ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดเลย"

พิกัด: 17°29′N 101°44′E / 17.49°N 101.73°E / 17.49; 101.73
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tomarzig (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
'''จังหวัดเลย''' เป็น[[จังหวัดของประเทศไทย|จังหวัด]]หนึ่งใน[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]]ตอนบนของ[[ประเทศไทย]] ตั้งอยู่ใน[[แอ่งสกลนคร]]และอยู่ใน[[กลุ่มจังหวัด]]ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ห่างจาก[[กรุงเทพมหานคร]]ประมาณ 540 [[กิโลเมตร]] มีสภาพภูมิประเทศที่งดงาม อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย
'''จังหวัดเลย''' เป็น[[จังหวัดของประเทศไทย|จังหวัด]]หนึ่งใน[[ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]]ตอนบนของ[[ประเทศไทย]] ตั้งอยู่ใน[[แอ่งสกลนคร]]และอยู่ใน[[กลุ่มจังหวัด]]ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ห่างจาก[[กรุงเทพมหานคร]]ประมาณ 540 [[กิโลเมตร]] มีสภาพภูมิประเทศที่งดงาม อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย


== ประวัติศาสตร์
== ประวัติศาสตร์ ==
ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจาก[[บรรพบุรุษ]]ที่ก่อตั้ง[[อาณาจักรโยนกเชียงแสน]] โดย[[พ่อขุนบางกลางหาว]]และ[[พ่อขุนผาเมือง]] (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนกเชียงแสนที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดน[[ล้านช้าง]] ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย [[อำเภอด่านซ้าย]]) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้ายในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่ เป็น "เมืองด่านซ้าย" อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยางในที่สุด โดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่[[อำเภอศรีเทพ]]และ[[อำเภอวิเชียรบุรี]] [[จังหวัดเพชรบูรณ์]]) และตั้งเมืองด่านซ้าย เป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง
ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจาก[[บรรพบุรุษ]]ที่ก่อตั้ง[[อาณาจักรโยนกเชียงแสน]] โดย[[พ่อขุนบางกลางหาว]]และ[[พ่อขุนผาเมือง]] (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนกเชียงแสนที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดน[[ล้านช้าง]] ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย [[อำเภอด่านซ้าย]]) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้ายในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่ เป็น "เมืองด่านซ้าย" อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยางในที่สุด โดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่[[อำเภอศรีเทพ]]และ[[อำเภอวิเชียรบุรี]] [[จังหวัดเพชรบูรณ์]]) และตั้งเมืองด่านซ้าย เป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง


นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขต [[ล้านนา]] ต่อแดนล้านช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว [[อำเภอวังสะพุง]]) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบ เมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นมาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พาผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไลถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า "บ้านแห่" (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน"
นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขต [[ล้านนา]] ต่อแดนล้านช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว [[อำเภอวังสะพุง]]) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบ เมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นมาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พาผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไลถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า "บ้านแห่" (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน"
บรรทัด 230: บรรทัด 230:
'''ไทเลย''' เป็นชื่อเรียกคนเมืองเลย ในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า คนเมืองเลยคือกลุ่มชนที่อพยพจากชายแดนตอนเหนืออาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากไทหลวงพระบาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเซไล (บ้านทรายขาว [[อำเภอวังสะพุง]] ปัจจุบัน) ในปี [[พ.ศ. 2396]] ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านแห่ (บ้านแฮ่ปัจจุบัน) ได้ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าเมืองเลย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองเลยก็รวมตัวกันเป็นเมืองใหญ่ โดยการรวมตัวของ [[อำเภอเมืองเลย|อำเภอกุดป่อง]] [[ อำเภอท่าลี่ ]] ซึ่งขึ้นกับมณฑลอุดร [[อำเภอด่านซ้าย]] ซึ่งขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก [[อำเภอเชียงคาน|เมืองเชียงคาน]] ซึ่งขึ้นกับเมืองพิชัย อำเภอต่าง ๆ เหล่านี้จึงโอนขึ้นกับเมืองเลยทั้งหมดตั้งแต่ [[พ.ศ. 2450]] เป็นต้นมา
'''ไทเลย''' เป็นชื่อเรียกคนเมืองเลย ในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า คนเมืองเลยคือกลุ่มชนที่อพยพจากชายแดนตอนเหนืออาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากไทหลวงพระบาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเซไล (บ้านทรายขาว [[อำเภอวังสะพุง]] ปัจจุบัน) ในปี [[พ.ศ. 2396]] ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านแห่ (บ้านแฮ่ปัจจุบัน) ได้ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าเมืองเลย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองเลยก็รวมตัวกันเป็นเมืองใหญ่ โดยการรวมตัวของ [[อำเภอเมืองเลย|อำเภอกุดป่อง]] [[ อำเภอท่าลี่ ]] ซึ่งขึ้นกับมณฑลอุดร [[อำเภอด่านซ้าย]] ซึ่งขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก [[อำเภอเชียงคาน|เมืองเชียงคาน]] ซึ่งขึ้นกับเมืองพิชัย อำเภอต่าง ๆ เหล่านี้จึงโอนขึ้นกับเมืองเลยทั้งหมดตั้งแต่ [[พ.ศ. 2450]] เป็นต้นมา


ชาวไทเลยจะมีนิสัยใจคอเหมือนกับชนเชื้อชาติโบราณซึ่งไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปจากดั้งเดิม มีสำเนียงพูดที่แปลกและนิ่มนวล พูดสุภาพและไม่ค่อยพูดเสียงดัง กิริยามารยาทดีงาม อารมณ์เยือกเย็นไม่วู่วาม มีนิสัยรักความสงบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักถิ่นที่อยู่ไม่ค่อยอพยพไปอยู่ที่อื่น ส่วนทางด้านวัฒนธรรมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา ได้แก่ “ฮีตสิบสอง–คองสิบสี่” คือการทำบุญตามประเพณีทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี
ชาวไทเลยจะมีนิสัยใจคอเหมือนกับชนเชื้อชาติโบราณซึ่งไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปจากดั้งเดิม มีสำเนียงพูดที่แปลกและนิ่มนวล พูดสุภาพและไม่ค่อยพูดเสียงดัง กิริยามารยาทดีงาม อารมณ์เยือกเย็นไม่วู่วาม มีนิสัยรักความสงบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักถิ่นที่อยู่ไม่ค่อยอพยพไปอยู่ที่อื่น ส่วนทางด้านวัฒนธรรมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา ได้แก่ “ฮีตสิบสอง–คองสิบสี่” คือการทำบุญตามประเพณีทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี


บ้านชาวไทเลยเป็นเรือนหลังใหญ่ ยกพื้นสูงมีระเบียงหรือชานยื่นออกมาหน้าเรือน มีเรือนครัวซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างแยกต่างหากโดยมีชานต่อเชื่อมติดกัน สำหรับหลังคาของเรือนนอนมุงด้วยหญ้าคาหรือไม้แป้นเก็ด ฝาเรือน พื้นเรือนนิยมทำด้วยไม้แผ่นเรียกว่า ไม้แป้น ส่วนเสาจะใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นต้นๆ หรืออิฐก่อเป็นเสาใหญ่ มีบันไดไม้พาดไว้สำหรับขึ้นลง ส่วนเรือนครัวมุงด้วยหญ้าคา ฝาและพื้น จะนิยมทำด้วยฟากไม้ไผ่สับแผ่ออกเป็นแผ่น และเสาจะทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่นกัน
บ้านชาวไทเลยเป็นเรือนหลังใหญ่ ยกพื้นสูงมีระเบียงหรือชานยื่นออกมาหน้าเรือน มีเรือนครัวซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างแยกต่างหากโดยมีชานต่อเชื่อมติดกัน สำหรับหลังคาของเรือนนอนมุงด้วยหญ้าคาหรือไม้แป้นเก็ด ฝาเรือน พื้นเรือนนิยมทำด้วยไม้แผ่นเรียกว่า ไม้แป้น ส่วนเสาจะใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นต้นๆ หรืออิฐก่อเป็นเสาใหญ่ มีบันไดไม้พาดไว้สำหรับขึ้นลง ส่วนเรือนครัวมุงด้วยหญ้าคา ฝาและพื้น จะนิยมทำด้วยฟากไม้ไผ่สับแผ่ออกเป็นแผ่น และเสาจะทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่นกัน


จังหวัดเลย มีคนพื้นเมืองที่มีเชื้อชาติไทย ซึ่งเรียกตัวเองว่า ไทเลย เป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ก็มีคนเชื้อชาติจีน ชาวเขา ไทดำ ไทพวน
จังหวัดเลย มีคนพื้นเมืองที่มีเชื้อชาติไทย ซึ่งเรียกตัวเองว่า ไทเลย เป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ก็มีคนเชื้อชาติจีน ชาวเขา ไทดำ ไทพวน


==== ชาวไทดำ ====
==== ชาวไทดำ ====
'''ชาวไทดำ''' อพยพมาจากแคว้นพวน ในประเทศลาวปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านั้นอยู่ที่แคว้นสิบสองจุไท ซึ่งเป็นบ้านเกิดเดิมของชาวไทดำ ในอดีตแคว้นสิบสองจุไทเป็นเขตอาณาจักรสยาม ปัจจุบันอยู่ในประเทศเวียดนาม เมื่อปี [[พ.ศ. 2417]] เมื่อพวกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองเชียงขวาง ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญในแคว้นพวน จึงได้เริ่มอพยพลงมาตามเส้นทางเรื่อยๆ จนได้มาพักที่บ้านน้ำก้อใหญ่ ตำบลน้ำก้อ [[อำเภอหล่มสัก]] [[จังหวัดเพชรบูรณ์]] ต่อมามีชาวไทยดำกลุ่มหนึ่ง ได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขง ไปยังบ้านน้ำกุ่ม แขวงเวียงจันทน์ แต่ในขณะนั้นเขตเวียงจันทน์มีปัญหาการเจรจากับฝรั่งเศส ไทดำจึงข้ามแม่น้ำโขงกลับมาตั้งหมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน ซึ่งเป็นถิ่นฐานดั้งเดิม และถาวรจนถึงปัจจุบัน ที่หมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน เมื่อปี [[พ.ศ. 2438]] มี 15 ครัวเรือน ปัจจุบันชาวไทดำ มีจำนวน 825 ครัวเรือน มีอาชีพส่วนใหญ่ทางการเกษตรกรรม
'''ชาวไทดำ''' อพยพมาจากแคว้นพวน ในประเทศลาวปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านั้นอยู่ที่แคว้นสิบสองจุไท ซึ่งเป็นบ้านเกิดเดิมของชาวไทดำ ในอดีตแคว้นสิบสองจุไทเป็นเขตอาณาจักรสยาม ปัจจุบันอยู่ในประเทศเวียดนาม เมื่อปี [[พ.ศ. 2417]] เมื่อพวกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองเชียงขวาง ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญในแคว้นพวน จึงได้เริ่มอพยพลงมาตามเส้นทางเรื่อยๆ จนได้มาพักที่บ้านน้ำก้อใหญ่ ตำบลน้ำก้อ [[อำเภอหล่มสัก]] [[จังหวัดเพชรบูรณ์]] ต่อมามีชาวไทยดำกลุ่มหนึ่ง ได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขง ไปยังบ้านน้ำกุ่ม แขวงเวียงจันทน์ แต่ในขณะนั้นเขตเวียงจันทน์มีปัญหาการเจรจากับฝรั่งเศส ไทดำจึงข้ามแม่น้ำโขงกลับมาตั้งหมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน ซึ่งเป็นถิ่นฐานดั้งเดิม และถาวรจนถึงปัจจุบัน ที่หมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน เมื่อปี [[พ.ศ. 2438]] มี 15 ครัวเรือน ปัจจุบันชาวไทดำ มีจำนวน 825 ครัวเรือน มีอาชีพส่วนใหญ่ทางการเกษตรกรรม


==== ชาวไทพวน ====
==== ชาวไทพวน ====
บรรทัด 485: บรรทัด 485:


=== สนามกีฬา ===
=== สนามกีฬา ===
* [[ศูนย์กีฬาครบวงจร(Sport Complex University)มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย]] อำเภอเมืองเลย
* [[ศูนย์กีฬาครบวงจร(Sport Complex University)มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย|ศูนย์กีฬาครบวงจร (Sport Complex University) มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย]] อำเภอเมืองเลย


== ประเพณีและเทศกาลรื่นเริง ==
== ประเพณีและเทศกาลรื่นเริง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:58, 20 สิงหาคม 2562

จังหวัดเลย
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Loei
คำขวัญ: 
เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู
ถิ่นที่อยู่อริยสงฆ์ มั่นคงความสะอาด
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเลยเน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเลยเน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดเลยเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2560)
พื้นที่
 • ทั้งหมด11,424.612 ตร.กม.[1] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 14
ประชากร
 (พ.ศ. 2561)
 • ทั้งหมด642,773 คน[2] คน
 • อันดับอันดับที่ 40
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 71
รหัส ISO 3166TH-42
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองเซไล,บ้านแฮ่
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้สนสามใบ
 • ดอกไม้พุด (อินถะหวา)[3]
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งภายในศูนย์ราชการจังหวัดเลย ถนนมลิวรรณ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 42000
 • โทรศัพท์0 4281 2142
 • โทรสาร0 4281 1746
เว็บไซต์http://www.loei.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ไฟล์:Flag of the Loei Province.png
ธงประจำจังหวัด

จังหวัดเลย เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ตั้งอยู่ในแอ่งสกลนครและอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 540 กิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศที่งดงาม อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย

ประวัติศาสตร์

ก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนกเชียงแสน โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อสายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนกเชียงแสนที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้าง ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัดเก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้าย) ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐานว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้ายในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่ เป็น "เมืองด่านซ้าย" อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยางในที่สุด โดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพและอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้าย เป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยาง

นอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขต ล้านนา ต่อแดนล้านช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบ เมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นมาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พาผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไลถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า "บ้านแห่" (บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน"

ในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพิจารณาเห็นว่า หมู่บ้านแฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยน้ำหมาน และอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมือง เพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นเมืองเรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า เมืองเลย ขึ้นตือเมืองเพชรบูรณ์อีกทีหนึ่ง ต่อมา พ.ศ. 2440 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลยออกเป็น 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกุดป่อง อำเภอท่าลี่ (เดิมตำบลอาฮีเป็นอำเภอ แต่ถูกลดบทบาทลงเป็นตำบลเพราะอยู่ใกล้กับแม่น้ำเหือง เป็นผลมาจากการเสียดินแดนให้ลาวโดยประเทศฝรั่งเศส) อำเภอนากอก (ปัจจุบันอยู่ในประเทศลาว) อำเภอที่ตั้งเมืองคือ อำเภอกุดป่อง ต่อมา พ.ศ. 2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็น บริเวณลำน้ำเลย พ.ศ. 2449-2450 เปลี่ยนชื่อบริเวณลำน้ำเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และใน พ.ศ. 2450 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหือง ให้คงเหลือไว้เฉพาะ "เมืองเลย" โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็น "อำเภอเมืองเลย"

ภูมิศาสตร์

ที่ตั้งและอาณาเขต

แผนที่

จังหวัดเลยตั้งอยู่ทางตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมด 11,424.612 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,140,382 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 6.77 ของพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะทางจากกรุงเทพมหานคร 520 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดเลยตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูงโคราช หรือที่เรียกกันว่า แอ่งสกลนคร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิวเขาในแนวทางทิศเหนือใต้ และจะมีพื้นที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขาที่ไม่ใหญ่มากนัก สลับกันอยู่ในแนวเทือกเขา จังหวัดเลยมีภูเขาสูงกระจัดกระจาย โดยเฉพาะทางตะวันตกและทางด้านใต้ของจังหวัด ทั้งนี้ยังมีแหล่งน้ำสำคัญคือแม่น้ำโขงในบริเวณตอนบนของจังหวัด

ลักษณะภูมิอากาศ

เทอร์โมมิเตอร์ยักษ์ที่หน้าอำเภอภูเรือ

จังหวัดเลยเป็นจังหวัดที่เรียกได้ว่าหนาวที่สุดของประเทศ เคยมีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ -1.3 องศาเซลเซียส (2 มกราคม พ.ศ. 2517) อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 43.5 องศาเซลเซียส (25 เมษายน พ.ศ. 2517) อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีอยู่ที่ประมาณ 25.5-26.5 องศาเซลเซียส และจะมีอุณหภูมิที่หนาวจัดในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม โดยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 5.5 องศาเซลเซียส (พ.ศ. 2557)

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดเลย (พ.ศ. 2504-2533)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29
(84)
32
(90)
34
(93)
35
(95)
33
(91)
32
(90)
32
(90)
31
(88)
31
(88)
30
(86)
29
(84)
28
(82)
31.3
(88.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 14
(57)
17
(63)
19
(66)
22
(72)
23
(73)
23
(73)
23
(73)
23
(73)
22
(72)
21
(70)
18
(64)
15
(59)
20
(68)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 6
(0.24)
17
(0.67)
37
(1.46)
95
(3.74)
213
(8.39)
164
(6.46)
159
(6.26)
177
(6.97)
226
(8.9)
117
(4.61)
17
(0.67)
3
(0.12)
1,231
(48.46)
[ต้องการอ้างอิง]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: สนสามใบ (Pinus kesiya)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู ถิ่นที่อยู่อริยสงฆ์ มั่นคงความสะอาด
  • ลักษณะรูปร่างของจังหวัดเลย: ลักษณะรูปร่างของจังหวัดเลยมีรูปร่างคล้ายกับ "ศีรษะของลูกไดโนเสาร์พันธุ์ไทรเซอราทอปส์ที่ไม่มีเขา"

หน่วยการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แผนที่อำเภอในจังหวัดเลย

การปกครองแบ่งออกเป็น 14 อำเภอ 89 ตำบล 840 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองเลย
  2. อำเภอนาด้วง
  3. อำเภอเชียงคาน
  4. อำเภอปากชม
  5. อำเภอด่านซ้าย
  6. อำเภอนาแห้ว
  7. อำเภอภูเรือ
  8. อำเภอท่าลี่
  9. อำเภอวังสะพุง
  10. อำเภอภูกระดึง
  11. อำเภอภูหลวง
  12. อำเภอผาขาว
  13. อำเภอเอราวัณ
  14. อำเภอหนองหิน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

2 เทศบาลเมือง และ 27 เทศบาลตำบล

ประชากรศาสตร์

ลักษณะทางสังคม

จังหวัดเลยมีโครงสร้างทางสังคมแบบประเพณีนำ คนพื้นเมืองส่วนใหญ่ต่างจากคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั่วๆ ไปซึ่งเป็นคนไทยเผ่าพวน แต่เป็นคนไทยเผ่าลื้อจากลานช้างและหลวงพระบาง เช่นเดียวกัน

กลุ่มเชื้อชาติประชากร

ชาวไทเลย

ไทเลย เป็นชื่อเรียกคนเมืองเลย ในประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า คนเมืองเลยคือกลุ่มชนที่อพยพจากชายแดนตอนเหนืออาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากไทหลวงพระบาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองเซไล (บ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง ปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2396 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านแห่ (บ้านแฮ่ปัจจุบัน) ได้ตั้งบ้านเรือนเรียกว่าเมืองเลย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมืองเลยก็รวมตัวกันเป็นเมืองใหญ่ โดยการรวมตัวของ อำเภอกุดป่อง อำเภอท่าลี่ ซึ่งขึ้นกับมณฑลอุดร อำเภอด่านซ้าย ซึ่งขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก เมืองเชียงคาน ซึ่งขึ้นกับเมืองพิชัย อำเภอต่าง ๆ เหล่านี้จึงโอนขึ้นกับเมืองเลยทั้งหมดตั้งแต่ พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา

ชาวไทเลยจะมีนิสัยใจคอเหมือนกับชนเชื้อชาติโบราณซึ่งไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงไปจากดั้งเดิม มีสำเนียงพูดที่แปลกและนิ่มนวล พูดสุภาพและไม่ค่อยพูดเสียงดัง กิริยามารยาทดีงาม อารมณ์เยือกเย็นไม่วู่วาม มีนิสัยรักความสงบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ รักถิ่นที่อยู่ไม่ค่อยอพยพไปอยู่ที่อื่น ส่วนทางด้านวัฒนธรรมประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา ได้แก่ “ฮีตสิบสอง–คองสิบสี่” คือการทำบุญตามประเพณีทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี

บ้านชาวไทเลยเป็นเรือนหลังใหญ่ ยกพื้นสูงมีระเบียงหรือชานยื่นออกมาหน้าเรือน มีเรือนครัวซึ่งส่วนใหญ่จะสร้างแยกต่างหากโดยมีชานต่อเชื่อมติดกัน สำหรับหลังคาของเรือนนอนมุงด้วยหญ้าคาหรือไม้แป้นเก็ด ฝาเรือน พื้นเรือนนิยมทำด้วยไม้แผ่นเรียกว่า ไม้แป้น ส่วนเสาจะใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นต้นๆ หรืออิฐก่อเป็นเสาใหญ่ มีบันไดไม้พาดไว้สำหรับขึ้นลง ส่วนเรือนครัวมุงด้วยหญ้าคา ฝาและพื้น จะนิยมทำด้วยฟากไม้ไผ่สับแผ่ออกเป็นแผ่น และเสาจะทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่นกัน

จังหวัดเลย มีคนพื้นเมืองที่มีเชื้อชาติไทย ซึ่งเรียกตัวเองว่า ไทเลย เป็นกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ที่สุด นอกจากนี้ก็มีคนเชื้อชาติจีน ชาวเขา ไทดำ ไทพวน

ชาวไทดำ

ชาวไทดำ อพยพมาจากแคว้นพวน ในประเทศลาวปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านั้นอยู่ที่แคว้นสิบสองจุไท ซึ่งเป็นบ้านเกิดเดิมของชาวไทดำ ในอดีตแคว้นสิบสองจุไทเป็นเขตอาณาจักรสยาม ปัจจุบันอยู่ในประเทศเวียดนาม เมื่อปี พ.ศ. 2417 เมื่อพวกฮ่อยกกำลังมาตีเมืองเชียงขวาง ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญในแคว้นพวน จึงได้เริ่มอพยพลงมาตามเส้นทางเรื่อยๆ จนได้มาพักที่บ้านน้ำก้อใหญ่ ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมามีชาวไทยดำกลุ่มหนึ่ง ได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขง ไปยังบ้านน้ำกุ่ม แขวงเวียงจันทน์ แต่ในขณะนั้นเขตเวียงจันทน์มีปัญหาการเจรจากับฝรั่งเศส ไทดำจึงข้ามแม่น้ำโขงกลับมาตั้งหมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน ซึ่งเป็นถิ่นฐานดั้งเดิม และถาวรจนถึงปัจจุบัน ที่หมู่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน เมื่อปี พ.ศ. 2438 มี 15 ครัวเรือน ปัจจุบันชาวไทดำ มีจำนวน 825 ครัวเรือน มีอาชีพส่วนใหญ่ทางการเกษตรกรรม

ชาวไทพวน

ชาวไทพวน ได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านบุฮมและบ้านกลาง อำเภอเชียงคาน จากถิ่นฐานเดิมที่เมืองเตาไห หลวงพระบาง ประเทศลาว เมื่อครั้งพวกจีนฮ่อ กลา เวียง รุกรานเมืองเตาไห

ชาวไทใต้

ชาวไทใต้ อพยพมาจากภาคอีสานเข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเลย ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดยโสธร เมื่อ พ.ศ. 2506 จะพบชาวไทใต้จำนวนมากที่อำเภอเอราวัณ และอำเภอนาด้วง ภาษาพูด แตกต่างจากภาษาไทเลย เพราะได้สืบทอดมาจากถิ่นเดิมของตน เช่น ภาษาไทยอีสาน ภาษาถิ่นอุบล ภาษาไทยโคราช

ภาษาของคนจังหวัดเลย

มีสำเนียงภาษาแตกต่างจากภาษาพูดของคนในจังหวัดภาคอีสานอื่น ๆ เพราะกลุ่มคนที่อาศัยปัจจุบันนี้มีประวัติการอพยพเคลื่อนย้ายจากเมืองหลวงพระบางแห่งอาณาจักรล้านช้าง ต่อมาต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ชาวหลวงพระบางและชาวเมืองบริเวณใกล้เคียงที่อพยพมาเมืองเลยได้นำวัฒนธรรมด้านภาษาอีสานถิ่นอื่นเข้ามาด้วย โดยภาษาเลยนั้นจัดอยู่ในกลุ่มหลวงพระบางอันประกอบด้วยภาษาเมืองแก่นท้าว ภาษาอำเภอด่านซ้าย และภาษาอำเภอเมืองเลย ดังนั้นสำเนียงพูดของชาวไทเลยจึงมีลักษณะการพูดเหมือนชาวหลวงพระบาง แต่บางพยางค์ออกเป็นเสียงสูงคล้ายสำเนียงพูดของชาวปักษ์ใต้ ฟังดูไพเราะนุ่มนวลจึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคนเมือง ส่วนคนในวังสะพุงจะพูดเสียงห้วนกว่าชาวเลยถิ่นอื่น

การขนส่ง

จังหวัดเลยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 540 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดเลยได้ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัวและรถประจำทาง

  • การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว จากกรุงเทพมหานคร สามารถไปได้ 2 เส้นทาง คือ
    1. ใช้ถนนพหลโยธิน ผ่านจังหวัดสระบุรี แล้วแยกใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ จนถึงอำเภอหล่มสัก ต่อด้วยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 203 เดิม) ผ่านอำเภอหล่มเก่า อำเภอภูเรือ เข้าสู่จังหวัดเลย
    2. ใช้ถนนพหลโยธิน จนถึงจังหวัดสระบุรี แล้วแยกใช้ถนนมิตรภาพ จนถึงอำเภอสีคิ้ว แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอด่านขุนทด อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ อำเภอแก้งคร้อ อำเภอภูเขียว อำเภอชุมแพ อำเภอภูกระดึง อำเภอหนองหิน อำเภอวังสะพุง จนถึงจังหวัดเลย
  • การเดินทางโดยทางเครื่องบิน โดยลงที่ท่าอากาศยานเลย มีสายการบิน นกแอร์ และไทยแอร์เอเชีย จาก ท่าอากาศยานดอนเมือง - ท่าอากาศยานเลย และ ท่าอากาศยานเลย - ท่าอากาศยานดอนเมืองให้บริการทุกวัน
  • การเดินทางโดยรถโดยสาร รถโดยสารจากกรุงเทพมหานคร สายกรุงเทพฯ-เมืองเลย (สาย 29 และ 938) มีผู้ประกอบการหลายราย เช่น บริษัท ขนส่ง จำกัด(สาย 29) แอร์เมืองเลย (สาย29),ขอนแก่นทัวร์ (สาย 938),ชุมแพทัวร์(สาย 29),ภูกระดึงทัวร์,ศิขรินทร์ทัวร์ และสาย 14 กรุงเทพ - ภูเรือ ของ บริษัท เพชรประเสริฐ จำกัด และมีรถโดยสารระหว่างภาค สาย 808 นครราชสีมา-เชียงคาน และสาย 824 เลย-พัทยา-ระยอง ของบริษัทนครชัยขนส่ง สาย 636 เชียงใหม่-อุดรธานี ของบริษัทจักรพงษ์ทัวร์และอ.ศึกษาทัวร์ สาย 661 เชียงราย-นครพนม ของบริษัทสมบัติทัวร์ และจักรพงษ์ทัวร์ และมีสายอุดรธานี-พิษณุโลก ของนครไทยแอร์
  • การเดินทางโดยรถไฟ จังหวัดเลยไม่มีเส้นทางรถไฟ ต้องเดินทางมาลงที่อุดรธานีแล้วต่อรถโดยสารมาจังหวัดเลย

รายชื่อถนนในจังหวัดเลย

รายชื่อถนนในจังหวัดเลย
ชื่อถนน รายละเอียดของเส้นทาง สถานที่บนถนน
ทล.21
ทล.210
ทล.211
ทล.2195
ถนนคีรีรัฐ เริ่มต้นที่บริเวณหัวสะพานข้ามแม่น้ำหมาน (คอสะพานบ้านแฮ่) ถนนสถลเชียงคาน และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณสามแยก กม.0 ถนนเลย-เชียงคาน ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
  • สมาคมพุทธเมตตาเทวาสงเคราะห์ (หน่วยกู้ภัยเทวา)
ถนนเจริญรัฐ เริ่มต้นที่บริเวณสามแยกศรีสะอาด (หน้าโรงเรียนชุมชนเทศบาล 1) ถนนพิพัฒนมงคล ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณสามแยกนาอาน ถนนมลิวัลย์ ตำบลนาอาน อำเภอเมืองเลย
  • วัดโพธิ์ชัย
  • วัดศรีบุญเรือง
  • วัดโพนงาม
  • วัดโพนชัย
  • สำนักงานเทศบาลเมืองเลย
  • โรงเรียนชุมชนเทศบาล 2
  • สำนักงานอุตุนิยมวิทยาจังหวัดเลย
  • วิทยาลัยเทคนิคเลย
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาเลย
  • สำนักงานเกษตรจังหวัดเลย
  • ธนาคารกรุงไทย สาขาเลย
  • ธนาคารออมสิน สาขาเลย
  • ธนาคารกรุงเทพ สาขาเลย
  • ตลาดเย็นเทศบาลเมืองเลย
  • จวนผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
  • วงเวียนหอนาฬิกา
ถนนนกแก้ว เริ่มต้นที่บริเวณหน้าวัดวิเวกธรรมคุณ (วัดนาฮุง)ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่วงเวียนน้ำพุ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
  • สำนักงานอัยการจังหวัดเลย
  • ศาลจังหวัดเลย
  • ธนาคารกรุงไทย สาขาศาลากลางจังหวัดเลย
ถนนพาณิชย์พัฒนา เริ่มต้นที่บริเวณแยกตะวันฉาย ถนนราษฎรอุทิศ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณถนนร่วมพัฒนา ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย สมาคมพ่อค้าจังหวัดเลย
ถนนพิพัฒนมงคล เริ่มต้นที่บริเวณร้านอาหารครัวพิพัฒน์ ถนนมลิวัลย์ อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณสามแยกศรีสะอาด (หน้าโรงเรียนชุมชนเทศบาล 1 ) ถนนวิสุทธิเทพ
  • วัดศรีภูมิ
  • ศูนย์ประสานงานประชาสังคมจังหวัดเลย
  • สถานีวิทยุเด็กและเยาวชนจังหวัดเลย
  • สภ.เมืองเลย
  • โรงเรียนชุมชนเทศบาล 1
  • กศน.เลย
  • โรงเรียนอนุบาลเลย
  • โรงจำนำเลย
ถนนฟากเลย เริ่มต้นที่บริเวณสะพานกฤษ (สะพานตลาดเช้า) ตำบลกุดป่องอำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณแยกฟากเลย ถนนเลย-นาด้วง ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย วัดศรีสว่าง
ถนนมะขามหวาน เริ่มต้นที่บริเวณแยกกกม่วงชี ถนนวิสุทธิเทพ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณแยกสามอนงค์ ถนนเลย-เชียงคาน ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
  • หมู่บ้านพุทธรักษา
  • ศูนย์วัฒนธรรมผีตาโขน อำเภอเมือง
  • บ้านประวัติศาตร์ ซูเปอร์สตาร์ ดีเจโน๊ต
  • พิพิธภัณฑ์ซุปเปอร์สตาร์ คู่หู ดีเจโน๊ต ดีเจนิว
ถนนร่วมจิต เริ่มต้นที่บริเวณแยกโรงจำนำ ถนนพิพัฒนมงคล ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณแยกชุมสาย ถนนชุมสาย ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเลย
ถนนร่วมใจ เริ่มต้นที่บริเวณแยกหน้าโรงเรียนเมืองเลย ถนนมลิวัลย์ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณแยกสะพานกฤษ (ตลาดเช้า) ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
  • ธนาคารทหารไทย สาขาเลย
  • ธนาคารธนชาต สาขาเลย
  • ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเลย
ถนนร่วมพัฒนา เริ่มต้นที่บริเวณแยกหน้าโรงเรียนอนุบาลเลย ถนนร่วมใจ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณแยกปตท.ใน ถนนนกแก้ว ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
ถนนชุมสาย เริ่มต้นที่บริเวณวงเวียนน้ำพุ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณแยกอาชีวะ ถนนเจริญรัฐ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
  • ธนาคาร ธกส. สาขาเลย
  • บริษัท ทีโอที จำกัด สาขาเลย
ถนนราษฎรอุทิศ เริ่มต้นที่บริเวณแยกเพื่อนช่าง ถนนนกแก้ว ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณแยกวัดศรีภูมิ ถนนพิพัฒน์มงคล ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
ถนนเลย-เชียงคาน เริ่มต้นที่บริเวณสามแยก กม.0 (บรรจบถนนมลิวัลย์และถนนเลย-ด่านซ้าย) และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณสามแยกเชียงคาน อำเภอเชียงคาน
  • ศาลไต่เซี่ยฮุกโจ้ว (เจ้าพ่อเห้งเจีย)
ถนนเลย-ด่านซ้าย เริ่มต้นที่บริเวณสามแยก กม.0 (บรรจบถนนมลิวัลย์และถนนเลย-เชียงคาน) และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณอำเภอด่านซ้าย
ถนนเลย-นาด้วง เริ่มต้นที่บริเวณแยกตึกเขียว ถนนวิสุทธิเทพ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่อำเภอนาด้วง
ถนนสถลเชียงคาน เริ่มต้นที่บริเวณวงเวียนน้ำพุ และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณสามแยกทองคำ ถนนเลย-เชียงคาน กศน.เลย
ถนนเอื้ออารี เริ่มต้นที่บริเวณแยกศรีสวัสดิ์ ถนนร่วมจิต ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณแยกพระเครื่อง ถนนเจริญรัฐ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
  • ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนเอื้ออารี
  • ธนาคารกสิกรไทย สาขาเลย
ถนนวิสุทธิเทพ เริ่มต้นที่บริเวณแยกศรีสะอาด ถนนพิพัฒนมงคล ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจบที่บริเวณสะพานช่อชัยพฤกษ์ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
  • วัดศรีสุทธาวาส (พระอารามหลวง)
  • โรงเรียนการกุศลหลวงปู่ศรีจันทร์
  • วัดกกม่วงชี
ถนนศรีจันทร์พัฒนา เริ่มต้นที่บริเวณแยก อ.การช่าง ถนนสถลเชียงคาน ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้ิ้นสุดบรรจบที่บริเวณแยกเลยหลง ถนนวิสุทธิเทพ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
  • บริษัท กสท. จำกัด สาขาเลย
ถนนทุ่งนาเมี่ยงตัดใหม่ เริ่มต้นที่บริเวณแยกทุ่งนาเมี่ยง ถนนศรีจันทร์พัฒนา ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย และสิ้นสุดบรรจงที่บริเวณแยกหมู่บ้านพุทธรักษา ถนนมะขามหวาน ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย
ถนนมลิวรรณ
ถนนสีคิ้ว-เชียงคาน

ระยะทางจากตัวจังหวัด

แหล่งท่องเที่ยว

อุทยานแห่งชาติ/วนอุทยาน/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

จังหวัดเลยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติทั้งภูเขาและป่าไม้มากมาย จนได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งทะเลภูเขา เป็น1ใน5จังหวัด(5จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ;จังหวัดนครราชสีมา-แม่น้ำมูล-ลำมูลบน-ลำตะคอง,จังหวัดชัยภูมิ-แม่น้ำชี-ลำน้ำพรหม-ลำน้ำเชิญ,จังหวัดเลย-แม่น้ำเลย-ลำน้ำพอง-แม่น้ำเหือง,จังหวัดอุดรธานี-แม่น้ำสงคราม-แม่น้ำปาว-ลำน้ำห้วยหลวงและจังหวัดสกลนคร-แม่น้ำสงคราม-ลำน้ำพุง-ลำน้ำก่ำ) ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุทยาน/วนอุทยาน/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่สำคัญดังนี้

  1. อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง
  2. อุทยานแห่งชาติภูเรือ ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยูที่ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ
  3. อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย (ชื่อเดิมคืออุทยานแห่งชาตินาแห้ว) ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่อำเภอนาแห้ว
  4. อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้าที่ทำการอุทยานฯตั้งอยุ่ที่อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก(พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-เลย)ภูลมโล อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
  5. อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น(ขอนแก่น-เลย)
  6. อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม ที่ทำการอุทยานฯตั้งอยู่ที่บ้านสว่าง ตำบลนายูง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี(อุดรธานี-เลย-หนองคาย)
  7. วนอุทยานถ้ำแสงธรรมพรหมมาวาส ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลเจริญ อำเภอปากชม
  8. วนอุทยานน้ำตกห้วยเลา ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลแก่งศรีภูมิ อำเภอภูหลวง
  9. วนอุทยานผางาม ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยู่ที่อำเภอหนองหิน
  10. วนอุทยานภูบ่อบิด ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลนาอาน อำเภอเมือง
  11. วนอุทยานภูผาล้อม ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำสวย อำเภอเมือง
  12. วนอุทยานหริรักษ์ ที่ทำการวนอุทยานฯตั้งอยูที่ตำบลกกทอง อำเภอเมือง
  13. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯตั้งอยู่ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
  14. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ-ภูกระแต ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯตั้งอยู่ที่อำเภอวังสะพุง

สวนสาธารณะ/สวนพฤกษศาสตร์

  1. สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติ100ปี กรมป่าไม้ ปากปวน
  2. สวนพฤกษศาสตร์ สวนรุกขชาติภูข้าว จังหวัดเลย

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย
ภาพเมืองเชียงคาน

พระตำหนักที่สำคัญ

สนามกีฬา

ประเพณีและเทศกาลรื่นเริง

ประเพณีผีตาโขน

การศึกษา

บุคคลมีชื่อเสียง

พระเถระ
นักแสดง/บุคคลมีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. สำนักงานจังหวัดเลย. "ข้อมูลจังหวัดเลย: สภาพทั่วไป สิ่งแวดล้อม และการวิเคราะห์." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.loei.go.th/data/POP40.DOC [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2561. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2562.
  3. ประวัติจังหวัดเลย.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

17°29′N 101°44′E / 17.49°N 101.73°E / 17.49; 101.73