ราโฮเทป (พระราชโอรสในฟาโรห์สเนฟรู)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราโฮเทป
เจ้าชายแห่งอียิปต์โบราณ
Rahotep
รูปปั้นสลักของราโฮเทป
ฝังพระศพมาสตาบา, ไมดุม
พระชายาโนเฟรต
พระราชบุตรดเจดิ, อิทู, เนเฟอร์คาอู, เมเรเรต, เนดเจมอิบ, เซตเทต
พระราชบิดาฟาโรห์สเนฟรู หรือ ฟาโรห์ฮูนิ
พระราชมารดาพระมเหสีของฟาโรห์สเนฟรูหรือฮูนิ
ศาสนาศาสนาอียิปต์โบราณ
อาชีพนักบวชแห่งรา

ราโฮเทป เป็นเจ้าชายแห่งอียิปต์โบราณในสมัยราชวงศ์ที่สี่ พระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์สเนฟรู กับพระมเหสีพระองค์แรกของพระองค์[1] แม้ว่า ดร.ซาฮี ฮาวาสส์ มีข้อคิดเห็นว่าพระบิดาของพระองค์ คือ ฟาโรห์ฮูนิ[2]

ราโฮเทป (R 'htp) หมายถึง "ความพึงพอใจแห่งรา" รา เป็นพระเจ้าของดวงอาทิตย์ โฮเทป หมายถึง "ความพึงพอใจ" (ความหมายอีกอย่างคือ 'ความสงบแห่งรา', 'ความสำราญใจแห่งรา')
D21
D36
R4
X1 Q3

ชีวประวัติ[แก้]

ชื่อของพระองค์ได้ถูกจารึกไว้บนรูปปั้นอันงดงามซึ่งมีรูปปั้นภรรยาของพระองค์ ซึ่งถูกขุดขึ้นมาจากมาสตาบาของพระองค์ที่ไมดุม ในปีค.ศ.1871 โดยออกัส มาเรต อธิบายว่าพระองค์เป็นนักบวชชั้นสูงของเทพราที่เมิองเฮลิโอโพลิส[3] นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับการยกย่องให้เป็นขุนนางชั้นสูง "พระราชโอรสของฟาโรห์"[4]

พระเชษฐาของพระองค์ คือ เจ้าชายเนเฟอร์มาอัตที่ 1 และพระอนุชาของพระองค์ คือ ราเนเฟอร์ พระองค์ได้สิ้นพระชนม์เมื่อวัยหนุ่ม และพระเชษฐาร่วมพระบิดาคือ เจ้าชายคูฟูก็กลายเป็นฟาโรห์หลังจากการสิ้นพระชนม์ของฟาโรห์สเนฟรู[5]

พระชายาของเจ้าชายราโฮเทป คือ โนเฟรต โดยไม่ทราบว่าใครคือบิดาและมารดา

พระองค์กับพระชายามีบุตรชายทั้งหมดสามพระองค์คือ ดเจดิ, อิทู และเนเฟอร์คาอู และมีบุตรสาวสามพระองค์คือ เมเรเรต, เนดเจมอิบ และเซตเทต โดยทั้งหมดได้ปรากฏบนภาพสลักในหลุมฝังพระศพของพระองค์

อ้างอิง[แก้]

  1. Snofru, Rahotep's father
  2. Hawass, Zahi A. (2006). Mountains of the Pharaohs: The Untold Story of the Pyramid Builders. Doubleday Books. p. 22. ISBN 978-0-385-50305-1.
  3. Rice, Michael (1999). Who's who in Ancient Egypt. Routledge. p. 164. ISBN 978-0-415-15448-2.|
  4. El-Shahawy, Abeer (2005). The Egyptian Museum in Cairo: A Walk Through the Alleys of Ancient Egypt. Dar al-Mushaf. p. 71. ISBN 978-977-17-2183-3.
  5. Rahotep and Nofret
  6. The Oxford History of Ancient Egypt, Ian Shaw, c 2000, p. 129.