เจ้าจอมมารดาทองสุก ในรัชกาลที่ 1
เจ้าจอมมารดาทองสุก | |
---|---|
เจ้าหญิงแห่งเวียงจันทน์ พระสนม | |
ประสูติ | ณ นครเวียงจันทน์ อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ |
สิ้นพระชนม์ | พ.ศ. 2346 |
คู่อภิเษก | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
พระราชบุตร | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี |
พระราชบิดา | พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 4 |
พระราชมารดา | พระนางคำมูล |
เจ้าจอมมารดาเจ้านางทองสุก เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ประวัติ
[แก้]เจ้าจอมมารดาเจ้านางทองสุก มีนามเดิมว่า เจ้าหญิงคำสุกแห่งเวียงจันทน์ มีพระฉายาว่า เจ้านางเขียวค้อม ประสูติที่นครเวียงจันทน์ ถือกำเนิดในราชวงศ์เวียงจันทน์ เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าอินทวงกับพระนางคำมูล[1] พระเจ้าอินทวงเป็นเจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ในสมัยตกเป็นประเทศราชของสยาม และเป็นพระราชนัดดา (หลานปู่และหลานอา) ในพระเจ้าสิริบุญสารและเจ้าอนุวงศ์ พระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ พระองค์ได้เสด็จตามพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มาจากนครเวียงจันทน์ พร้อมกับพระราชบิดาและพระบรมวงศานุวงศ์คือ เจ้านันทเสน เจ้าพรหมวงศ์ เจ้าอนุวงศ์ เจ้านางแก้วยอดฟ้า พร้อมด้วยขุนนางข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชไปรบชนะเมืองเวียงจันทน์ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน ตั้งแต่เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เหตุการณ์ครั้งนั้นสยามได้อัญเชิญพระแก้วมรกตพร้อมทรัพย์สินมีค่าอื่น ๆ มาสู่ราชสำนักกรุงธนบุรีด้วย
เจ้าจอมมารดาเจ้านางทองสุก สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2346 หลังจากที่พระองค์เจ้าจันทบุรี มีพระชนมายุได้ 5 ปี
พระราชบุตร
[แก้]เจ้าจอมมารดาเจ้านางทองสุกมีพระราชธิดา 1 พระองค์คือ
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทบุรี ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2341 ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เป็นพระมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. 2381
พระราชตระกูล
[แก้]16. พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 | ||||||||||||||||
8. เจ้าองค์ลอง | ||||||||||||||||
17. พระอัครมเหสี | ||||||||||||||||
4. พระเจ้าสิริบุญสาร | ||||||||||||||||
9. พระอัครมเหสี | ||||||||||||||||
2. พระเจ้าอินทวงศ์ | ||||||||||||||||
5. พระอัครมเหสี | ||||||||||||||||
1. เจ้าจอมมารดาทองสุก | ||||||||||||||||
3. พระนางคำมูล | ||||||||||||||||
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สุเจน กรรพฤทธิ์. ตามรอยเจ้าอนุวงศ์ คลี่ปมประวัติศาสตร์ไทย-ลาว. กรุงเทพฯ:สารคดี, หน้า 170