เฮ่งเพา
เฮ่งเพา (หวาง โผว) 王裒 | |
---|---|
ประติมากรรมแสดงเรื่องราวที่เฮ่งเพาร้องไห้ที่หลุมศพมารดายามได้ยินเสียงฟ้าร้องจากยี่จับสี่เห่า | |
เกิด | ไม่ทราบ อำเภอฉางเล่อ มณฑลชานตง |
เสียชีวิต | ค.ศ. 311 |
ชื่ออื่น | ชื่อรอง: เหว่ย์-ยฺเหวียน (偉元) |
อาชีพ | บัณฑิต |
บิดามารดา |
|
เฮ่งเพา[1] (เสียชีวิต ค.ศ. 311) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง โผว (จีน: 王裒; พินอิน: Wáng Póu) ชื่อรอง เหว่ย์-ยฺเหวียน (จีน: 偉元; พินอิน: Wěiyuán) เป็นบัณฑิตที่มีชื่อเสียงในยุคสามก๊กและยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก แต่ปฏิเสธที่จะรับราชการกับราชวงศ์เพราะแค้นที่ราชวงศ์จิ้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของบิดา เฮ่งเพายังเป็นหนึ่งในยี่จับสี่เห่าหรือยี่สิบสี่ยอดกตัญญู
ประวัติ
[แก้]เฮ่งเพาเป็นชาวอำเภอเอ็งเหล็ง (營陵縣 อิ๋งหลิงเซี่ยน) เมืองเฉิงหยาง (城陽郡 เฉิงหยางจฺวิ้น) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอฉางเล่อ มณฑลชานตงในปัจจุบัน[2] บิดาของเฮ่งเพาคือหวาง อี๋ (王儀) รับราชการเป็นขุนนางในราชสำนักของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก หวาง อี๋ออกความเห็นว่าสุมาเจียวต้องรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ในยุทธการที่ตังหินที่รบกับรัฐง่อก๊กในปี ค.ศ. 252 สุมาเจียวได้ฟังก็โกรธมากจึงสั่งให้นำตัวหวาง อี๋ไปประหารชีวิต[3] ด้วยเหตุนี้เฮ่งเพาจึงไม่ยอมนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตกตลอดชีวิตเพื่อแสดงการไม่เชื่อฟังต่อราชวงศ์จิ้นซึ่งก่อตั้งโดยสุมาเอี๋ยนบุตรชายของสุมาเจียวในปี ค.ศ. 266 ในช่วงเวลานั้นราชสำนักราชวงศ์จิ้นเรียกตัวเฮ่งเพาไปรับราชการหลายครั้งแต่เฮ่งเพาปฏิเสธ[4] เฮ่งเพาใช้ชีวิตอย่างสันโดษด้วยสอนหนังสือ และสร้างกระท่อมอาศัยข้างหลุมศพของบิดา[5]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ยี่จับสี่เห่า ๑๖. เฮ่งเพา". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ October 19, 2024.
- ↑ (王裒,字偉元,城陽營陵人也。) จิ้นชู เล่มที่ 88.
- ↑ (父儀,高亮雅直,為文帝司馬。東關之役,帝問於眾曰:「近日之事,誰任其咎?」儀對曰:「責在元帥。」帝怒曰:「司馬欲委罪於孤邪!」遂引出斬之。) จิ้นชู เล่มที่ 88.
- ↑ (裒少立操尚,行己以禮,身長八尺四寸,容貌絕異,音聲清亮,辭氣雅正,博學多能,痛父非命,未嘗西向而坐。示不臣朝廷也。) จิ้นชู เล่มที่ 88.
- ↑ (示不臣朝廷也。於是隱居教授,三征七辟皆不就。廬于墓側,旦夕常至墓所拜跪,攀柏悲號,涕淚著樹,樹為之枯。) จิ้นชู เล่มที่ 88.
ดูเพิ่ม
[แก้]บรรณาุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.