มัสยิดยะวา
มัสยิดยะวา | |
---|---|
مسجد جاوا | |
ศาสนา | |
ศาสนา | ศาสนาอิสลาม |
ที่ตั้ง | |
ที่ตั้ง | ซอยโรงน้ำแข็ง ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร |
ประเทศ | ประเทศไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 13°42′57″N 100°31′20″E / 13.715747°N 100.522085°E |
สถาปัตยกรรม | |
เสร็จสมบูรณ์ | พ.ศ. 2448 |
มัสยิดยะวา (อินโดนีเซีย: Masjid Jawa; ยาวี: مسجد جاوا) เป็นมัสยิดเก่าแก่ในชุมชนชาวไทยเชื้อสายชวาในซอยโรงน้ำแข็ง - ซอยเจริญราษฎร์ 1 บริเวณแขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเด่นคือหลังคาทรงแหลมซ้อนกันหลายชั้นเป็นหลังคาทรง ตาจุก (Tajug) หรือ เมอรู (Meru) หลังคาแบบนี้วิวัฒนาการมาจากหลังคาเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมชวา ที่เรียกว่า "จกโล" โดยเพิ่มยอดแหลมจนถึงปลาย หลังคาแบบตาจุกนี้จะสร้างในศาสนสถานเท่านั้น ถือเป็นลำดับขั้นสูงสุดในหลังคาแบบชวา และมีการสร้าง "บาแล" หรือ "บาไล" (Balai) เป็นบริเวณนั่งพักผ่อนพบปะ ซึ่งเป็นลักษณะของมัสยิดแบบอินโดนีเซีย ถึงแม้จะเป็นมัสยิดของชาวยะวา (ชวา) แต่ก็เป็นศูนย์รวมจิตใจของมุสลิมในชุมชนทั้งเชื้อสายชวาและเชื้อสายมลายูตลอดมา[1]
เดิมทีมุสลิมในชุมชนจะหมุนเวียนบ้านแต่ละคนเพื่อใช้เป็นสถานที่ละหมาด ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 จึงได้สร้างมัสยิดขึ้นบนที่ดินของชาวชวานายหนึ่งที่อยู่ภายใต้บัญชาของฮอลันดาในซอยโรงน้ำแข็งจนถึงปัจจุบัน[2] ตรงข้ามกับมัสนิดเป็นกุโบร์หรือสุสานมุสลิมขนาดใหญ่ เรียกว่าสุสานไทย-มุสลิม