ข้ามไปเนื้อหา

เฮาเกียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฮาเกียน (หู เยฺวียน)
胡淵
เจ้าเมืองอิเจี๋ยง (豫章太守 ยฺวี่จางไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 296 (296) – ค.ศ. 301 (301)
กษัตริย์จักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 247
อำเภอเจิ้น-ยฺเหวียน มณฑลกานซู่
เสียชีวิตค.ศ. 301
บุพการี
ญาติอ้าวจุ๋น (ปู่)
หู กว่าง (ลุง)
เฮาหุน (ลุง)
หู ฉี (อา)
ลุงหรืออาอีก 2 คน
อาชีพนายทหาร, ขุนนาง
ชื่อรองชื่อ-ยฺเหวียน (世元)
ชื่อในวัยเด็กเย่าชือ (鷂鴟)

เฮาเกียน[1][2][3] (ค.ศ. 247 - 301) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หู เยฺวียน (จีน: 胡淵; พินอิน: Hú Yuān) ชื่อรอง ชื่อ-ยฺเหวียน (จีน: 世元; พินอิน: Shìyuán) ชื่อในวัยเด็ก เย่าชือ (จีน: 鷂鴟; พินอิน: Yàochī) เป็นนายทหารของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน ภายหลังเป็นขุนนางของราชวงศ์จิ้นตะวันตก

ประวัติ

[แก้]

เฮาเกียนเป็นชาวอำเภอหลินจิง (臨涇縣 หลินจิงเซี่ยน) เมืองฮันเต๋ง (安定郡 อานติ้งจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอเจิ้น-ยฺเหวียน มณฑลกานซู่ เฮาเหลกเป็นหลานปู่ของอ้าวจุ๋น (胡遵 หู จุน) ผู้เป็นขุนพลทหารม้าและรถรบ (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน) ของรัฐวุยก๊ก[4] เฮาเกียนเป็นบุตรชายของเฮาเหลก (胡烈 หู เลี่ย) ผู้เป็นข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลฉินโจว (秦州) ในยุคราชวงศ์จิ้นตะวันตก

ในปี ค.ศ. 264 หลังจ๊กก๊กถูกพิชิต จงโฮยเริ่มก่อกบฏต่อวุยก๊กที่เซงโต๋ (成都 เฉิงตู) อดีตนครหลวงของจ๊กก๊ก เฮาเหลกบิดาของเฮาเกียนส่งคนมาแจ้งเฮาเกียนว่าจงโฮยคิดการก่อกบฏ เฮาเกียนจึงร่วมกับอุยก๋วนในการก่อการกำเริบต่อต้านจงโฮยและสังหารจงโฮยได้สำเร็จ เวลานั้นเฮาเกียนมีอายุ 18 ปี[5]

ในปี ค.ศ. 296 ในรัชสมัยของจักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก เฮาเกียนได้รับการแต่งตั้งให้มีตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองอิเจี๋ยง (豫章郡 ยฺวี่จางจฺวิ้น; อยู่บริเวณนครหนานชาง มณฑลเจียงซีในปัจจุบัน)[6]

ต่อมาในช่วงสงครามแปดอ๋อง (ค.ศ. 291-306) เฮาเกียนได้รับมอบหมายจากซือหม่า หลุน (司馬倫) ผู้เป็นอ๋องแห่งเตียว (趙王 เจ้าหวาง) ให้เข้ารบกับซือหมา จฺย่ง (司馬冏) ผู้เป็นอ๋องแห่งเจ๋ (齊王 ฉีหวาง) ได้รับชัยชนะหลายครั้ง

ในปี ค.ศ. 301 เฮาเกียนพ่ายแพ้ต่อซือหมา อิ่ง (司馬穎) ผู้เป็นอ๋องแห่งเซงโต๋ (成都王 เฉิงตูหวาง) เฮาเกียนยอมจำนนและถูกประหารชีวิต

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ("เฮาเหลกก็ร้องไห้จึงว่า ตัวข้ามิได้รู้ว่าจงโฮยคิดการขบถถึงเพียงนี้เลย สงสารแต่เฮาเกียนบุตรของเราอยู่ภายนอกมิได้รู้เหตุผลประการใด แม้ท่านคิดถึงคุณแต่หนหลังจงช่วยบอกแก่บุตรเราด้วยเถิด ถึงมาทว่าตัวเราจะตายก็ตามบุญ") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 27, 2024.
  2. ("ฝ่ายเฮาเหลกจึงตัดนิ้วมือสูบเอาโลหิตเขียนเปนหนังสือลับซ่อนให้แก่คูเกี๋ยน ๆ ก็ใช้ให้คนสนิธถือหนังสือออกไปแจ้งแก่เฮาเกียน ๆ แจ้งหนังสือลับว่า จงโฮยคิดการกำเริบขบถต่อแผ่นดิน จึงให้หานายทัพนายกองมาปรึกษา นายทัพนายกองทั้งปวงก็โกรธ จึงว่าตัวเราก็ชาติทหารได้ทำการสงครามมาก็หลายครั้ง มาทว่าตัวจะตายด้วยความสัตย์ซื่อก็ดูประเสริฐกว่าเปนข้าของจงโฮยต้องการอันใด เราทั้งปวงจะกระทำตามอำนาจของจงโฮยก็จะพลอยเปนขบถปรากฎชื่อชั่วตัวไปด้วย เราจะช่วยกันคิดตัดการเสียให้จงได้ ทหารทั้งปวงก็ชวนกันโกรธเปนอันมาก ขณะนั้นอุยก๋วนซึ่งได้กำกับกองทัพทั้งสองฝ่าย จึงว่าท่านทั้งปวงปรึกษาก็ชอบทุกประการ ตัวเราก็จะรับทำการด้วยส่วนหนึ่ง เฮาเกียนจึงว่า ถ้าดังนั้นท่านทั้งปวงจงตระเตรียมทหารให้พร้อมทุกหมวดทุกกองเถิด เราจะรับยกเข้าไปทำการให้ทันท่วงทีอย่าให้รู้ตัว") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 27, 2024.
  3. ("ในทันใดพอได้ยินเสียงทหารเฮาเกียนแลอุยก๋วนโห่ร้องอื้ออึงเอิกเกริกตีล้อมเมืองเข้ามาทั้งสี่ด้าน เกียงอุยจึงว่าแก่จงโฮยว่า ซึ่งทหารโห่ร้องตีเข้ามาทั้งนี้มิใช่ผู้อื่น เปนพรรคพวกของขุนนางเหล่านี้มั่นคง จำจะฆ่าคนเหล่านี้เสียให้สิ้นก่อนจะเอาไว้มิได้ ว่ายังมิทันขาดคำพอเห็นแสงเพลิงติดขึ้นทั้งสี่ด้าน ทหารวิ่งตรูเข้ามาถึงข้างใน จงโฮยเห็นทหารตรูกันเข้ามาก็ตกใจ จึงปิดประตูที่อยู่เสียแล้วก็วิ่งหนีขึ้นไปอยู่ชั้นบน ทหารเฮาเกียนกับอุยก๋วนก็จุดเพลิงล้อมเข้าไป จงโฮยจึงคิดว่าตัวกูเปนชาติทหาร การจวนตัวแล้วจะคิดกลัวความตายอยู่ก็หาควรไม่ คิดฉนี้แล้วก็ถอดกระบี่ไล่ฆ่าฟันลงมา ทหารเฮาเกียนล้มตายลงประมาณเก้าคนสิบคน ทหารทั้งปวงก็ช่วยกันล้อมจงโฮยเข้าไว้ ยิงเกาทัณฑ์ระดมมาถูกจงโฮยล้มลงตายกับที่ ทหารเฮาเกียนก็เข้าตัดเอาสีสะไป") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 27, 2024.
  4. (胡奮,字玄威,安定臨涇人也,魏車騎將軍陰密侯遵之子也。) จิ้นชู เล่มที่ 57.
  5. (烈子世元,時年十八,為士卒先,攻殺會,名馳遠近。) จิ้นชู เล่มที่ 36.
  6. (郡西學堂,晉元康六年太守胡淵字世源造) ชัวฝู เล่มที่ 67.

บรรณานุกรม

[แก้]