หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร
หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์พงษ์ไชยา ชยางกูร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป |
พระมารดา | หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา |
ประสูติ | 30 เมษายน พ.ศ. 2467 (96 ปี) |
นาวาตรี หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร (ประสูติ 30 เมษายน พ.ศ. 2467) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา
พระประวัติ[แก้]
หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงษาดิศรมหิป ประสูติแต่หม่อมแหวนศุลี ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุญยมาลิก) เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2467[1] มีโสทรานุชาและโสทรกนิษฐภคินีรวมสององค์ คือ หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร และหม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร
กรณียกิจ[แก้]
หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร ทรงปฏิบัติกรณียกิจต่าง ๆ เช่น
- เสด็จเป็นเจ้าภาพร่วมกับสมาชิกราชสกุลชยางกูร ในการบำเพ็ญพระกุศลสวดพระอภิธรรมพระศพ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558
- เสด็จเป็นเจ้าภาพร่วมกับหม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร, หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร และหม่อมจรุงใจ ชยางกูร ณ อยุธยา ในการบำเพ็ญพระกุศลถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559
- เสด็จพร้อมด้วย หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร, หม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร และหม่อมจรุงใจ ชยางกูร ณ อยุธยา ไปทรงเยี่ยมชมงานอุ่นไอรักคลายความหนาว "สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้น ณ พระลานพระราชวังดุสิต และสนามเสือป่า เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศเอกสุบิน ชิวปรีชา กรมวังผู้ใหญ่ประจำพระองค์ อัญเชิญพวงมาลัยและกระเช้าพระราชทานไปทูลถวาย หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร, หม่อมเจ้าอุทัยเที่ยง ชยางกูร และหม่อมเจ้าจรูญฤทธิเดช ชยางกูร เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562
พระทายาท[แก้]
หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร มีโอรสเพียงคนเดียว เกิดแต่หม่อมชมชื่น โกมารกุล ณ นคร คือ
- หม่อมราชวงศ์พงศ์ไชยา ชยางกูร สมรสกับศรีรัตนา ชยางกูร ณ อยุธยา (สกุลเดิม กัณหะยูวะ) มีบุตรสองคน[2] คือ
- หม่อมหลวงรัตนพงษ์ ชยางกูร
- หม่อมหลวงอธิพรพงศ์ ชยางกูร
หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร เป็นเจ้านายที่ชันษาสูงที่สุดในหมู่พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ยังมีพระชนม์อยู่ในปัจจุบัน
ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
ลำดับโปเจียม | 17 |
พงศาวลี[แก้]
พงศาวลีของหม่อมเจ้าเวียงวัฒนา ชยางกูร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
- พ.ศ. 2493 -
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๙ (ร.ร.ศ.9)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ :พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, 2548. 136 หน้า. ISBN 9742217467
- ↑ MGR Online, "ม.ล.อธิพรพงศ์ ชยางกูร หนุ่มหล่อ-โปรไฟล์ดี ที่น่ารู้จัก", เมเนเจอร์ออนไลน์, 21 ธันวาคม 2552