สุเมา
สุเมา (ชือ จฺว่าน) | |
---|---|
師纂 | |
ข้าหลวงมณฑลเอ๊กจิ๋ว (益州刺史 อี้โจวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 263 – ค.ศ. 264 | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
นายกองพัน (司馬 ซือหม่า) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 262 – ค.ศ. 263 | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
นายทะเบียน (主簿 จู่ปู้) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 262 | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | มีนาคม ค.ศ. 264 นครเหมียนจู๋ มณฑลเสฉวน |
อาชีพ | นายทหาร |
สุเมา[a], สูกี๋[b], สูเป๋า[c] หรือ สุม่อ[d] (เสียชีวิต มีนาคม ค.ศ. 264) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ชือ จฺว่าน (จีน: 師纂; พินอิน: Shī Zuǎn) เป็นนายทหารของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]สุเมาเดิมรับราชการเป็นนายทะเบียน (主簿 จู่ปู้) ของสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งรัฐวุยก๊ก ก่อนการยกทัพพิชิตจ๊กก๊ก เนื่องด้วยเตงงายขุนพลจ๊กก๊กคัดค้านการโจมตีจ๊กก๊ก สุมาเจียวจึงโยกย้ายให้สุเมาให้มาเป็นนายกองพัน (司馬 ซือหม่า) ของเตงงายเพื่อโน้มน้าวเตงงาย[14]
การพิชิตจ๊กก๊กของวุยก๊ก
[แก้]ในปี ค.ศ. 263 เตงงายส่งเตงต๋ง (鄧忠 เติ้ง จง) บุตรชายพร้อมด้วยสุเมาให้นำกำลังทหารจากทางซ้ายขวาสองด้านเข้าโจมตีทัพของรัฐจ๊กก๊กที่นำโดยจูกัดเจี๋ยมขุนพลของจ๊กก๊ก ทัพวุยก๊กพ่ายแพ้ เตงงายโกรธมากจึงคาดโทษประหารชีวิตกับเตงต๋งและสุเมาไว้ แล้วสั่งให้ทั้งคู่ออกรบอีกครั้งเพื่อทำความชอบหักลบกับความผิดพลาด ผลปรากฏว่าเตงต๋งและสุเมาตีทัพจ๊กก๊กแตกพ่าย สังหารจูกัดเจี๋ยมตลอดจนถึงเตียวจุ๋น (張遵 จาง จุน), หฺวาง ฉง (黃崇), หลี่ ฉิว (李球) และคนอื่น ๆ[15] ทัพวุยก๊กยึดได้กิมก๊ก (綿竹 เหมียนจู๋) และมุ่งเข้าสู่เซงโต๋ (成都 เฉิงตู) นครหลวงของรัฐจ๊กก๊กในทันที หลังการล่มสลายของรัฐจ๊กก๊ก เตงงายแต่งตั้งให้สุเมาเป็นข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลเอ๊กจิ๋ว ตั้งให้คันห่องและคนอื่น ๆ ทำหน้าที่กำกับดูแลเมืองต่าง ๆ ที่เดิมอยู่ในรัฐจ๊กก๊ก[16] จงโฮย, เฮาเหลก, สุเมา และคนอื่น ๆ ร่วมกันลอบรายงานต่อสุมาเจียวว่าเตงงายมีใจกำเริบจากความสำเร็จในการพิชิตจ๊กก๊กและต้องการจะก่อกบฏ สุมาเจียวจึงสั่งให้จงโฮยจับตัวเตงงายใส่รถนักโทษและคุมตัวกลับมาราชสำนัก[17]
ผลสืบเนื่องจากการก่อกบฏของจงโฮย
[แก้]ในปี ค.ศ. 264 จงโฮยและเกียงอุยก่อกบฏต่อสุมาเจียวแต่ไม่สำเร็จและเสียชีวิต อุยก๋วน (衛瓘 เว่ย์ กว้าน) ขุนพลวุยก๊กเห็นว่าตนและจงโฮยเคยร่วมกันใส่ร้ายเตงงาย จึงกังวลว่าจะเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น อุยก๋วนจึงส่งเตนซก (田續 เถียน ซฺวี่) และคนอื่น ๆ ไปโจมตีเตงงายที่กำลังอยู่ระหว่างถูกคุมตัวไป เตนซกและคนอื่น ๆ ยกกำลังทหารตามมาทันทางด้านตะวันตกของกิมก๊ก แล้วจัดการสังหารเตงงาย, เตงต๋ง, สุเมา และคนอื่น ๆ มีรายงานว่าเมื่อสุเมาเสียชีวิตนั้นได้รับบาดแผลทั่วทั่งตัว[18]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("เตงงายจึงให้เตงต๋งผู้บุตรกับสุเมานายทหารคุมทหารคนละห้าพัน สั่งให้ยกไปตั้งอยู่ที่ซอกเขาตำบลตวนโกะ") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("ฝ่ายสุเมากับเตงต๋งยกทหารออกตีกระหนาบไล่มา เกียงอุยก็รบพลางหนีพลางค่อยถอยมา") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("เตงงายจึงให้เตงต๋งผู้บุตรกับสูกี๋คุมทหารหมื่นหนึ่งไปรบหน้าค่าย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("ฝ่ายอองหำกับเจียวปินอยู่ในค่าย เห็นเตงต๋งกับสูกี๋ยกทหารมาตั้งอยู่หน้าค่ายก็ระวังตัวนัก ให้ทหารทั้งปวงใส่เกราะนอน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("ฝ่ายเตงต๋งกับสูกี๋ครั้นได้ค่ายขวาแล้ว ก็ยกทหารมาเข้าหักเอาค่ายเกียงอุยเปนหลายครั้ง") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๓". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("ครั้นปรึกษาเห็นพร้อมกันดังนั้นแล้ว จึงจัดแจงให้สูเป๋าคุมททารอยู่รักษาค่ายเขากิสาน สองนายก็ยกทัพไปทำตามปรึกษากันทุกประการ") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๔". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("ฝ่ายว่าเตงงายก็นิ่งอยู่ในค่ายมิได้ออกรบ แล้วว่าอันทหารเมืองเสฉวนนี้ แต่ยกมาทำการก็พ่ายแพ้เปนหลายครั้งแล้วยังไม่มีความย่อท้อ กลับมาว่ากล่าวท้าทายดังนี้อีกเล่า เราเห็นว่าสูเป๋าอยู่รักษาค่ายกิสานนั้นทหารก็น้อย ข้าศึกจะยกลัดไปตีเอาเปนมั่นคง") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๔". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("ฝ่ายเตียวเอ๊กครั้นคุมทหารมาถึงเขากิสาน ก็เข้าตีค่ายสูเป๋าเปนหลายครั้ง ฝ่ายสูเป๋านั้นความคิดก็น้อยไม่ถึงเตียวเอ๊ก ทั้งทหารก็ร่วงโรยจวนจะเสียค่ายแก่เตียวเอ๊กอยู่แล้ว พอเตงงายยกมาทันเห็นเตียวเอ๊กประชิดตีค่ายสูเป๋าอยู่ดังนั้น ก็เร่งทหารเข้าโจมตีเตียวเอ๊กแตกหนีไปอยู่หลังเขา") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๔". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("คิดฉนั้นแล้วจึงแต่งให้สุม่อเตงจ๋งคุมทหารกองหนึ่งยกรีบเข้าไปตีเมืองกิมก๊ก") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("ครั้นสุม่อเตงจ๋งยกมาใกล้ถึงเมืองกิมก๊ก พบกองทัพจูกัดเจี๋ยมยกสวนออกมา") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("จูกัดเจี๋ยมเห็นได้ทีก็ขับทหารไล่ติดตามฆ่าฟันไป ทหารสุม่อแลเตงจ๋งล้มตายเปนอันมาก ตื่นแตกร่นไปเปนอลหม่าน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("เตงงายจึงถามสุม่อกับเตงจ๋งว่า ท่านทั้งสองมิทันที่จะได้รบพุ่ง เหตุใดจึงพาทหารพ่ายลงมา สุม่อกับเตงจ๋งบอกว่า ข้าพเจ้ายกไปเห็นขงเบ้งขี่เกวียนยกออกมาก็ตกใจ จึงกลับหลังมาจะแจ้งแก่ท่าน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ ("ฝ่ายเตงงายครั้นปราบปรามอาณาประชาราษฎรให้เปนปรกติแล้ว จึงตั้งให้สุม่อเปนที่ขุนนางผู้ใหญ่ว่าราชการเมือง") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.
- ↑ (征西將軍鄧艾以為未有釁,屢陳異議。帝患之,使主簿師纂為艾司馬以喻之,艾乃奉命。) จิ้นชู เล่มที่ 2.
- ↑ (蜀衛將軍諸葛瞻自涪還綿竹,列陳待艾。艾遣子惠唐亭侯忠等出其右,司馬師纂等出其左。忠、纂戰不利,並退還,曰:「賊未可擊。」艾怒曰:「存亡之分,在此一舉,何不可之有?」乃叱忠、纂等,將斬之。忠、纂馳還更戰,大破之,斬瞻及尚書張遵等首,進軍到雒。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (以師纂領益州刺史,隴西太守牽弘等領蜀中諸郡。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (鍾會、胡烈、師纂等皆白艾所作悖逆,變釁以結。詔書檻車徵艾。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (師纂亦與艾俱死。纂性急少恩,死之日體無完皮。) อรรถาธิบายจากชือ-ยฺหวี่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.