ซุนนี
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาอิสลาม |
---|
![]() |
|
ซุนนี (อาหรับ: سُنِّي, ภาษาไทยในอดีตเรียก สุหนี่[1])[a] เป็นนิกายที่มีขนาดใหญ่สุดในศาสนาอิสลามและนิกายที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก โดยมีมุมมองว่ามุฮัมมัดไม่ได้แต่งตั้งผู้สืบทอดคนใด และอะบูบักร์ (ค. 632 – 634) เศาะฮาบะฮ์ที่ใกล้ชิดที่สุด ขึนครองเป็นเคาะลีฟะฮ์ของชุมชนมุสลิมโดยชอบธรรม โดยได้รับการแต่งตั้งในการประชุมซะกีฟะฮ์ สิ่งนี้ตรงข้ามกับมุมมองชีอะฮ์ที่ถือว่ามุฮัมมัดแต่งตั้งอะลี อิบน์ อะบีฏอลิบ (ค. 656 – 661) เป็นผู้สืบทอด กระนั้น ซุนนีก็ยกย่องอะลีร่วมกับอะบูบักร์ อุมัร (ค. 634 – 644) และอุษมาน (ค. 644 – 656) ในฐานะ 'เคาะลีฟะฮ์ผู้ทรงธรรม'
คำว่า ซุนนี หมายถึงผู้ที่ทำตามซุนนะฮ์ หลักปฏิบัติของมุฮัมมัด อัลกุรอานร่วมกับฮะดีษ (โดยเฉพาะอัลกุตุบุสซิตตะฮ์) และอิจญ์มาอ์ (ฉันทามติทางวิชาการ) เป็นรากฐานของนิติศาสตร์แบบดั้งเดิมทั้งหมดในนิกายซุนนี คำวินิจฉัยตามกฎหมายชะรีอะฮ์ได้มาจากแหล่งข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ ร่วมกับการพิจารณาถึงสวัสดิการสาธารณะและการใช้ดุลยพินิจทางกฎหมาย โดยใช้หลักการนิติศาสตร์ที่พัฒนาโดยสำนักกฎหมาย 4 สำนัก ได้แก่ ฮะนะฟี ฮันบาลี มาลิกี และชาฟิอี
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ซุนนะฮ์
[แก้]คำว่าซุนนะฮ์ในภาษาอาหรับที่เป็นที่มาของคำว่าซุนนี[6][7] สืบไปถึงภาษาก่อนการมาของอิสลาม เคยใช้เรียก "แนวทางอันถูกต้องที่ติดตามไปเสมอ" (the right path that has always been followed)[8] คำนี้เพิ่มความสำคัญทางการเมืองมากขึ้นหลังการสังหารอุษมาน (ค. 644 – 656) เคาะลีฟะฮ์องค์ที่สาม กล่าวกันว่ามาลิก อัลอัชตัร ผู้ติดตามที่มีชื่อเสียงของอะลี ให้กำลังใจระหว่างการรบที่ศิฟฟีนด้วยคำพูดที่ว่า "มุอาวิยะฮ์ คู่แข่งทางการเมืองของอะลี สังหารซุนนะฮ์" หลังสงคราม จึงมีการยอมรับว่า "ซุนนะฮ์อันเที่ยงธรรม [คือ]การรวมเป็นหนึ่ง ไม่ใช่การแบ่งแยก" ("as-Sunna al-ʿādila al-ǧāmiʿa ġair al-mufarriqa") ควรปรึกษาหารือกันเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้ง ไม่มีใครทราบช่วงที่คำว่า ซุนนะฮ์ กลายเป็นรูปสั้นของ "ซุนนะฮ์ของท่านศาสดา" (ซุนนะตุนนะบี)[9] ในสมัยรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ ขบวนการทางการเมืองบางส่วน รวมถึงชีอะฮ์และเคาะวาริจญ์ ก่อกบฏต่อการสถาปนารัฐ พวกเขานำการสู้รบด้วยนาม "คัมภีร์ของอัลลอฮ์ (กุรอาน) และซุนนะฮ์ของท่านศาสดา"[10] ในช่วงสงครามกลางเมืองครั้งที่สอง (ค.ศ. 680–92) คำว่าซุนนะฮ์ได้รับความหมายที่วิพากษ์วิจารณ์หลักคำสอนของชีอะฮ์ (Tashayyu') บันทึกโดย Masrūq ibn al-Adschdaʿ (เสียชีวิตใน ค.ศ. 683) ซึ่งเป็นมุฟตีในกูฟะฮ์ จำเป็นต้องรักเคาะลีฟะฮ์สององค์แรก คือ อะบูบักร์ และอุมัร อิบน์ อัลค็อฏฏอบ และยอมรับความสำคัญของพวกเขา (Fadā'il) ash-Shaʿbī (เสียชีวิตช่วง ค.ศ. 721 ถึง 729) นักวิชาการผู้เป็นศิษย์ของ Masrūq ที่เข้าข้างชีอะฮ์ที่กูฟะฮ์ในช่วงสงครามกลางเมือง แต่กลับเปลี่ยนใจเพราะความคลั่งไคล้ของพวกเขา และในที่สุดก็ตัดสินใจเข้าร่วมกับอับดุลมะลิก เคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ผู้ทำให้แนวคิดซุนนะฮ์แพร่หลาย[11] นอกจากนั้น ash-Shaʿbī ยังถ่ายทอดให้เห็นว่าเขารู้สึกขุ่นเคืองต่อความเกลียดชังที่มีต่ออาอิชะฮ์ บินต์ อะบีบักร์ และถือว่าเป็นการละเมิดซุนนะฮ์[12]
การใช้คำว่า ซุนนะฮ์ แทนสำนวนยาวว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์ หรือ อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ เป็นชื่อกลุ่มของชาวซุนนี ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างใหม่ อาจเป็นอิบน์ ตัยมียะฮ์ที่ใช้คำย่อนี้เป็นครั้งแรก[13] ต่อมานักวิชาการอิสลามอย่างมุฮัมมัด เราะชีด ริฎอได้เผยแพร่ข้อความนี้ในศาสตรนิพนธ์ as-Sunna wa-š-šiʿa au al-Wahhābīya wa-r-Rāfiḍa: Ḥaqāʾiq dīnīya taʾrīḫīya iǧtimaʿīya iṣlaḥīya ("ซุนนะฮ์และชีอะฮ์ หรือลัทธิวะฮาบีย์และลัทธิรอฟิฎี: ประวัติศาสตร์ศาสนา ข้อเท็จจริงทางสังคมวิทยาและการปฏิรูป") ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1928–29[14] คำว่า ซุนนะฮ์ มักใช้ในบทสนทนาภาษาอาหรับเพื่อเรียกชาวมุสลิมนิกายซุนนี เมื่อพวกเขาต้องการเปรียบเทียบพวกเขากับชีอะฮ์ คำคู่ ซุนนะฮ์–ชีอะฮ์ ยังใช้ในวรรณกรรมวิจัยของตะวันตกเพื่อแสดงถึงความแตกต่างระหว่างซุนนี–ชีอะฮ์[15]
อะฮ์ลุสซุนนะฮ์
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
[แก้]การปรากฏของแนวคิดอะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ครั้งแรกนั้นชัดเจน ในพระบรมราชโองการมิห์นะฮ์ของอัลมะอ์มูน (ครองราชย์ ค.ศ. 813–33) เคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ ทรงวิจารณ์ถึงกลุ่มคนที่เชื่อมโยงตนเองเข้ากับซุนนะฮ์ (nasabū anfusa-hum ilā s-sunna) และอ้างว่าพวกเขาคือ "ประชาชาติแห่งความจริง ศาสนา และชุมชน" (ahl al-ḥaqq wa-d-dīn wa-l-jamāʿah)[16] คำว่าซุนนะฮ์และญะมาอะฮ์มีความเชื่อมโยงกันอยู่แล้ว คำศัพท์ในแบบรวมกันเหล่านี้ปรากฏให้เห็นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีบันทึกว่า Harb ibn Ismail as-Sirjdshani (เสียชีวิตใน ค.ศ. 893) ลูกศิษย์ของอะห์มัด อิบน์ ฮันบัล ได้ประพันธ์งานเขียนที่มีชื่อว่า อัสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ซึ่ง Abu al-Qasim al-Balchi นักมัวะอ์ตะซิละฮ์ ได้เขียนข้อโต้แย้งในภายหลัง[17] อัลญุบบาอี (เสียชีวิต ค.ศ. 916) กล่าวไว้ใน Kitāb al-Maqālāt ว่า อะห์มัด อิบน์ ฮันบัลได้ให้คำเรียกศิษย์ของเขาว่า ซุนนีญะมาอะฮ์ ("ชุมชนซุนนี").[18] ซึ่งบ่งชี้ว่าฝ่านฮันบะลีเป็นกลุ่มแรกที่ใช้วลี อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ เพื่อเรียกตนเอง[19]
ประวัติ
[แก้]
ความผิดพลาดทั่วไปประการหนึ่งคือการคิดว่าศาสนาอิสลามนิกายซุนนีเป็นศาสนาอิสลามเชิงบรรทัดฐานที่เกิดขึ้นในช่วงหลังการเสียชีวิตของศาสดามุฮัมมัด และศูฟีกับชีอะฮ์พัฒนามาจากอิสลามนิกายซุนนี[20] การรับรู้เช่นนี้เกิดจากการพึ่งพาแหล่งข้อมูลที่มีแนวคิดทางอุดมการณ์สูงซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นงานประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้ และเนื่องมาจากประชากรส่วนใหญ่นับถือนิกายซุนนี ทั้งซุนนีและชีอะฮ์ล้วนเป็นผลจากการแข่งขันระหว่างอุดมการณ์หลายศตวรรษ นิกายทั้งสองใช้ข้อมูลซึ่งกันและกันเพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์และหลักคำสอนของตนเอง[21]
เคาะลีฟะฮ์สี่องค์แรกเป็นที่รู้จักในบรรดาซุนนีเป็น รอชิดูน หรือ "ผู้ทรงธรรม" ซุนนียอมรัให้อะบูบักร์เป็นคนแรก อุมัรคนที่สอง อุษมานคนที่สาม และอะลีคนที่สี่[22][23][24][22][25] ชาวซุนนียอมรับผู้ปกครองที่แตกต่างกันว่าเป็นเคาะลีฟะฮ์ แม้ว่าพวกเขาจะแทบไม่เคยรวมใครไว้ในรายชื่อผู้ได้รับการชี้นำอย่างถูกต้องหรือ รอชิดูน หลังจากการฆาตกรรมอะลี[26] จนกระทั่งระบอบเคาะลีฟะฮ์ถูกยุบเลิกในประเทศตุรกีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 1924
การเปลี่ยนผ่านรัฐเคาะลีฟะฮ์ไปเป็นราชาธิปไตยแบบราชวงศ์ของบะนูอุมัยยะฮ์
[แก้]ในสมัยการปกครองของยะซีด บินมุอาวิยะฮ์ ฟิกฮ์ คำสั่งสอนแห่งอัลกุรอานและแห่งศาสนทูตถูกละทิ้ง ชาวมะดีนะฮ์ผู้เคร่งครัดถูกได้รับความกดดันจากตระกูลอุมัยยะฮ์ผู้ปกครองอาณาจักรอิสลาม และภายใต้ความกดดันนั้นได้เกิดหล่อหลอมเป็นกลุ่มผู้ยึดมั่นในแนวทางอิสลามแบบเดิม เพื่อต่อต้านตระกูลอุมัยยะฮ์ โดยเฉพาะหลังจากที่กองทัพจากชาม ในสมัยการปกครองของยะซีด บินมุอาวิยะฮ์ฟิกฮ์ ได้สังหารฮุเซน หลานตาศาสนทูตมุฮัมมัด (ศ) พร้อมกับญาติพี่น้อง ที่กัรบะลาอ์ 73 คนในปี ค.ศ. 680 และต่อมาในปี ค.ศ. 683 ยะซีดส่งกองทัพเพื่อโจมตีพระนครมะดีนะฮ์ที่อับดุลลอฮ์ บินอุมัร อิบนุลคอฏฏอบ เป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของยะซีด และโจมตีมักกะฮ์ ที่อับดุลลอฮ์ อินนุซซุเบรสถาปนาตนเองเป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งอาณาจักรอิสลาม ชาวเมืองมะดีนะฮ์ร่วมกันออกต้านทัพของยะซีด ที่นำโดยอุกบะหฟิกฮ์ ณ สถานที่ที่มืชื่อว่า อัลฮัรเราะฮ์ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จนกองทัพของยะซีดสามารถเข้าปล้นสะดมเมืองมะดีนะฮ์ เป็นเวลาสามวันสามคืนตามคำสั่งของยะซีด ทหารชาม เข่นฆ่าผู้คน และข่มขืนสตรี จนกระทั่งมีผู้คนล้มตายประมาณ 10,000 คน ในจำนวนนั้นมีบุคคลสำคัญ 700 คน นอกจากนั้นมีผู้หญิงตั้งท้องเนื่องจากถูกข่มขืนชำเราอีก 500 คน หลังจากนั้นกองทัพชามก็มุ่งสู่มักกะฮ์เพื่อปราบปรามอิบนุซซุเบร โดยเข้าเผากะอ์บะฮ์ และเข่นฆ่าผู้คน ประชาชนชาวมุสลิมต่อต้านการปกครองตลอดมา แต่แล้วในปี ค.ศ. 692 อับดุลมะลิก บินมัรวานก็ส่ง ฮัจญาจญ์ บินยูสุฟ อัษษะกอฟี มาโจมตีมักกะฮ์อีกครั้ง ครั้งนี้อับดุลลอฮ์ อิบนุซซุเบร ถูกสังหารและศพถูกตรึงที่ไม้ ปักไว้หน้ากะอ์บะฮ์ ส่วนกะอ์บะฮ์ก็ถูกทำลาย
ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนในอาณาจักรอิสลามแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มชนใหญ่ ๆ พวกที่ฝักใฝ่ทางโลกก็สนับสนุนการปกครองของตระกูลอุมัยยะฮ์ พวกที่ต่อต้านการปกครองระบอบเคาะลีฟะฮ์ ยึดถือบุตรหลานศาสนทูตเป็นผู้นำก็คือพวกชีอะฮ์ พวกที่เชื่อว่าบรรดาสาวกคือผู้นำและสานต่อสาส์นแห่งอิสลามหลังจากท่านนบีมุฮัมมัด (ศ) พวกนี้คือ อะฮ์ลุสซุนนะฮ์ ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ได้มีการบัญญัติศัพท์นี้ เพราะคำว่า ซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ถูกบัญญัติขึ้นมาจริง ๆ โดยอะฮ์มัด บินฮันบัล (ค.ศ. 780-855 / ฮ.ศ.164-241) นอกจากนี้ยังมีพวกคอวาริจญ์ ที่เป็นกบฏและแยกตัวออกจากอำนาจการปกครองของอิมามอะลี เมื่อครั้งที่เป็นเคาะลีฟะฮ์ที่ 4
ในฮิจญ์เราะหฟิกฮ์ศตวรรษที่ 3 และที่ 4 ได้มีการรวบรวมฮะดีษขึ้นมา จัดเป็นอนุกรมและหมวดหมู่ เรียกในภาษาไทยว่า พระวจนานุกรม ในสายอะฮ์ลุสซุนนะฮ์ มีมากกว่า 10 พระวจนานุกรม ที่สำคัญคือ 6 พระวจนานุกรม ที่ผู้รวบรวมโดยอัลบุคอรี, มุสลิม, อัตตัรมีซี, อะบูดาวูด, อิบนุมาญะฮ์ และอันนะซาอี นอกจากนี้ยังมีพระวจนานุกรมที่รวบรวมโดย มาลิก บินอะนัส (เจ้าสำนักมาลิกีย์) , อะฮหมัด บินฮันบัล (เจ้าสำนักฮันบะลีย์), อิบนุคุซัยมะฮ์, อิบนุฮิบบาน และอับดุรรอซซาก ในยุคหลังนี้ได้มีการตรวจสอบสายรายงานอย่างถี่ถ้วน พระวจนานุกรมอัลบุคอรีและมุสลิมได้รับการยอมรับมากที่สุดในสังคมมุสลิมซุนนี
ผู้นับถือ
[แก้]
ซุนนีเชื่อว่าผู้ติดตามของมุฮัมมัดเป็นผู้ส่งสารที่เชื่อถือได้ของศาสนาอิสลาม เนื่องจากอัลลอฮ์และมุฮัมมัดยอมรับความซื่อสัตย์ของพวกเขา แหล่งข้อมูลสมัยกลางถึงขั้นห้ามไม่ให้สาปแช่งหรือใส่ร้ายพวกเขาด้วยซ้ำ[28] ความเชื่อนี้มาจากธรรมเนียมของศาสดา เช่น สายรายงานจากอับดุลลอฮ์ อิบน์ มัสอูดระบุว่า มุฮัมมัดกล่าวว่า: "กลุ่มชนที่ดีที่สุดได้แก่รุ่นของฉัน ถัดไปก็เป็นพวกที่มาภายหลังพวกเขา ถัดไปก็เป็นพวกที่มาภายหลังพวกเขา" ตามคำกล่าวของชาวซุนนี การสนับสนุนมุมมองนี้ยังพบได้ในอัลกุรอาน[29] ดังนั้น สายรายงานของผู้ติดตามจึงได้รับการพิจารณาอย่างน่าเชื่อถือสำหรับความรู้เกี่ยวกับศรัทธาอิสลาม ชาวซุนนียังเชื่อว่าผู้ติดตามเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง เนื่องจากผู้ติดตามเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้รวบรวมคัมภีร์อัลกุรอาน
อิสลามนิกายซุนนีไม่มีลำดับชั้นอย่างเป็นทางการ ผู้นำอยู่ในรูปแบบไม่เป็นทางการ และได้รับอิทธิพลจากการศึกษาจนกลายเป็นนักวิชาการด้านกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮ์) หรือเทววิทยาอิสลาม (กะลาม) ผู้นำทั้งด้านศาสนาและการเมืองล้วนเปิดกว้างสำหรับมุสลิมทุกคน[30] ตามข้อมูลของศูนย์อิสลามแห่งโคลัมเบีย รัฐเซาท์แคโรไลนา ใครก็ตามที่มีสติปัญญาและความตั้งใจสามารถเป็นนักวิชาการอิสลามได้ ในระหว่างพิธีละหมาดเที่ยงวันในวันศุกร์ ผู้เข้าร่วมพิธีจะเลือกบุคคลที่มีการศึกษาดีเป็นผู้นำพิธี ซึ่งเรียกว่าเคาะฏีบ (ผู้พูด)[31]
การศึกษาวิจัยที่ดำเนินการโดย Pew Research Center ใน ค.ศ. 2010 และเผยแพร่เดือนมกราคม ค.ศ. 2011[32] พบว่ามีมุสลิมประมาณ 1.62 พันล้านคนทั่วโลก และประมาณกว่าร้อยละ 85–90 นับถือนิกายซุนนี[33]
สำนักหรือทัศนะนิติศาสตร์อิสลาม
[แก้]ชะรีอะฮ์ (شريعة) หรือนิติบัญญัติอิสลามตามทัศนะของซุนนีนั้น มีพื้นฐานมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ (อิจย์มาอ์) มติฉันท์ของเหล่าผู้รู้ และกิยาส (การเปรียบเทียบกับบทบัญญัติที่มีอยู่แล้ว) นิกายซุนนีมีในอดีตมี 17 สำนัก แต่ได้สูญหายไปกับกาลเวลา ในปัจจุบันนิกายซุนนีมี 4 สำนัก ที่เป็นสำนักเกี่ยวกับฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ได้แก่
- ฮะนะฟี (ทัศนะของอะบูฮะนีฟะหฟิกฮ์ นุอฟิกฮ์มาน บินษาบิต) -
- มาลีกี (ทัศนะของมาลิก บินอะนัส)
- ชาฟีอี (ทัศนะของมุฮัมมัดมัด บินอิดริส อัชชาฟิอีย์) - ผู้ที่ยึดถือทัศนะนี้คือ คนส่วนใหญ่ในไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
- ฮันบะลี (ทัศนะของท่านอะฮ์มัด บินฮันบัล)
ปัจจุบันมีอีกกลุ่มที่สำคัญคือ กลุ่มที่ไม่ได้ยึดถือหรือสังกัดตนอยู่ใน 4 กลุ่มข้างต้น แต่การวินิจฉัยหลักการศาสนาจะใช้วิธีศึกษาทัศนะของทั้ง 4 กลุ่มแล้ววิเคราะห์ดูว่าทัศนะใดที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากที่สุด โดยยึดอัลกุรอานและซุนนะฮฟิกฮ์เป็นธรรมนูญสำคัญในการวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ ในศาสนา
สำนักหรือทัศนะเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา)
[แก้]นอกจากนี้ยังมีสำนักเกี่ยวกับอุศูลุดดีน (ปรัชญาศาสนา) อีกหลายสำนัก ที่สำคัญได้แก่ 4 สำนักคือ
- สำนักมุอ์ตะซิละฮ์ (معتزلة) จัดตั้งขึ้นโดยวาศิล บินอะฏออ์ (ค.ศ. 699-749) ศิษย์ที่มีความคิดแตกต่างจากฮะซัน อัลบัศรี (ค.ศ. 642-728) ผู้เป็นอาจารย์
- สำนักอัชอะรี มาจากแนวคิดของอะบุลฮะซัน อัลอัชชะรี (ค.ศ. 873-935) แต่ผู้ที่พัฒนาแนวคิดนี้ คือ อัลฆอซาลี นักวิชาการศาสนาและปรมาจารย์ศูฟีย์
- สำนักมาตุรีดี เป็นทัศนะของอะบูมันศูร อัลมาตุรีดี (มรณะ ค.ศ. 944) ในตอนแรกเป็นสำนักปรัชญาของชนกลุ่มน้อย ต่อมาเมื่อเป็นที่ยอมรับของเผ่พันธุ์เติร์ก และพวกออตโตมานมีอำนาจ ก็ได้ทำให้สำนักนี้แพร่หลายในเอเชียกลาง
- สำนักอะษะรี เป็นทัศนะของอะฮ์มัด บินฮันบัล ผู้เป็นเจ้าสำนักฟิกฮ์ดังกล่าวมาแล้ว
หากมุอฟิกฮ์ตะซิละหฟิกฮ์แยกตัวออกจากสำนักของฮะซัน อัลบัศรี ย่อมแสดงว่าก่อนหน้านั้นต้องมีสำนักปรัชญามาก่อนแล้ว ฮะซัน อัลบัศรี เองก็มีแนวคิดของตนเช่นกัน นั่นก็เพราะ ฮะซัน อัลบัศรี เป็นปรมาจารย์ของสำนักศูฟีที่ภายหลังแตกขยายเป็นหลายสาย
ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ระหว่างปี ค.ศ. 661 ถึงปี ค.ศ. 750 ผู้คงแก่เรียนอิสลามเน้นการศึกษาที่เกี่ยวกับอัลกุรอาน แต่ราชวงศ์อับบาซียะฮ์ที่ตามมาสนับสนุนการศึกษาของกรีกและมนุษย์วิทยาตามแนวคิดของตระกูลปรัชญามุอ์ตะซีลี (Mu'tazili) ของอิสลาม ตระกูลความคิดนี้ก่อตั้งขึ้นในบาสราโดยวะศีล อิบุน อะฏอ (واصل بن عطاء - Wasil ibn Ata) (ค.ศ. 700–ค.ศ. 748) ที่อยู่บนพื้นฐานที่ว่าอัลกุรอานมาจากอัลลอฮ์และอัลลอฮฺมีพระประสงค์อย่างเดียวคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ ปรัชญานี้ไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยตระกูลปรัชญาอัชชาริยยะห์ (الأشاعرة - Ash'ariyyah) และ อาษาริยยะห์ (Athariyyah) ซึ่งเป็นตระกูลปรัชญาของซุนนีย์
ดังนั้น “ประตูแห่งอิญฏีหะ” (Gates of Ijtihad (اجتهاد) ) จึงเปิดขึ้นที่ทำให้เกิดการโต้แย้งกันภายในแวดวงระหว่างความคิดของปรัชญาตระกูลต่างๆ ของอิสลาม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สุหนี่". พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร.
- ↑ John Richard Thackrah (2013). Dictionary of Terrorism (2, revised ed.). Routledge. p. 252. ISBN 978-1135165956.
- ↑ Nasir, Jamal J., บ.ก. (2009). The Status of Women Under Islamic Law and Modern Islamic Legislation (revised ed.). Brill. p. 11. ISBN 978-9004172739.
- ↑ George W. Braswell (2000). What You Need to Know about Islam & Muslims (illustrated ed.). B&H Publishing Group. p. 62. ISBN 978-0805418293.
- ↑ Burton, John (1996). An Introduction to the Hadith. Edinburgh University Press. p. 201
- ↑ John L. Esposito, บ.ก. (2014). "Sunni Islam". The Oxford Dictionary of Islam. Oxford: Oxford University Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2010.
- ↑ Bialik, Carl (9 April 2008). "Muslims May Have Overtaken Catholics a While Ago". The Wall Street Journal (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.
- ↑ Ess, Josef van (2011). Der Eine und das Andere (ภาษาเยอรมัน). Vol. II. p. 1271 – โดยทาง Google Books.
- ↑ Ess, Josef van (2011). Der Eine und das Andere (ภาษาเยอรมัน). Vol. II. p. 1272.
- ↑ Crone, Patricia; Hinds, Martin (1986). God's Caliph. Religious authority in the first centuries of Islam. Cambridge University Press. pp. 59–61.
- ↑ Abū Yūsuf Yaʿqūb ibn Sufyān al-Fasawī: Kitāb al-Maʿrifa wa-t-tārīḫ. Ed. Akram Ḍiyāʾ al-ʿUmarī. 3 Bde. Bagdad: Maṭbaʿat Aršād 1975. Bd. II, p. 813. Digitalisat.
- ↑ aḏ-Ḏahabī, Šams ad-Dīn (1996). Siyar aʿlām an-nubalāʾ. Vol. IV (11th ed.). Beirut: Muʾassasat ar-Risāla. p. 300 – โดยทาง Internet Archive.
- ↑ Ibn Taimīya: Minhāǧ as-sunna an-nabawīya. Ed. Muḥammad Rašād Sālim. Ǧamiʿat al-Imām Muḥammad Ibn-Saʿid, Riad, 1986. Bd. II, S. 221, 224. Digitalisat
- ↑ Muḥammad Rašīd Riḍā: as Sunna wa-š-šiʿa au al-Wahhābīya wa-r-Rāfiḍa: Ḥaqāʾiq dīnīya taʾrīḫīya iǧtimaʿīya iṣlaḥīya. Kairo 1928/29. Digitalisat Wikisource
- ↑ So zum Beispiel bei Mohammad Heidari-Abkenar: Die ideologische und politische Konfrontation Schia-Sunna: am Beispiel der Stadt Rey des 10. – 12. Jh. n. Chr. Inaugural-Dissertation Köln 1992 und Ofra Bengo und Meir Litvak: The Sunna and Shi'a in history. Division and ecumenism in the Muslim Middle East. 1. Aufl. Palgrave Macmillan, New York, 2011.
- ↑ Abū Jaʿfar Muḥammad b. Jarīr aṭ-Ṭabarī: Taʾrīḫ ar-rusul wa-l-mulūk. Hrsg. von M. J. de Goeje. Brill, Leiden, 1879–1901. Bd. III, S. 1114, Zeile 4–8 Digitalisat เก็บถาวร 27 เมษายน 2023 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน und Ess: Der Eine und das Andere. 2011, Bd. II, S. 1278.
- ↑ Vgl. Yāqūt ar-Rūmī: Muʿǧam al-Buldān Ed. F. Wüstenfeld. Brockhaus, Leipzig, 1866–1870. Bd. III, S. 213f. Digitalisat เก็บถาวร 28 เมษายน 2023 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน und van Ess: Der Eine und das Andere. 2011, S. 332. (german)
- ↑ Ess: Der Eine und das Andere. 2011, Bd. II, S. 1273f.
- ↑ Ess: Der Eine und das Andere. 2011, Bd. II, S. 1276.
- ↑ Hughes, Aaron (2013). Muslim Identities: An Introduction to Islam. Columbia University Press. p. 115. ISBN 978-0231531924.
It is a mistake to assume, as is frequently done, that Sunni Islam emerged as normative from the chaotic period following Muhammad's death and that the other two movements simply developed out of it. This assumption is based in... the taking of later and often highly ideological sources as accurate historical portrayals – and in part on the fact that the overwhelming majority of Muslims throughout the world follows now what emerged as Sunni Islam in the early period.
- ↑ Hughes, Aaron (2013). Muslim Identities: An Introduction to Islam. Columbia University Press. p. 116. ISBN 978-0231531924.
Each of these sectarian movements... used the other to define itself more clearly and in the process to articulate its doctrinal contents and rituals.
- ↑ 22.0 22.1 Tayeb El-Hibri, Maysam J. al Faruqi (2004). "Sunni Islam". ใน Philip Mattar (บ.ก.). The Encyclopedia of the Modern Middle East and North Africa (Second ed.). MacMillan Reference.
- ↑ Fitzpatrick, Coeli; Walker, Adam Hani (2014). Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God [2 volumes]. ABC-CLIO. p. 3. ISBN 978-1610691789.
- ↑ Madelung, Wilferd (1997). The Succession to Muhammad. Cambridge University Press. p. xi. ISBN 0521646960.
- ↑ Tore Kjeilen. "Lexic Orient.com". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-05. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
- ↑ Jafri, Syed Husain Mohammad (27 August 1976). The Origins and Early Development of Shi'a Islam (Millennium (Series)) (The Millennium (Series).). Karachi, Pakistan: Oxford University Press (First Published By Longman Group Ltd and Librairie du Liban 1979). pp. 19–21. ISBN 978-0195793871.
The Shi'a unequivocally take the word in the meaning of leader, master and patron and therefore the explicitly nominated successor of the Prophet. The Sunnis, on the other hand, interpret the word mawla in the meaning of a friend or the nearest kin and confidant.
- ↑ แหล่งที่มาของจำนวนนี้คือ CIA World Factbook การแบ่งสัดส่วนชาวชีอะฮ์/ซุนนีที่รวบรวมจากแหล่งอื่น ชีอะฮ์อาจแสดงไม่เพียงพอในบางประเทศที่พวกเขาไม่ได้ปรากฏในสถิติทางการ
- ↑ Coeli Fitzpatrick Ph.D., Adam Hani Walker Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God [2 volumes] ABC-CLIO, 2014 ISBN 978-1610691789 pp. 106–107
- ↑ อัลกุรอาน 9:100
- ↑ Simone Chambers, Peter Nosco Dissent on Core Beliefs: Religious and Secular Perspectives Cambridge University Press, 2015 ISBN 978-1107101524 p. 138
- ↑ Masjid al-Muslimiin. "Organizational Structure Of Islam". The Islamic Center of Columbia (South Carolina). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-01. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
- ↑ "Region: Middle East-North Africa". The Future of the Global Muslim Population – Executive Summary. Pew Research Center. 2011-01-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-03-09. สืบค้นเมื่อ 3 April 2013.
- ↑ See:
- Eastern Europe Russia and Central Asia "some 80% of the worlds Muslims are Sunni"
- "Religions". The World Factbook. Central Intelligence Agency (CIA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 March 2010. สืบค้นเมื่อ 25 August 2010.
Sunni Islam accounts for over 75% of the world's Muslim population
- Sue Hellett;U.S. should focus on sanctions against Iran "Sunnis make up over 75 percent of the world's Muslim population"
- Iran, Israel and the United States "Sunni, accounts for over 75% of the Islamic population"
- A dictionary of modern politics "probably 80% of the worlds Muslims are Sunni"
- "Mapping the Global Muslim Population: A Report on the Size and Distribution of the World's Muslim Population". Pew Research Center. October 7, 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ Aug 27, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
Of the total Muslim population, 10–13% are Shia Muslims and 87–90% are Sunni Muslims.
- "Sunnis and Shia: Islam's ancient schism". BBC News. 4 January 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ Jan 9, 2024. สืบค้นเมื่อ Jan 19, 2024.
The great majority of the world's more than 1.5 billion Muslims are Sunnis - estimates suggest the figure is somewhere between 85% and 90%.
- Grossman, Cathy Lynn (2007-09-24). "Tension between Sunnis, Shiites emerging in USA". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-10. สืบค้นเมื่อ January 22, 2019.
Among the world's estimated 1.4 billion Muslims, about 85% are Sunni and about 15% are Shiite.
- Sunni Islam: Oxford Bibliographies Online Research Guide "Sunni Islam is the dominant division of the global Muslim community, and throughout history it has made up a substantial majority (85 to 90 percent) of that community."
หมายเหตุ
[แก้]อ่านเพิ่ม
[แก้]- Ahmed, Khaled. Sectarian war: Pakistan's Sunni-Shia violence and its links to the Middle East (Oxford University Press, 2011).
- Charles River Editors. The History of the Sunni and Shia Split: Understanding the Divisions within Islam (2010) 44pp excerpt; brief introduction.
- Farooqi, Mudassir, Sarwar Mehmood Azhar, and Rubeena Tashfeen. "Jihadist Organizations History and Analysis." Journal of Social, Political, and Economic Studies 43.1/2 (2018): 142–151. online
- Gesink, Indira Falk. Islamic reform and conservatism: Al-Azhar and the evolution of modern Sunni Islam (Tauris Academic Studies, 2010)
- Haddad, Fanar. Understanding 'Sectarianism': Sunni-Shi'a Relations in the Modern Arab World (Oxford UP, 2020).
- Haddad, Fanar. "Anti-Sunnism and anti-Shiism: Minorities, majorities and the question of equivalence." Mediterranean Politics (2020): 1–7 online[ลิงก์เสีย].
- Halverson, Jeffry. Theology and creed in Sunni Islam: the Muslim Brotherhood, Ash'arism, and political Sunnism (Springer, 2010).
- Hazleton, Lesley. After the prophet: the epic story of the Shia-Sunni split in Islam (Anchor, 2010).
- Kamolnick, Paul. The Al-Qaeda Organization and the Islamic State Organization: History, Doctrine, Modus, Operandi, and US Policy to Degrade and Defeat Terrorism Conducted in the Name of Sunni Islam (Strategic Studies Institute, United States Army War College, 2017) online.
- Khaddour, Kheder. Localism, War, and the Fragmentation of Sunni Islam in Syria (Carnegie Endowment for International Peace., 2019) online.
- McHugo, John. A Concise History of Sunnis and Shi'is (2018) excerpt
- Nuruzzaman, Mohammed. "Conflicts in Sunni Political Islam and Their Implications." Strategic Analysis 41.3 (2017): 285–296 online[ลิงก์เสีย].
- Nydell, Margaret K. Understanding Arabs: A guide for modern times (3rd ed. Hachette UK, 2018).
- Patler, Nicholas (2017). From Mecca to Selma: Malcolm X, Islam, and the Journey Into the American Civil Rights Movement. The Islamic Monthly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2022. สืบค้นเมื่อ 4 April 2017.
- Tezcan, Baki. "The Disenchantment of Sufism, the Rationalization of Sunni Islam, and Early Modernity." Journal of the Ottoman and Turkish Studies Association 7.1 (2020): 67–69 online.
- Wheeler, Branon. Applying the Canon in Islam: The Authorization and Maintenance of Interpretive Reasoning in Ḥanafī Scholarship, SUNY Press, 1996.
. สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). 1911.
ออนไลน์
[แก้]- Sunni: Islam, in Encyclopædia Britannica Online, by The Editors of Encyclopædia Britannica, Asma Afsaruddin, Yamini Chauhan, Aakanksha Gaur, Gloria Lotha, Matt Stefon, Noah Tesch and Adam Zeidan
- อิสลาม.in.th : เพื่อความเข้าใจอิสลาม และมุสลิม เก็บถาวร 2009-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน