ข้ามไปเนื้อหา

ฮิกซอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮิกซอส
ชายที่มีชื่อว่า "อาบีชาชาวฮิกซอส"
(𓋾𓈎𓈉 ḥḳꜣ-ḫꜣswt, Heqa-kasut คือ "Hyksos") ผู้นำกลุ่ม อามุ
ที่สุสานของคนุมโฮเทปที่ 2 (ประมาณ 1,900 ปีก่อน ค.ศ.)[1][2]
นี่เป็นหลักฐานแรกสุดของการใช้ศัพท์ "ฮิกซอส"[3]

ในวิทยาอียิปต์สมัยใหม่ ฮิกซอส (อังกฤษ: Hyksos, ออกเสียง: /ˈhɪksɒs/; ภาษาอียิปต์: ḥqꜣ(w)-ḫꜣswt, การสะกดภาษาอียิปต์: hekau khasut,[4] "ผู้ปกครองดินแดนต่างชาติ"; กรีกโบราณ: Ὑκσώς, Ὑξώς) เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์จากราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์[5] (ครองราชย์ประมาณ 1,650–1,550 ปีก่อน ค.ศ.)[a] ที่มีศูนย์รวมอำนาจอยู่ที่อวาริสบนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ใน Aegyptiaca ประวัติศาสตร์อียิปต์ที่เขียนโดยแมนิโธ นักบวชและนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก-อียิปต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์กาล คำว่าฮิกซอสใช้กล่าวถึงผู้คนที่น่าจะมีต้นกำเนิดจากเซมิติกตะวันตกหรือลิแวนต์[1][9] ในขณะที่แมนิโธแสดงให้เห็นถึงพวกฮิกซอสว่าเป็นผู้บุกรุกและฝ่ายต่อต้าน การตีความนี้ก็ยังคงเป็นข้อสงสัยในอียิปต์วิทยาสมัยใหม่[10] ในทางกลับกัน การปกครองของพวกฮิกซอสอาจสืบต่อจากชาวคานาอันกลุ่มที่ตั้งรกรากในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ตั้งแต่สิ้นสุดราชวงศ์ที่ 12 เป็นต้นมา และน่าจะแยกออกจากการควบคุมของชาวอียิปต์ที่กำลังระส่ำระสายในช่วงใดช่วงหนึ่งของราชวงศ์ที่ 13[11]

พวกฮิกซอสเป็นชาวต่างชาติกลุ่มแรกที่ปกครองอียิปต์[12] ข้อมูลหลายอย่างของพวกเขา เช่น ขอบเขตที่แท้จริงของอาณาจักรหรือแม้แต่พระนามและลำดับกษัตริย์ก็ยังไม่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัด แม้ว่าพวกฮิกซอสนำขนบธรรมเนียมหลายอย่างจากลิแวนต์หรือคานาอัน พวกเขาก็นำขนบธรรมเนียมอียิปต์มาใช้ด้วย[13] พวกเขายังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีหลายอย่างเข้าสู่อียิปต์ เช่น ม้า รถม้า เช่นเดียวกันกับโคเปชกับธนูประกอบ (composite bow) แต่ทฤษฎีนี้ยังคงเป็นที่โต้แย้ง[14]

ใช่ว่าพวกฮิกซอสควบคุมทั้งอียิปต์ แต่พวกเขาร่วมปกครองกับราชวงศ์ที่สิบหกและราชวงศ์ที่สิบเจ็ดซึ่งมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ในธีบส์[15] สงครามระหว่างพวกฮิกซอสกับฟาโรห์ราชวงศ์ที่ 17 ตอนปลายในรัชสมัยฟาโรห์อาโมสที่ 1 ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์ ทำให้พวกฮิกซอสพ่ายแพ้ไป[16] หลายศตวรรษต่อมา ชาวอียิปต์มักพรรณนาถึงพวกฮิกซอสว่าเป็นผู้นำต่างชาติที่กระหายเลือดและเป็นศัตรู

ชื่อ

[แก้]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ศัพท์ "ฮิกซอส" แผลงมาจากคำภาษากรีกว่า Ὑκσώς (Hyksôs) ซึ่งมาจากวลีภาษาอียิปต์ว่า 𓋾𓈎𓈉 (ḥḳꜣ-ḫꜣswt หรือ ḥḳꜣw-ḫꜣswt, "hekau khasut") แปลว่า "ผู้ปกครองดินแดนต่างชาติ"[17][18] รูปภาษากรีกน่าจะเพี้ยนมาจากรูป Ὑκουσσώς (Hykoussôs) อีกทอดหนึ่ง [19]

โยเซพุส นักประวัติศาสตร์ชาวยิวในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ให้ความหมายว่า "กษัตริย์คนเลี้ยงแกะ" หรือ "กษัตริย์ที่ถูกจองจำ" ในผลงาน Contra Apion ที่ซึ่งเขาพรรณนาพวกฮิกซอสตามที่ปรากฏในงานของแมนิโธ นักประวัติศาสตร์กรีก-อียิปต์[20] การแปลความหมายของโยเซพุสอาจมาจากการออกเสียงวลี ḥḳꜣ-ḫꜣswt เป็น ḥḳꜣ-šꜣsw ซึ่งในสมัยนั้นเข้าใจกันว่าแปลว่า "เจ้าแห่งคนเลี้ยงแกะ"[21] ยังไม่เป็นที่กระจ่างว่าคำแปลนี้เป็นของแมนิโธหรือไม่ การแปลผลงานชิ้นหนึ่งของแมนิโธเป็นภาษาอาร์มีเนียของยูซีเบียส นักประวัติศาสตร์ยุคโบราณตอนปลาย ได้ให้คำแปลที่ถูกต้องว่า "กษัตริย์ต่างชาติ"[22]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. วันที่โดยประมาณแตกต่างกันไปตามแหล่งข้อมูล Bietak ตั้งไว้ที่ประมาณ 1,640–1,532 ปีก่อน ค.ศ.[6] Schneider ตั้งไว้ที่ประมาณ 1,639–1,521 ปีก่อน ค.ศ.[7] และ Stiebing ตั้งในประมาณ 1,630–1,530 ปีก่อน ค.ศ.[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Van de Mieroop 2011, p. 131.
  2. Bard 2015, p. 188.
  3. Willems 2010, p. 96.
  4. Bourriau 2000, p. 174.
  5. Bietak 2001, p. 136.
  6. Bietak 2012, p. 1.
  7. Schneider 2006, p. 196.
  8. Stiebing 2009, p. 197.
  9. Mourad 2015, p. 10.
  10. Ilin-Tomich 2016, p. 5.
  11. Bourriau 2000, pp. 177–178.
  12. Morenz & Popko 2010, p. 104.
  13. Bourriau 2000, p. 182.
  14. Ilin-Tomich 2016, p. 12.
  15. Ilin-Tomich 2016, p. 7.
  16. Morenz & Popko 2010, pp. 108–109.
  17. Flammini 2015, p. 240.
  18. Ben-Tor 2007, p. 1.
  19. Schneider 2008, p. 305.
  20. Mourad 2015, p. 9.
  21. Morenz & Popko 2010, pp. 103–104.
  22. Verbrugghe & Wickersham 1996, p. 99.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]