ข้ามไปเนื้อหา

เปาต้าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เปาต้าน (ฟู่ กู่)
傅嘏
ผู้กำกับกิจการสำนักราชเลขาธิการ
(錄尚書事 ลู่ช่างชูชื่อ)
(ภายใต้มหาขุนพล)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 255 (255) – ค.ศ. 255 (255)
กษัตริย์โจฮอง
ราชเลขาธิการ (尚書 ช่างชู)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 249 (249) – ค.ศ. 255 (255)
กษัตริย์โจฮอง
เจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 249 (249) – ค.ศ. 255 (255)
กษัตริย์โจฮอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 209[a]
เขตเย่าโจว นครถงชฺวาน มณฑลฉ่านซี
เสียชีวิตค.ศ. 255 (46 ปี)[a]
บุตรฟู่ จือ
บุพการี
  • ฟู่ ชง (บิดา)
ญาติ
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองหลานฉือ (蘭石) /
เจาเซียน (昭先)
สมัญญานามยฺเหวียนโหว (元侯)
บรรดาศักดิ์หยางเซียงโหว (陽鄉侯)

เปาต้าน[b] หรือเหาตวน[c] (ค.ศ. 209–255)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ฟู่ กู่ (จีน: 傅嘏; พินอิน: Fù Gǔ) ชื่อรอง หลานฉือ (จีน: 蘭石; พินอิน: Lánshí) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน

ประวัติ

[แก้]

ปู่ของเปาต้านคือฟู่ รุ่ย (傅睿) ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองไตกุ๋น (代郡 ไต้จฺวิ้น) ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก บิดาของเปาต้านคือฟู่ ชง (傅充) รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่สำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง) เปาต้านมีบุตรชายคือฟู่ จือ (傅祗) มีหลานชายคือฟู่ เซฺวียน (傅宣) และฟู่ ช่าง (傅暢) เปาต้านมีชื่อเสียงตั้งแต่วัยอยู่ในวัยยี่สิบปี เปาต้านได้รับการเสนอชื่อจากตันกุ๋นให้รับราชการกับราชสำนักวุยก๊กและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการระดับล่าง

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 ชีวประวัติเปาต้านในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าเปาต้านเสียชีวิตในศักราชเจงหงวน (正元 เจิ้ง-ยฺเหวียน; ค.ศ. 254-256) ในรัชสมัยของโจมอ เปาต้านเสียชีวิตขณะอายุ 47 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] เมื่อคำนวณแล้ว ปีเกิดของของเปาต้านควรเป็นปี ค.ศ. 209
  2. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 81[2]
  3. ชื่อที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 80[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ([正元二年] ... 是歲薨,時年四十七, ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 21.
  2. ("เปาต้านจึงว่า บู๊ขิวเขียมล่าทัพถอยไปครั้งนี้ ด้วยกลัวทัพเมืองกังตั๋งจะวกหลังไปตีเมืองชิวฉุน เห็นทีจะถอยทัพไปอยู่เมืองฮางเสีย แล้วจะแบ่งปันทหารไปรักษาเมืองชิวฉุน ขอให้ท่านเกณฑ์ทหารยกไปเปนสามกอง ไปตีเมืองงักแกเสียเมืองฮางเสียเมืองชิวฉุน ข้าพเจ้าเห็นว่าทหารเมืองห้วยหลำก็จะถอยทัพไปเอง ท่านจงให้มีหนังสือไปถึงเตงงายเจ้าเมืองกุนจิ๋ว เปนคนมีสติปัญญาความคิด ให้ยกไปช่วยตีเมืองงักแกเสียได้แล้ว เห็นจะปราบศัตรูได้โดยง่าย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.
  3. ("เหาตวนที่ปรึกษาจึงว่ายังหาเห็นทีที่จะได้ไม่ ด้วยเมืองกังตั๋งนี้มีแม่น้ำกั้นอยู่เปนที่คับขัน ข้าศึกที่จะไปทำการยากนัก กษัตริย์แต่ก่อนหลายพระองค์มาแล้วยกกองทัพไปตีก็หาได้ไม่ ซึ่งจะยกทัพไปทำการครั้งนี้ข้าพเจ้าหาเห็นด้วยไม่ บ้านเมืองของใคร ๆ ก็รักษาอยู่เห็นจะเปนสุขกว่า ถ้าได้ทีแล้วยกไปตีจึงจะมีชัยชนะ") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๐". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ July 19, 2024.

บรรณานุกรม

[แก้]