หวาง ยฺเหวียนจี
หน้าตา
หวาง ยฺเหวียนจี 王元姬 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดินีพันปีหลวงแห่งราชวงศ์จิ้น | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266[a] – 20 เมษายน ค.ศ. 268 | ||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 217[b] อำเภอถานเฉิง มณฑลชานตง | ||||||||
สวรรคต | 20 เมษายน ค.ศ. 268 (51 พรรษา)[1] นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน | ||||||||
ฝังพระศพ | เขตเหยี่ยนชือ นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน | ||||||||
คู่อภิเษก | สุมาเจียว | ||||||||
พระราชบุตร รายละเอียด |
| ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์จิ้น | ||||||||
พระราชบิดา | อองซก | ||||||||
พระราชมารดา | หยางชื่อ (羊氏)[c] |
หวาง ยฺเหวียนจี (217 – 20 เมษายน ค.ศ. 268[d]) เป็นสตรีสูงศักดิ์และอภิชนชาวจีนในยุคสามก๊ก ภายหลังเป็นจักรพรรดินีพันปีหลวงแห่งราชวงศ์จิ้น หวาง ยฺเหวียนจีเป็นภรรยาของสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน หวาง ยฺเหวียนจีขึ้นเป็นจักรพรรดินีพันปีหลวงในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยนซึ่งเป็นพระโอรสของพระองค์ผู้โค่นล้มการปกครองของวุยก๊กและก่อตั้งราชวงศ์จิ้น หวาง ยฺเหวียนจีได้รับสมัญญานามว่า "จักรพรรดินีเหวินหมิง" หลังการสิ้นพระชนม์
หวาง ยฺเหวียนจีมีชื่อเสียงในเรื่องสติปัญญา มีคุณธรรม มีคุณูปการต่อจุดกำเนิดและความมั่นคงของราชวงศ์จิ้น เคยคาดการณ์ถึงการก่อกบฏของจงโฮยในปี ค.ศ. 264
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ วันติงเหม่า (丁卯) ของเดือน 12 ในศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 1 ตามที่ระบุในบทพระราชประวัติของสุมาเอี๋ยนในจิ้นชู
- ↑ จิ้นชูระบุว่าหวาง ยฺเหวียนจีสิ้นพระชนม์ในศักราชไท่ฉื่อ (泰始; ค.ศ. 265-274) ปีที่ 4 ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยน (จักรพรรดิจิ้นอู่ตี้) ขณะพระชนมายุ 52 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] เมื่อคำนวณแล้ว ปีประสูติของพระองค์จึงควรเป็นราวปี ค.ศ. 217 หมายเหตุเพิ่มเติมว่าสุมาเอี๋ยนสถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดิในวันปิ่งอิ๋น (丙寅) ในเดือน 12 ของศักราชไท่ฉื่อปีที่ 1 ซึ่งเทียบได้กับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ในปฏิทินจูเลียน
- ↑ ในปี ค.ศ. 267 หยางชื่อได้รับการสถาปนาหลังมรณกรรมให้เป็น เซี่ยนจฺวิน (县君) และได้รับสมัญญานามว่า จิ้ง (靖) สมัญญานามเต็มเป็น "ผิงหยางจิ้งจฺวิน" (平阳靖君)[2] ไม่ทราบแน่ชัดว่าหยางชื่อมีความเกี่ยวข้องกับเอียวเก๋า (羊祜 หยาง ฮู่) และหยาง ฮุย-ยฺหวี (羊徽瑜) หรือไม่
- ↑ บทพระราชประวัติของสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูระบุว่าหวาง ยฺเหวียนจีสิ้นพระชนม์ในวันอู้จื่อ (戊子) ในเดือน 3 ของศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 4 ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยน เทียบได้กับวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 268 ในปฏิทินจูเลียน[3]
อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.