ข้ามไปเนื้อหา

เจ็ดปราชญ์แห่งป่าไผ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดเจ็ดปราชญ์แห่งป่าไผ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยเซ็ซซง ชูเค[1]

เจ็ดปราชญ์แห่งป่าไผ่ (จีนตัวเต็ม: 竹林七賢; จีนตัวย่อ: 竹林七贤; พินอิน: Zhúlín Qī Xián; เป่อ่วยยี: Tiok-lîm Chhit Hiân) เป็นกลุ่มบัณฑิต นักเขียน และนักดนตรีชาวจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 3 แม้ว่าบุคคลต่าง ๆ เหล่านี้มีตัวตนอยู่จริง แต่ไม่แน่ชัดว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ใน 7 คนนี้มีหลายคนที่มีความเชื่อมโยงกับสำนักชิงถานแห่งลัทธิเต๋าที่อยู่ในรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน[2]

ปราชญ์ทั้งเจ็ดเห็นว่าชีวิตของพวกตนอยู่ในอันตรายเพื่อราชวงศ์จิ้นของตระกูลสุมาซึ่งรับรองลัทธขงจื๊อขึ้นสู่อำนาจ ในปราชญ์ 7 คนนี้มีบางคนที่เขียนกวีนิพนธ์วิพากย์วิจารณ์ราชสำนักและการบริหารราชการ และเขียนวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิเต๋า ปราชญ์ทั้งเจ็ดไม่มีมีมุมมองที่เหมือนกันทั้งหมด บางคนพยายามหาทางเพื่อผ่านพ้นสถานการณ์ทางการเมืองที่ยากลำบากโดยการสวมบทบาทอย่างระมัดระวังเป็นนักเลงสุราและคนบ้าเพื่อหลีกเลี่ยงการควบคุมของราชสำนัก (เช่น หลิว หลิง) แต่บางคนก็เข้าร่วมกับราชวงศ์จิ้น (เช่น อ๋องหยง) แม้ว่าปราชญ์ทั้งเจ็ดอาจจะเคยหรือไม่เคยเข้าร่วมใน "การสนทนาหรือโต้วาทีอันเฉียบแหลม" (ชิงถาน) แต่ทั้งเจ็ดก็กลายเป็นหัวข้อของตนเองในชื่อชัวซิน-ยฺหวี่ (จีน: 世說新語; พินอิน: Shìshuō Xīnyǔ, "งานเขียนใหม่ว่าด้วยเรื่องเล่าในโลก")

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Seven Sages of the Bamboo Grove". Metropolitan Museum of Art. สืบค้นเมื่อ 29 November 2021.
  2. "Seven Sages of the Bamboo Grove | Chinese literary group". Encyclopædia Britannica. Chicago: Encyclopædia Britannica, Inc. 5 June 2018. สืบค้นเมื่อ 29 November 2021.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]