อำเภออินทร์บุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภออินทร์บุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe In Buri
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 บริเวณทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 บริเวณทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี
คำขวัญ: 
ขนมเปี๊ยะเมืองอินทร์ ถิ่นเกษตร
ปลอดสารพิษ เรืองฤทธิ์พระอินทร์
แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี เน้นอำเภออินทร์บุรี
แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี เน้นอำเภออินทร์บุรี
พิกัด: 15°0′28″N 100°19′37″E / 15.00778°N 100.32694°E / 15.00778; 100.32694
ประเทศ ไทย
จังหวัดสิงห์บุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด314.3 ตร.กม. (121.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด52,114 คน
 • ความหนาแน่น165.81 คน/ตร.กม. (429.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 16110
รหัสภูมิศาสตร์1706
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภออินทร์บุรี เลขที่ 90/2 หมู่ที่ 3 ถนนสุขาภิบาล 2 ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16110
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อินทร์บุรี เป็นอำเภอหนึ่งใน 6 อำเภอของจังหวัดสิงห์บุรี

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

อำเภออินทร์บุรีตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้

ประวัติ[แก้]

เมืองอินทร์บุรี (เขียนตามที่ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์) เป็นเมืองชายแดนทางเหนือของอาณาจักรอยุธยา (ตอนต้น) มีอาณาเขตติดต่อกับเมืองชัยนาทซึ่งเป็นหัวเมืองตอนใต้ของอาณาจักรสุโขทัย เมืองอินทร์ตั้งขึ้นโดยกษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1912 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร พระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) เจ้าเมืองเลือกสรรจากเชื้อพระวงศ์

เมืองอินทร์บุรีเดิมตั้งอยู่บริเวณเหนือวัดปราสาท ต่อมาย้ายไปบริเวณเหนือวัดโบสถ์ เจ้าเมืองอินทร์คนสุดท้ายคือพระศักดิบุรินทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์ได้เคยเสด็จมาคล้องช้าง และคล้องช้างเผือกคู่บารมีได้ 1 เชือก "ที่บ้านน้ำทรง แขวงเมืองอินทร์บุรี ฯลฯ"[1]

นอกจากนี้เมืองอินทร์บุรียังเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามที่ปรากฏ คือ "…พระเจ้าบุเรงนองยกทัพใหญ่มาล้อมกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายไทยซึ่งมีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระมหินทร์ได้เตรียมป้องกันพระนครอย่างเต็มที่ เมืองลพบุรีเป็นเมืองหนึ่งที่พระราชพงศาวดารกล่าวว่า ถูกเกณฑ์ให้ไปรักษาเมืองเช่นเดียวกับเมืองสุพรรณบุรี อินทร์บุรี เพชรบุรี ฯลฯ"[2]

  1. ให้หม่อมมหาดเล็กวังหน้า ไปตั้งรับพม่าทางแม่น้ำเมืองสิงห์บุรี
  2. ให้หม่อมเทไพ ไปตั้งรับพม่าทางเมืองอินทร์บุรี
  3. ให้หม่อมทิพยุพิน ไปตั้งรับพม่าทางแม่น้ำเมืองพรหมบุรี
  4. ให้ศรีภูเบศก์ ไปตั้งรับพม่าทางแม่น้ำเมืองพรหมบุรี..."[3]

ในปี พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ยกทัพไปปราบหัวเมืองฝ่ายเหนือ (สงครามเก้าทัพ) เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 11 ค่ำ ได้เสด็จทางชลมารคถึงเมืองอินทร์บุรี  

มีหลักฐานที่ปรากฏคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้เมืองอินทร์บุรี เมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี อยู่ในอำนาจปกครองของสมุหนายก

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2438 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระองค์ได้ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน โดยให้ยุบเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีไปขึ้นตรงกับเมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรีจึงกลายเป็นอำเภออินทร์บุรี เมืองพรหมบุรีเป็นอำเภอพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรีเป็นจังหวัดสิงห์บุรี

วันที่ 7 เช้า 2 โมง พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง เสด็จทางเรือจากเมืองอ่างทองมาอำเภอพรหมบุรี และทรงประทับแรมหน้าเมืองสิงห์บุรีคืนหนึ่ง รุ่งขึ้นเสด็จประพาสอำเภออินทร์บุรีก่อนเสด็จต่อไปชัยนาท

สำหรับที่ว่าการอำเภออินทร์บุรี ครั้งแรกตั้งอยู่ที่บริเวณวัดโพธิ์ลังการ์ ต่อมาย้ายเข้ามาตั้งอยู่บริเวณวัดปราสาท ตรงกับที่ตั้งเมืองอินทร์บุรีครั้งแรก อาจเป็นเพราะบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอคับแคบไม่สะดวกในการขยายสำนักงานของส่วนราชการอื่น ทางราชการจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาทางทิศใต้ บริเวณบ้านบางท้องคุ้ง หมู่ที่ 3 ตำบลอินทร์บุรี คือที่ตั้งบริเวณปัจจุบันนี้ นายอำเภออินทร์บุรีคนแรก คือ หลวงอินทรวรนาถ

การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

อำเภออินทร์บุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[4]
1. อินทร์บุรี In Buri
8,586
2. ประศุก Prasuk
6,034
3. ทับยา Thap Ya
5,766
4. งิ้วราย Ngio Rai
5,254
5. ชีน้ำร้าย Chi Nam Rai
3,855
6. ท่างาม Tha Ngam
5,041
7. น้ำตาล Namtan
3,333
8. ทองเอน Thong En
7,477
9. ห้วยชัน Huai Chan
4,850
10. โพธิ์ชัย Pho Chai
2,284

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

ท้องที่อำเภออินทร์บุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลอินทร์บุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอินทร์บุรี (เฉพาะหมู่ที่ 3, 4, 6, และ 7)
  • เทศบาลตำบลทับยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับยาทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลอินทร์บุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอินทร์บุรี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลอินทร์บุรี)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลประศุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประศุกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วรายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลชีน้ำร้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชีน้ำร้ายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่างามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำตาลทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทองเอนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยชันทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ชัยทั้งตำบล

เศรษฐกิจ[แก้]

  • อาชีพหลัก ได้แก่
  1. เกษตรกรรม
  2. ปศุสัตว์ และ ประมงน้ำจืด
  3. อุตสาหกรรม
  • อาชีพเสริม ได้แก่
  1. เลี้ยงสัตว์ เช่น โคเนื้อ สุกร ไก่พื้นเมือง ไก่เนื้อ
  2. จักสาน
  1. ธนาคารออมสิน สาขาอินทร์บุรี
  2. ธนาคารออมสิน สาขาเมืองอินทร์
  3. ธนาคารกรุงไทย สาขาอินทร์บุรี
  4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาอินทร์บุรี
  5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาย่อยทองเอน
  6. ธนาคารกรุงเทพ สาขาอินทร์บุรี
  7. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอินทร์บุรี
  8. ธนาคารกสิกรไทย สาขาอินทร์บุรี(ตลาดโลตัสอินทร์บุรี)
  9. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาย่อยอินทร์บุรี

การศึกษา[แก้]

อำเภออินทร์บุรี มีสถาบันการศึกษาทุกระดับ ทั้งโรงเรียนและวิทยาลัย สถาบันที่สำคัญ ได้แก่

  • มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย สาขาวัดไผ่ดำ
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี วิทยาเขตอินทร์บุรี
  • วิทยาลัยการอาชีพอินทร์บุรี
  • โรงเรียนอินทร์บุรี
  • โรงเรียนศรีวินิตวิทยาคม
  • โรงเรียนทองเอนวิทยา
  • โรงเรียนอุดมศิลป์วิทยา

การสาธารณสุข[แก้]

อำเภออินทร์บุรีมีโรงพยาบาล 3 แห่ง คือ และคลินิค เวชกรรม 7 แห่ง ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 11 แห่ง ร้านขายยาแผนโบราณ 4 แห่ง

  • โรงพยาบาลอินทร์บุรี สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 280 เตียง
  • โรงพยาบาลพูลผล อินทร์บุรี เป็นโรงพยาบาลเอกชน ขนาด 30 เตียง
  • โรงพยาบาลคริสเตียนไชยวัฒน์ เป็นโรงพยาบาลเอกชน ขนาด 30 เตียง

อ้างอิง[แก้]

  1. กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ. ไทยรบพม่า. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 2514, หน้า 25.
  2. ในปี พ.ศ. 2307 รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงเตรียมแผนการต่อสู้กับพม่าโดย แต่ละกองมีทหารประจำการกองละ 1,400 คน พร้อมด้วยเครื่องศัสตราวุธ เรือรบมีปืนใหญ่ 1 กระบอก ปืนขนาดเล็ก 1 กระบอก แล้วแบ่งไปประจำที่ต่าง ๆ ดังนี้ ฯลฯ
  3. ไพฑูรย์ มีกุศล. ประวัติศาสตร์ไทย ปรีดาการพิมพ์, 2521, หน้า 266.
  4. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.