ซุนไค
ซุนไค (สฺวิน ข่าย) | |
---|---|
荀愷 | |
ผู้บังคับการมณฑลราชธานี (司隸校尉 ซือลี่เซี่ยวเว่ย์) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 291 – ค.ศ. 305 | |
กษัตริย์ | |
รองราชเลขาธิการฝ่ายซ้าย (尚書左僕射 ช่างชูจั่วผูเย่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 291 | |
กษัตริย์ | |
มหาขุนพลพิทักษ์ทัพ (鎮軍大將軍 เจิ้นจฺวินต้าเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
ผู้พิทักษ์ทัพ (護軍 ฮู่จฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 240 |
เสียชีวิต | ค.ศ. 305 |
บุพการี |
|
ญาติ | |
อาชีพ | ขุนพล, ขุนนาง |
ชื่อรอง | เม่าปั๋ว (茂伯) / จื๋อจฺวี่ (子舉) |
สมัญญานาม | ชุ่นกง (順公) |
บรรดาศักดิ์ | หนานตุ้นจื่อ (南頓子) |
ซุนไค[1][2][3] (ค.ศ. 240-305) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า สฺวิน ข่าย (จีน: 荀愷; พินอิน: Xún Kǎi) ชื่อรอง เม่าปั๋ว[4] (จีน: 茂伯; พินอิน: Màobó) หรือ จื๋อจฺวี่ (จีน: 子舉; พินอิน: Zǐjǔ) เป็นขุนพลของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน ภายหลังเป็นขุนนางและขุนพลของราชวงศ์จิ้นตะวันตก
ประวัติ
[แก้]ซุนไคเป็นชาวอำเภออิ่งอิน (潁陰縣 อิ่งอินเซี่ยน) เมืองเองฉวน (穎川郡 อิ่งชฺวานจฺวิ้น) ซึ่งอยู่ในนครสฺวี่ชาง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน[5] บิดาของซุนไคคือสฺวิน อี้ (荀霬) สวิน อี้เป็นบุตรชายคนรองของซุนหุน (荀惲 สฺวิน ยฺวิ่น) ที่เกิดกับเจ้าหญิงอานหยาง (安陽公主 อานหยางกงจู่) บุตรสาวของโจโฉ ซุนหุนเป็นบุตรชายคนโตของซุนฮก (荀彧 สฺวิน ยฺวี่) ซุนไคจึงเป็นเหลนของทั้งซุนฮกและโจโฉ มารดาของซุนไคคือเจ้าหญิงหนานหยาง (南陽公主 หนานหยางกงจู่) เจ้าหญิงหนานหยางเป็นบุตรสาวของสุมาอี้และจาง ชุนหฺวา (張春華) เป็นน้องสาวของสุมาสูและสุมาเจียว ซุนไคจึงเป็นหลานตาของสุมาอี้[4]
ในปี ค.ศ. 263 ระหว่างการศึกที่วุยก๊กพิชิตจ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริ ซุนไคเข้าร่วมในทัพหลักของจงโฮยผู้เป็นขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันตก (鎮西將軍 เจิ้นซีเจียงจฺวิน) ซึ่งบุกเข้าตีเมืองฮันต๋ง (漢中 ฮั่นจง) โดยซุนไคมีตำแหน่งเป็นผู้พิทักษ์ทัพ (護軍 ฮู่จฺวิน)[a] จงโฮยมอบหมายให้ซุนไคนำกำลังทหาร 10,000 นายยกไปปิดล้อมเจียวปิน (蔣斌 เจี่ยง ปิน) ขุนพลจ๊กก๊กตำแหน่งผู้พิทักษ์ทัพที่รักษาอำเภอฮั่นเสีย (漢城縣 ฮั่นเฉิงเซี่ยน; ปัจจุบันคืออำเภอเหมี่ยน มณฑลฉ่านซี)[6][7]
ในช่วงศักราชเสียนซี (咸熙; ค.ศ. 264-265) ในรัชสมัยของจักรพวรรดิโจฮวน วุยก๊กฟื้นฟูระบบบรรดาศักดิ์ห้าขั้น ซุนไคได้รับการแต่งตั้งให้มีบรรดาศักดิ์หนานตุ้นจื่อ (南頓子)[8]
ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยนจักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันตก ซุนไคดำรงตำแหน่งเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง)[9] และมหาขุนพลพิทักษ์ทัพ (鎮軍大將軍 เจิ้นจฺวินต้าเจียงจฺวิน)[10] ภายหลังได้ย้ายไปเป็นรองราชเลขาธิการฝ่ายซ้าย (尚書左僕射 ช่างชูจั่วผูเย่)[11]
ในปี ค.ศ. 291 จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้ทรงแต่งตั้งให้ซุนไคเป็นผู้บังคับการมณฑลราชธานี (司隸校尉 ซือลี่เซี่ยวเว่ย์) ในช่วงเวลานั้นลูกพี่ลูกน้องของซุนไคเสียชีวิต ซุนไคจึงถวายฎีกาขอไปร่วมไว้ทุกข์ ราชสำนักออกพระราชโองการอนุญาต แต่ซุนไคไม่ไปร่วมไว้ทุกข์ให้ลูกพี่ลูกน้องตามที่ขออนุญาตไว้ กลับไปเยี่ยมจวนของหยาง จฺวิ้น (楊駿) ที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทน ฝู่ เสียน (傅咸) ถวายฎีกาถึงราชสำนักเพื่อตำหนิซุนไคด้วยเรื่องดังกล่าวนี้[12]
ในช่วงสงครามแปดอ๋อง ซุนไคอยู่ใต้บังคับบัญชาของซือหม่า เยฺว่ (司馬越) ผู้เป็นอ๋องแห่งตองไฮ (東海王 ตงไห่หวาง) ต่อมาซุนไคเสียชีวิตด้วยอาการป่วยในปี ค.ศ. 305 ได้รับสมัญญานามว่า "ชุ่นกง" (順公)
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในนิยายอิงประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่องสามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้) ซุนไคเข้าร่วมในทัพของจงโฮยในฐานะพลทหาร ก่อนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้พิทักษ์ทัพจากผลงานในการสังหารล่อซุน (盧遜 หลู ซฺวิ่น) ขุนพลของจ๊กก๊กผู้รักษาด่านที่อำเภอลำเต๋ง (南鄭縣 หนานเจิ้งเซี่ยน; อยู่ในนครฮั่นจง มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("ฝ่ายซุนไคทหารจงโฮยเห็นชาวด่านไล่รุกออกมาดังนั้นก็หลีกเข้ายืนแอบอยู่ริมทาง ได้ทีก็ยิงเกาทัณฑ์ไปถูกล่อซุนตกจากหลังม้าตาย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 15, 2024.
- ↑ ("จงโฮยครั้นมาอยู่ในด่านนายทัพนายกองทั้งปวงมาถึงแล้วจึงว่าแก่เคาหงีว่า ตัวอาสาเราเปนกองหน้าแล้วมาทำการให้เสียทีแก่ข้าศึกดังนี้ หากว่าซุนไคแก้ไว้เราจึงไม่เปนอันตราย โทษท่านนี้ถึงตาย จึงสั่งให้ทหารเอาตัวเคาหงีไปตัดสีสะเสีย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 15, 2024.
- ↑ ("จงโฮยจึงว่า ซึ่งจะขอโทษเคาหงีผู้กระทำความผิดไว้นั้นไม่ได้อาญาสิทธิ์จะเสียไป ทหารทั้งปวงผู้จะกระทำสงครามไปข้างหน้าจะเอาเยี่ยงอย่างกัน ก็ให้เอาเคาหงีไปตัดสีสะเสียบไว้ แล้วจึงให้หาซุนไคมาว่า อันความชอบของท่านครั้งนี้มากนัก จึงให้ม้าแลเกราะแก่ซุนไคปูนบำเหน็จฝีมือ แล้วจงโฮยจึงให้ลิจวนคุมทหารกองหนึ่งยกไปตีเมืองก๊กเสีย จึงให้ซุนไคไปตีเมืองฮันเสีย ส่วนตัวจงโฮยนั้นยกทหารทั้งปวงไปด่านแฮเบงก๋วน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๕". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 15, 2024.
- ↑ 4.0 4.1 (《荀氏家傳》曰:荀愷字茂伯,小而知,外祖晋宣王甚器之,字爲虎子。弟悝爲龍子。王每謂曰:「俟汝長大,當共天下。」) ไท่ผิงยฺวี่หล่าน เล่มที่ 363.
- ↑ (荀彧字文若,潁川潁陰人也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 10.
- ↑ (會使護軍荀愷、前將軍李輔各統萬人,愷圍漢城,輔圍樂城。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (九月,鐘會使前將軍李輔統萬人圍王含於樂城,護軍荀愷圍蔣斌於漢城。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 78.
- ↑ (咸熙中,開建五等,霬以著勳前朝,改封愷南頓子。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 10.
- ↑ (愷,晉武帝時爲侍中。) อรรถาธิบายจากสฺวินชื่อเจียจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 10.
- ↑ (愷位至征西大將軍。) อรรถาธิบายจากสฺวินชื่อเจียจฺว้านในสามก๊กจี่ เล่มที่ 10.
- ↑ (尚書左僕射荀愷與楷不平,因奏楷是駿親,收付廷尉。) จิ้นชู เล่มที่ 47.
- ↑ (時司隸荀愷從兄喪,自表赴哀,詔聽之而未下,愷乃造駿。咸因奏曰:……) จิ้นชู เล่มที่ 47.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ฝาง เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.
- หลี ฝ่าง (คริสต์ศตวรรษที่ 10). ไท่ผิงยฺวี่หล่าน.
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- ล่อกวนตง (คริสต์ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้), ตอนที่ 92.