ละองละมั่ง
ละองละมั่ง | |
---|---|
![]() | |
เขาของละอง | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Artiodactyla |
วงศ์: | Cervidae |
วงศ์ย่อย: | Cervinae |
สกุล: | Panolia |
สปีชีส์: | P. eldii |
ชื่อทวินาม | |
Panolia eldii (M'Clelland, 1842) | |
ชนิดย่อย | |
ชื่อพ้อง | |
|
ละองละมั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Panolia eldii)[2] เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ขนหยาบและยาว ในฤดูหนาวขนจะยาวมาก แต่จะร่วงหล่นจนดูสั้นลงมากในช่วงฤดูร้อน
ในตัวผู้จะเรียกว่า ละอง ตัวเมียซึ่งไม่มีเขาจะเรียกว่า ละมั่ง แต่จะนิยมเรียกคู่กัน สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากภาษาเขมรคำว่า "รมัง" (រមាំង[3]) ละองตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนแผงคอที่ยาว ลูกแรกเกิดจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่รอบตัว และจุดนี้จะจางหายเมื่ออายุมากขึ้น ขอบตาและริมฝีปากล่างมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 150–170 เซนติเมตร ความยาวหาง 220–250 เซนติเมตร น้ำหนัก 95–150 กิโลกรัม
ถูกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย[1] ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดได้แก่
- ละองละมั่งพันธุ์ไทย หรือ ละองละมั่งอินโดจีน (P. e. siamensis) มีลักษณะสีขนอย่างที่กล่าวข้างต้น เขาจะโค้งขึ้น กางออกแล้วโค้งไปข้างหน้าคล้ายตะขอ ปลายเขาจะแตกออกเป็นแขนงเล็ก ๆ มีการกระจายพันธุ์อยู่ที่ภาคอีสานตอนใต้ของไทย ลาว กัมพูชาและเวียดนาม สถานะปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้วจากธรรมชาติของไทย[4]
- ละองละมั่งพันธุ์พม่า หรือ ทมิน ในภาษาพม่า (P. e. thamin) มีหน้าตาคล้ายละองละมั่งพันธุ์ไทย แต่สีขนจะออกสีน้ำตาลเหลือง กิ่งปลายเขาจะไม่แตกแขนงเท่าละองละมั่งพันธุ์ไทย พบกระจายพันธุ์อยู่ที่ตะเข็บชายแดนระหว่างไทยกับพม่า แถบเทือกเขาตะนาวศรี
- ซันไก (P. e. eldii) พบในรัฐมณีปุระทางตะวันออกของอินเดียติดกับพม่า ถือเป็นชนิดต้นแบบของละองละมั่ง[3]
ละองละมั่ง จะอาศัยและหากินในทุ่งหญ้าโปร่ง ไม่สามารถอยู่ในป่ารกชัฏได้ เนื่องจากเขาจะไปติดกับกิ่งไม้เหมือนสมัน (Rucervus schomburgki) อาหารหลักได้แก่ หญ้า ยอดไม้ และผลไม้ป่าต่าง ๆ เป็นสัตว์ที่ชอบรวมฝูง ในอดีตอาจพบได้มากถึง 50 ตัว บางครั้งอาจเข้าไปหากินและรวมฝูงกับสัตว์ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่า อย่าง วัวแดง (Bos javanicus) หรือ กระทิง (B. gaurus) เพื่อพึ่งสัตว์เหล่านี้ในความปลอดภัย มีฤดูผสมพันธุ์ช่วงเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน ตั้งท้องนาน 8 เดือน สถานภาพปัจจุบันเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์แล้ว และเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ละองละมั่งที่พบในธรรมชาติ ปัจจุบันนี้ ส่วนมาก เกิดจากการเพาะขยายพันธุ์โดยมนุษย์
ในกลางปี พ.ศ. 2554 ในประเทศไทย โดยองค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประสบความสำเร็จในการผลิตละองละมั่งในหลอดแก้วเป็นครั้งแรกในโลก โดยแม่ละมั่งที่รับอุ้มท้องได้ตกลูกออกมาเป็นเพศเมียเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ปีเดียวกัน ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี โดยเป็นละองละมั่งพันธุ์พม่า[5] [6]
ในปลายปี พ.ศ. 2557 ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ละองละมั่งพันธุ์พม่าได้ตกออกมาพร้อมกันทั้งหมด 10 ตัว ทำให้จากเดิมที่เคยมีละองละมั่งพันธุ์ไทย 62 ตัว เพิ่มเป็น 72 ตัว นับเป็นสถานที่ ๆ มีละองละมั่งพันธุ์ไทยมากที่สุด [4]
คลังภาพ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 Timmins, R.J. & Duckworth, J.W. (2008). "Rucervus eldii เก็บถาวร 2010-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4. International Union for Conservation of Nature. Retrieved 10 March 2011.
- ↑ Pitraa, Fickela, Meijaard, Groves (2004). Evolution and phylogeny of old world deer. Molecular Phylogenetics and Evolution 33: 880–895.
- ↑ 3.0 3.1 "ละอง หรือ ละมั่ง". สืบค้นเมื่อ 9 December 2014.
- ↑ 4.0 4.1 หน้า 16 เกษตร-สัตว์เลี้ยง, สมาชิกใหม่ 'ละมุ่งพันธุ์ไทย' วันเดียวเพิ่ม 10 ตัวที่สวนสัตว์เชียงใหม่. คมชัดลึก ปีที่ 14 ฉบับที่ 4796: วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557
- ↑ [https://web.archive.org/web/20160304221034/http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dPVEF6TVRJMU5BPT0= เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ละมั่งหลอดแก้ว จากข่าวสด]
- ↑ "ละอง, ละมั่ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-01. สืบค้นเมื่อ 2010-01-08.
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ละองละมั่ง |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Panolia eldii ที่วิกิสปีชีส์