คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
Faculty of Humanities and Social Sciences
Prince of Songkla University
สถาปนา23 เมษายน พ.ศ. 2517
คณบดีผศ.ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์
ที่อยู่
อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000
สีสีขาว
เว็บไซต์huso.pn.psu.ac.th

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคณะหนึ่งในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอกทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเปิดสอนในรายวิชาทางด้านดังกล่าวให้กับนักศึกษาสาขาอื่นๆในมหาวิทยาลัยอีกด้วย

ประวัติ[แก้]

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (อังกฤษ: Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University) ได้จัดตั้งขึ้นตามโครงการ ที่ได้กำหนดไว้ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ( พ.ศ. 2515 - 2519 ) เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2517 โดยทบวงมหาวิทยาลัยได้ อนุมัติให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดตั้ง "คณะมนุษยศาสตร์" ต่อมา ได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์" เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2518 เพื่อสนองนโยบายที่คณะกรรมการพัฒนาภาคใต้ได้วางไว้ว่าจะให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นศูนย์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมและสังคม

ทำเนียบคณบดี[แก้]

คณบดี ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มะเนาะ ยูเด็น พ.ศ. 2517 - 2521, พ.ศ. 2521 - 2525, พ.ศ. 2529 - 2533 และ พ.ศ. 2533 - 2537
2. รองศาสตราจารย์ วิสิทธิ์ จินตวงศ์ พ.ศ. 2525 - 2529
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประพันธ์ วิเศษรัฐกรรม พ.ศ. 2538 - 2540
4. รองศาสตราจารย์ ระวีวรรณ ชอุ่มพฤกษ์ พ.ศ. 2541 - 2544 และ พ.ศ. 2549 - 2552
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สนธยา อนรรฆศิริ พ.ศ. 2545 - 2548
6. รองศาสตราจารย์ อาหวัง ล่านุ้ย พ.ศ. 2553 - 2556
7. ศาสตราจารย์ ดร.ปริศวร์ ยิ้มเสน พ.ศ. 2557 - 2560 และ พ.ศ. 2561 - 2565
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดชัย อุดมพันธ์ พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

หน่วยงาน[แก้]

  • ภาควิชาภาษาไทย
  • ภาควิชาภาษาตะวันตก
  • ภาควิชาภาษาตะวันออก
  • ภาควิชาสังคมศาสตร์
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • ภาควิชาปรัชญาและศาสนา
  • ภาควิชาบรรณรักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
  • ภาควิชาภูมิศาสตร์

หลักสูตร[แก้]

ระดับปริญญาตรี
วิชาโท (ปริญญาตรี)
ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทย
  • สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรปกติ)
  • สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาภาษามลายู
  • สาขาวิชามลายูศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาอาหรับ-ภาษาอาหรับธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาเกาหลี
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
  • สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาปรัชญา

หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการ
  • สาขาวิชาเศรษฐกิจอาเซี่ยน

หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (4 ปี)

  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (4 ปี)

  • แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์กร
  • สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทย
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษามลายู
  • สาขาวิชามลายูศึกษา
  • สาขาวิชาภาษาอาหรับ
  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาเกาหลี
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส
  • สาขาวิชาภาษาเยอรมัน
  • สาขาวิชาประวัติศาสตร์
  • สาขาวิชาภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
  • สาขาวิชาพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาปรัชญา
  • สาขาวิชาศาสนา
  • สาขาวิชาการจัดการ
  • สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • สาขาวิชาอเมริกันศึกษา

โดยจะเลือกวิชาโทในชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม
  • สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ
  • สาขาวิชาภาษาไทย


หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาไทย

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]