ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร
ป.ช., ป.ม., ท.จ.ว., ป.ป.ร.3, ร.จ.พ.
หม่อมเจ้า ชั้น 4
เจ้ากรมสรรพากรนอก
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2455
ข้าหลวง/สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2455 - พ.ศ. 2473
ประสูติ14 กรกฎาคม พ.ศ. 2424
สิ้นชีพิตักษัย4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 (74 ปี)
ชายาและหม่อมหม่อมเนื่อง[1]
หม่อมเชื้อ
หม่อมเจ้าผุดผ่องพรรณ ชยางกูร
พระบุตร16 คน
ราชสกุลชยางกูร
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป
พระมารดาหม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา
ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

มหาอำมาตย์โท หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2424 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498[2]) อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2 เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา

พระประวัติ

[แก้]

หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป (อธิบดีกรมพิพิธภัณฑ์พระองค์แรก และองคมนตรีในรัชกาลที่ 5) ประสูติแต่หม่อมเอี่ยม ชยางกูร ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2424 มีโสทรอนุชาองค์เดียวคือ หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ ชยางกูร ทรงเข้าพระราชพิธีเกษากันต์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2435[3] ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ[4] จากนั้นได้ทรงเข้ารับราชในกรมมหาดเล็ก[5]และกระทรวงมหาดไทย จนได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑล

การประชุมเทศาภิบาล กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2453 หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร ประทับยืนองค์ที่ 9 แถวที่ 2

ครอบครัว

[แก้]

ชีวิตส่วนองค์เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงผุดผ่องพรรณ ชยางกูร ขนิษฐาต่างหม่อมมารดา หม่อมเชื้อ ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม โรจนดิศ) และหม่อมเนื่อง ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ณ นคร) มีโอรสธิดา 16 คน

สิ้นชีพิตักษัย

[แก้]

หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2498 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานพระโกศไม้สิบสองเป็นกรณีพิเศษ[6] เนื่องจากทรงรับราชการมายาวนานตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

โอรสและธิดา

[แก้]

หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร มีโอรสธิดาทั้งสิ้น 16 คน ดังนี้

โอรสธิดาในหม่อมเชื้อ (สกุลเดิม โรจนดิศ)
  • หม่อมราชวงศ์เดชสิทธิ์ ชยางกูร ต.จ.[7]สมรสกับลัดดา ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ทองมิตร)
    • หม่อมหลวงเรืองเดช ชยางกูร
    • พลเอก หม่อมหลวงวิชัย ชยางกูร
    • หม่อมหลวงเดชา ชยางกูร
    • หม่อมหลวงสุดารัตน์ สมรสกับณรงค์ฤทธิ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
    • หม่อมหลวงภัทราวดี สมรสกับศาสตราจารย์ฟรานซิส เคเนดี
  • หม่อมราชวงศ์รุ่งฤทธี ชยางกูร สมรสกับชูศรี ชยางกูร ณ อยุธยา(สกุลเดิม ศศิผลิน)
    • หม่อมหลวงรื่นรมย์ บุณยทรรพ
    • หม่อมหลวงชาติชาย ชยางกูร
    • หม่อมหลวงไพจิตร สมรสกับพลเรือโท นฤดล บุราคำ
  • หม่อมราชวงศ์มีชัย ชยางกูร สมรสกับชุลี ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม เอี่ยมกระสิทธุ์)
    • หม่อมหลวงอังสนา ลีลายนกุล
    • หม่อมหลวงจันทราวดี สงกราน
    • หม่อมหลวงเผด็จ ชยางกูร
  • หม่อมราชวงศ์เชื้อชยาง สมรสกับนายแพทย์มณเฑียร บุนนาค
    • มณทิรัช บุนนาค
    • ลวลี บุนนาค
  • พันเอก(พิเศษ) หม่อมราชวงศ์จุมพล ชยางกูร สมรสกับสุโข ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม เกตุพันธุ์)
  • หม่อมราชวงศ์ศุภชัย ชยางกูร สมรสกับสุกัญญา ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม คาซึโกะ)
    • หม่อมหลวงศิริกัญญา ชยางกูร
    • หม่อมหลวงนภาศิริ ชยางกูร


โอรสธิดาในหม่อมเนื่อง[9] (สกุลเดิม ณ นคร)
  • หม่อมราชวงศ์โสมสมร สมรสกับหม่อมหลวงชวนชื่น กำภู


โอรสธิดาในหม่อมเจ้าผุดผ่องพรรณ ชยางกูร

  • หม่อมราชวงศ์ผ่องพรรณแสง ชยางกูร
  • หม่อมราชวงศ์แจลงพรรณศรี ชยางกูร
  • หม่อมราชวงศ์อภิรมณ์ ชยางกูร
  • หม่อมราชวงศ์สรรพจารี ชยางกูร
  • ร้อยตำรวจเอก หม่อมราชวงศ์เศวตวรชัย ชยางกูร สมรสกับขวัญเรือน ชยางกูร ณ อยุธยา(สกุลเดิม ใจพรมเมือง)
    • ร้อยตำรวจเอก หม่อมหลวงวรชัย ชยางกูร
    • หม่อมหลวงชัยสิทธิ์ ชยางกูร
    • หม่อมหลวงอมราภรณ์ ชยางกูร พิวจ์

การรับราชการ

[แก้]
  • พ.ศ. 2444 - นายเวรกระทรวงมหาดไทย
  • พ.ศ. 2445 - เลขานุการมณฑลราชบุรี[12][13]
  • พ.ศ. 2446 - ข้าหลวงมหาดไทยมณฑลราชบุรี[14][15]
  • พ.ศ. 2451 - ปลัดมณฑลราชบุรี[16]
  • พ.ศ. 2454 - เกณฑ์เมืองรั้งกระทรวงมหาดไทย[17]
  • พ.ศ. 2454 - รักษาราชการแทนเจ้ากรมสรรพากรนอก[18]
  • พ.ศ. 2455 - ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี[19]
  • 18 เมษายน พ.ศ. 2455 – ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรี(ภายหลังเรียกสมุหเทศาภิบาล)[20][21]
  • พ.ศ. 2459 - สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลจันทบุรี[22][23]
  • พ.ศ. 2466 - สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปัตตานี[24][25]
  • พ.ศ. 2469 - สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต[26][27]
  • พ.ศ. 2473 - ลาออกจากราชการเนื่องจากมีพระอาการประชวร[28]

องคมนตรี/สมาชิกวุฒิสภา

[แก้]

องคมนตรี

[แก้]

เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี[29][30]

ต่อมาวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีต่อไป[31] โดยทรงดำรงตำแหน่งถึงวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475[32]

สมาชิกวุฒิสภา

[แก้]

หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490[33][34] โดยทรงดำรงตำแหน่งครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 - 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496[35]

อื่นๆ

[แก้]
พระแสงราชศาสตราประจำมณฑลราชบุรี
ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดจันทบุรี
  • พ.ศ. 2467 - ทรงดำริก่อตั้งโรงพยาบาลปัตตานี[39][40]
  • พ.ศ. 2483 - พระนามของท่านได้ถูกนำมาใช้เป็นชื่อโรงเรียนสฤษดิเดช[41] โดยตั้งตามชื่อสถานที่ตั้งของโรงเรียน(ขณะนั้น โรงเรียนตั้งอยู่ที่ถนนสฤษดิเดช)
  • หม่อมเจ้าสฤษดิเดช ชยางกูร เป็นหม่อมเจ้าพานทอง ทรงศักดินา 3000 เทียบเท่าขุนนางชั้นพระยาพานทอง[42] (โดยปกติหม่อมเจ้าจะทรงศักดินา 1500)[43]

พระยศ

[แก้]

ยศพลเรือน

[แก้]
  • พ.ศ. 2454 - อำมาตย์เอก[44]
  • พ.ศ. 2455 - มหาอำมาตย์ตรี[45]
  • พ.ศ. 2458 - จางวางตรี[46]
  • พ.ศ. 2467 - จางวางโท[47]
  • พ.ศ. 2469 - มหาเสวกโท[48]
  • พ.ศ. 2469 - มหาอำมาตย์โท[49]

ยศเสือป่า

[แก้]
  • พ.ศ. 2455 - นายหมู่ตรี[50]
  • พ.ศ. 2455 - นายหมู่เอก[51]
  • พ.ศ. 2456 - นายหมู่ใหญ่[52]
  • พ.ศ. 2457 - นายกองตรี[53]
  • พ.ศ. 2460 - นายกองโท[54]
  • พ.ศ. 2462 - นายกองเอก[55]
  • พ.ศ. 2465 - นายนาวาเอกในกองพันราชนาวีเสือป่าจันทบุรี[56] (นายนาวาเอก ร.น.ส.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เข็มพระราชทาน

[แก้]

พ.ศ. 2454 - เข็มข้าหลวงเดิม[64]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 28 หน้า 1797 วันที่ 12 พฤศจิกายน 2454
  2. นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
  3. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์แลโสกันต์เกษากันต์ เล่ม 9 หน้า 4
  4. ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
  5. ได้ทรงเข้ารับราชในกรมมหาดเล็ก
  6. หน้า 71 พระราชทานพระโกศไม้สิบสองเป็นกรณีพิเศษ
  7. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2009-02-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่ม 84 ตอนที่ 41 ฉบับพิเศษ หน้า 27 วันที่ 10 พฤษภาคม 2510
  8. "พันตำรวจโท ไพศิษฎ์ สังคหะพงศ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-16.
  9. โอรสธิดาในหม่อมเนื่อง
  10. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ เล่ม 108 ตอนที่ 78 หน้า 4 3 พฤษภาคม 2534
  11. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฉบับพิเศษ เล่ม 113 ตอนที่ 7 หน้า 2 4 พฤษภาคม 2539
  12. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เล่ม 19 หน้า 88 วันที่ 11 พฤษภาคม 2445
  13. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานสัญญาบัตร์ตำแหน่งน่าที่ราชการ เล่ม 19 หน้า 576 วันที่ 12 ตุลาคม 2445
  14. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานสัญญาบัตร์ตำแหน่งน่าที่ราชการ เล่ม 20 หน้า 57 วันที่ 26 เมษายน 2446
  15. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เล่ม 20 หน้า 64 วันที่ 3 พฤษภาคม 2446
  16. ราชกกิจจานุเบกษา,ตำแหน่งข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เล่ม 27 หน้า 1239 วันที่ 4 กันยายน 2453
  17. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เล่ม 27 หน้า 2717 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2453
  18. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เล่ม 28 หน้า 1297 วันที่ 17 กันยายน 2454
  19. ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี[ลิงก์เสีย]
  20. ประกาศกระทรวงมหาดไทย
  21. ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรี
  22. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศย้ายตำแหน่งสมุหเทศาภิบาล เล่ม 33 หน้า 200 วันที่ 29 ตุลาคม 2459
  23. สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลจันทบุรี
  24. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศเปลี่ยนตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลบางมณฑล เล่ม 40 หน้า 47 วันที่ 15 กรกฎาคม 2466
  25. สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปัตตานี
  26. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ ตั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลต่างๆ เล่ม 42 หน้า 429 วันที่ 31 มีนาคม 2468
  27. สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต
  28. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ ปลด ย้าย และตั้ง สมุหเทศาภิบาล เล่ม 47 หน้า 431 วันที่ 15 มีนาคม 2473
  29. ราชกิจจานุเบกษา,การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี
  30. ราชกิจจานุเบกษา,รายพระนามแลนามผู้ซึ่งได้รับพระราชทานตราตั้งเปนองคมนตรี
  31. ราชกิจจานุเบกษา,การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี
  32. ประกาศยกเลิก พระราชบัญญัติองคมนตรี พุทธศักราช ๒๔๗๐ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 49 หน้า 200 วันที่ 17 กรกฎาคม 2475
  33. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ฉบับพิเศษ หน้า 15 ตอนที่ 56 เล่ม 64 22 พฤศจิกายน 2490
  34. เมื่อรัฐธรรมนูญเปิดทาง พระบรมวงศานุวงศ์เข้าสู่การเมือง
  35. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา หน้า 1037 ตอนที่ 63 เล่ม 67 21 พฤศจิกายน 2493
  36. พระแสงราชศัสตราประจำเมืองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
  37. "ทรงก่อตั้งโรงเรียนศรียานุสรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-05-30.
  38. สร้างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
  39. ทรงดำริก่อตั้งโรงพยาบาลปัตตานี
  40. ทรงดำริก่อตั้งโรงพยาบาลปัตตานี
  41. ใช้เป็นชื่อโรงเรียนสฤษดิเดช
  42. โคลงลิลิตสุภาพตำรับพระบรมราชาภิเษก
  43. หม่อมเจ้าจะทรงศักดินา 1500
  44. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ พระราชทานยศแก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เล่ม 28 หน้า 971 วันที่ 20 สิงหาคม 2454
  45. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศแลเลื่อนยศ เล่ม 29 หน้า 266 วันที่ 5 พฤษภาคม 2455
  46. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศเปลี่ยนยศอุปราช แลสมุหเทศาภิบาล เล่ม 32 หน้า 357 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2458
  47. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศ เล่ม 41 หน้า 1797 วันที่ 14 กันยายน 2467
  48. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศกรมมหาดเล็กหลวง เล่ม 43 หน้า 38 วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2469
  49. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศ เล่ม 43 หน้า 907 วันที่ 30 พฤษภาคม 2469
  50. ราชกิจจานุเบกษา,ส่งสัญญาบัตร์เสือป่าไปพระราชทาน เล่ม 29 หน้า 160 วันที่ 21 เมษายน 2455
  51. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานสัญญาบัตร์เสือป่า เล่ม 29 หน้า 2634 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2455
  52. ราชกิจจานุเบกษา,ส่งสัญญาบัตร์เสือป่าไปพระราชทาน เล่ม 30 หน้า 533 วันที่ 15 มิถุนายน 2456
  53. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศเลื่อนยศนายเสือป่ามณฑลราชบุรี เล่ม 31 หน้า 2676 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2457
  54. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศเสือป่า เล่ม 34 หน้า 3071 วันที่ 20 มกราคม 2460
  55. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชยศเสือป่า เล่ม 36 หน้า 2240 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2462
  56. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานยศเสือป่า เล่ม 39 หน้า 2626 วันที่ 24 ธันวาคม 2465
  57. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 45 หน้า 3576 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2471
  58. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เล่ม 40 หน้า 3420 วันที่ 7 มกราคม 2466
  59. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า เล่ม ๔๐ หน้า ๒๖๒๗ วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๗
  60. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
  61. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
  62. ราชกิจจานุเบกษา,ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน
  63. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เล่ม 43 หน้า 4299 วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2469
  64. พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม