ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ
โฆษกพรรคไทยสร้างไทย
ดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน พ.ศ. 2565 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2566
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย
สัญชาติไทย
เชื้อชาติไทย, พม่า (ลาหู่)
พรรคการเมืองเพื่อไทย (2562—2565)
ไทยสร้างไทย (2565—2566)
ศิษย์เก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
อาชีพนักการเมือง, นักการศึกษา, นักวิชาการ

ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ (ชื่อเล่น ธิดา) เป็นนักวิชาการ นักการศึกษา และนักการเมืองชาวไทย อดีตโฆษกและผู้อำนวยการศูนย์นโยบาย พรรคไทยสร้างไทย[1] อดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและรองโฆษกพรรคเพื่อไทย

ประวัติ[แก้]

ธิดารัตน์มีมารดาเป็นชาวไทยจากจังหวัดอุตรดิตถ์ ส่วนบิดาเป็นชาวพม่าเชื้อสายลาหู่[2][3] บิดาของเธออพยพข้ามพรมแดนมาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เมื่อเขาอายุได้สามขวบ[2] บิดาเป็นมิชชันนารีประจำโบสถ์ของชุมชน และเผยแผ่ศาสนาในชุมชนตามชายแดน[2] ส่วนมารดาก็ทำงานร่วมกับคณะมิชชันนารี[4]

ธิดารัตน์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเอกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับทุนการศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์ฯ จากนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านนโยบายสาธารณะจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ด้วยทุนจากรัฐบาลอังกฤษและมูลนิธิอ๊อกซ์ฟอร์ด (ไทย) และปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยชิงหวาด้วยทุนรัฐบาลจีน[3]

ระหว่างศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ธิดารัตน์เป็นนักโต้วาทีภาษาอังกฤษที่ได้รับเลือกเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในนามมหาวิทยาลัย และได้รับรางวัลชนะเลิศหลายรายการในหลายประเทศ นอกจากนี้ ธิดารัตน์ยังได้รับเลือกให้เป็นเป็นตัวแทนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมประชุม One Young World Summit 2017 ที่ประเทศโคลอมเบีย[3]

นอกจากนี้ ยังได้มีส่วนร่วมในการจัดทำร่างรายงาน Universal Periodic Review ของประเทศไทย ครั้งที่ 1 ภายใต้คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[3]

ธิดารัตน์ได้รับรางวัลชนะเลิศศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรดีเด่นในประเทศไทย ประจำปี 2021-22 (Study UK Alumni Awards 2021-22) สาขาการสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม (Social Action Award) โดยบริติซ เคานซิล ในฐานะผู้สนับสนุนความเท่าเทียมทางการศึกษาผ่านองค์กรอิสระและเวทีพรรคการเมือง[5]

บทบาททางการเมือง[แก้]

ธิดารัตน์เริ่มต้นเส้นทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทย[6] โดยดำรงตำแหน่งรองโฆษก และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562[7] ต่อมาได้ดำรงเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ ชุดที่ 25 ของสภาผู้แทนราษฎร

จากนั้นได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย เริ่มต้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการ ศูนย์นโยบาย และได้รับเลือกจากสมาชิกในการประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2565 ของพรรคไทยสร้างไทย ให้ดำรงตำแหน่งโฆษกพรรค[8] ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 เธอลาออกจากพรรคและพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว[9]

ธิดารัตน์สนใจนโยบายการต่างประเทศ ด้านการศึกษา และสิทธิสตรี[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลต่าง ๆ ดังนี้

อ้างอิง[แก้]

  1. "ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ ลาออกสมาชิกพรรค ทิ้งเก้าอี้โฆษกไทยสร้างไทย เตรียมชี้แจง". THE STANDARD. 2023-10-10.
  2. 2.0 2.1 2.2 "ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ จากชนเผ่า 'ลาหู่' สู่โฆษกพรรค 'ไทยสร้างไทย'". มติชนสุดสัปดาห์. 2022-10-13. สืบค้นเมื่อ 2023-04-04.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "รู้จัก 'โฆษกไทยสร้างไทย' จากครอบครัวผู้อพยพชาวเมียนมา นักเรียนออกซ์ฟอร์ด สู่หัวหน้าทีมสื่อสารการเมือง". THE STANDARD. 2022-09-10.
  4. Sutthipath Kanittakul (2023-02-11). ""เป็นลูกหรือภรรยาใคร" คำถาม(ไม่)ปกติซึ่งนักการเมืองหญิงมักจะต้องเจอ: โฆษกไทยสร้างไทย". The Matter. สืบค้นเมื่อ 2023-04-04.
  5. มติชนสุดสัปดาห์; chokb (2022-03-23). "บริติช เคานซิล ร่วมกับสถานทูตอังกฤษฯ มอบรางวัล 4 ศิษย์เก่าสหราชอาณาจักรดีเด่นในประเทศไทย พร้อมเปิดตัว 'UK Alumni' แพลตฟอร์มสำหรับศิษย์เก่าระดับโลก". มติชนสุดสัปดาห์.
  6. cue (2023-05-06). "Young politicians energise Thai election with social media outreach, progressive politics | The Straits Times". www.straitstimes.com (ภาษาอังกฤษ).
  7. "เพื่อไทยเปิดชื่อปาร์ตี้ลิสต์ ไร้ชื่อ 'ชัชชาติ สิทธิพันธุ์'". THE STANDARD. 2019-02-05.
  8. ""สุดารัตน์" ผงาด หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย "ศิธา" เลขาฯ". bangkokbiznews. 2022-09-09.
  9. "ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ ลาออกสมาชิกพรรค ทิ้งเก้าอี้โฆษกไทยสร้างไทย เตรียมชี้แจง". THE STANDARD. 2023-10-10.
  10. "เจาะมุมมอง"ธิดารัตน์ ยิ่งเจริญ" จากคนตัวเล็กสู่ฟันเฟือง "พรรคไทยสร้างไทย"". NationTV. 2022-07-17.
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]