิธานไว้ทั้งสิ้น 33 ชนิด ใน 14 สกุล (ดูในเนื้อหา) กระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงตะวันออกกลาง, เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ พังพอนเล็ก หรือพังพอนธรรมดา (Herpestes javanicus) กับพังพอนกินปู หรือพังพอนยักษ์ (H. urva)

สกุลและชนิด

ชนิดที่สูญพันธุ์

[แก้]

Leptoplesictis Major, 1903[3]

  • L. atavus Beaumont, 1973
  • L. aurelianensis (Schlosser, 1888)
  • L. filholi Gaillard, 1899
  • L. mbitensis Schmidt-Kittler, 1987
  • L. namibiensis Morales et al., 2008
  • L. peignei, Grohé et al., 2020
  • L. rangwai Schmidt-Kittler, 1987
  • L. senutae Morales et al., 2008
 Herpestidae 
 Mungotinae 



 Helogale 

Helogale parvula (Common dwarf mongoose)



Helogale hirtula (Ethiopian dwarf mongoose)



 Dologale 

Dologale dybowskii (Pousargues's mongoose)



 Crossarchus 

Crossarchus alexandri (Alexander's kusimanse)



Crossarchus ansorgei (Angolan kusimanse)



Crossarchus platycephalus (Flat-headed kusimanse)



Crossarchus obscurus (Common kusimanse)





 Liberiictis 

Liberiictis kuhni (Liberian mongoose)


 Mungos 

Mungos gambianus (Gambian mongoose)



Mungos mungo (Banded mongoose)





 Suricata 

Suricata suricatta (เมียร์แคต)



 Herpestinae 




 Bdeogale 


Bdeogale jacksoni (Jackson's mongoose)



Bdeogale nigripes (Black-footed mongoose)




Bdeogale crassicauda (Bushy-tailed mongoose)



 Rhynchogale 

Rhynchogale melleri (Meller's mongoose)




 Paracynictis 

Paracynictis selousi (Selous's mongoose)


 Cynictis 

Cynictis penicillata (Yellow mongoose)




 Ichneumia 

Ichneumia albicauda (White-tailed mongoose)





"Herpestes" ichneumon (พังพอนอียิปต์)[4]


 Galerella 

Galerella sanguinea (พังพอนปลายดำ)



Galerella pulverulenta (พังพอนเล็กสีเทา)



Galerella ochracea (Somalian slender mongoose)



Galerella flavescens (Angolan slender mongoose)



Galerella nigrata (Black mongoose)







 Atilax 

Atilax paludinosus (Marsh mongoose)


 Xenogale [4]

Xenogale naso (Long-nosed mongoose)



 Herpestes 

Herpestes lemanensis





Herpestes brachyurus (Short-tailed mongoose)



Herpestes semitorquatus (Collared mongoose)




Herpestes urva (พังพอนกินปู)






Herpestes smithii (Ruddy mongoose)



Herpestes vitticollis (Stripe-necked mongoose)





Herpestes fuscus (Indian brown mongoose)




Herpestes edwardsi (พังพอนอินเดียสีเทา)



Herpestes javanicus (พังพอนเล็ก)










ความสัมพันธ์กับมนุษย์

[แก้]

ด้วยความที่พังพอนเป็นสัตว์ที่ปราดเปรียวว่องไว สามารถกำจัดสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ได้ พังพอนในบางพื้นที่จึงนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อให้กำจัดหนู ขณะที่อินเดีย นิยมมีการละเล่นให้พังพอนสู้กับงูเห่าหรืองูจงอาง[5] [6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. พังพอน น. ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 591
  2. วงศ์ Herpestidae
  3. Morales, J., Pickford, M. and Salesa, M.J. (2008). "Creodonta and Carnivora from the Early Miocene of the Northern Sperrgebiet, Namibia". Memoir of the Geological Survey of Namibia. 20: 291–310.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Patou2009
  5. [ลิงก์เสีย] พังพอน โดย จารุจินต์ นภีตะภัฏ
  6. Arch nemeses: King cobra and grey mongoose clash in classic battle, but who ends up as dinner? จากเดลิเมล์ (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Herpestidae ที่วิกิสปีชีส์