แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำเจ้าพระยา | |
---|---|
แม่น้ำเจ้าพระยามุมมองจากสะพานตากสิน ฝั่งซ้าย (โรงแรม เพนนินซูลา ศูนย์การค้าไอคอนสยาม โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน) ฝั่งขวา (โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ อาคารโทรคมนาคมแห่งชาติ บางรัก) | |
แผนที่แสดงตำแหน่งลุ่มน้ำเจ้าพระยารวมกับลุ่มน้ำสาขาต่าง ๆ | |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | นครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, ปทุมธานี, นนทบุรี, กรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | ปากน้ำโพ |
• ตำแหน่ง | ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ |
• พิกัด | 15°42′02.0″N 100°08′28.4″E / 15.700556°N 100.141222°E |
• ระดับความสูง | 25 เมตร (82 ฟุต) |
ปากน้ำ | ปากน้ำเจ้าพระยา |
• ตำแหน่ง | ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ |
• พิกัด | 13°32′37.9″N 100°35′28.8″E / 13.543861°N 100.591333°E |
• ระดับความสูง | 0 เมตร (0 ฟุต) |
ความยาว | 372 กิโลเมตร (231 ไมล์) |
พื้นที่ลุ่มน้ำ | 20,125 ตารางกิโลเมตร (7,770 ตารางไมล์) |
ลุ่มน้ำ | |
ระบบแม่น้ำ | ลุ่มน้ำเจ้าพระยา |
ลำน้ำสาขา | |
• ซ้าย | แม่น้ำน่าน, แม่น้ำลพบุรี, คลองบางแก้ว, คลองเมือง, แม่น้ำป่าสัก, คลองบ้านพร้าว, คลองบางหลวงเชียงราก, แม่น้ำลัดเกร็ด |
• ขวา | แม่น้ำปิง, แม่น้ำสะแกกรัง, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำน้อย, คลองบางบาล, คลองอ้อมนนท์, คลองบางกรวย, คลองบางกอกน้อย, คลองบางกอกใหญ่ |
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสาขาหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน โดยมาบรรจบกันที่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยจะเห็นความแตกต่างของสายน้ำทั้งสองได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ แม่น้ำน่านมีสีค่อนข้างแดง ส่วนแม่น้ำปิงมีสีค่อนข้างเขียว เมื่อมาบรรจบกันแล้วจึงค่อย ๆ รวมตัวเข้าด้วยกันกลายเป็นแม่น้ำสายใหญ่[1] จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำในอำเภอเมืองสมุทรปราการและอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
[แก้]จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่บริเวณปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน แม่น้ำทั้งสองรับน้ำมาจากทิวเขาถนนธงชัยและทิวเขาผีปันน้ำ ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีพื้นที่ 20,125 ตารางกิโลเมตร (ไม่รวมลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน สะแกกรัง ป่าสัก และท่าจีน) และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีน (คลองมะขามเฒ่า) ที่จังหวัดชัยนาท
ชื่อ
[แก้]พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2041 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการขุดลอกคลองสำโรงเนื่องจากคลองตื้นเขิน เรือใหญ่เดินทางไปมาผ่านคลองสำโรงไม่สะดวก และมีการขุดพบรูปเทพารักษ์ 2 องค์ได้แก่ พระยาแสนตาและพระยาบาทสังขกร จึงเรียกชุมชนบริเวณนี้ว่า บางเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาได้นำชื่อชุมชนบริเวณปากน้ำนี้มาตั้งเป็นชื่อแม่น้ำ[2]
การขุดลัดแม่น้ำ
[แก้]การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา ประกอบด้วยคลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065[3] รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช, คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ, คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2179 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และในสมัยรัตนโกสินทร์มีการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ บริเวณตำบลทรงคะนองและตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยในการระบายน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้า[ต้องการอ้างอิง]
ลำน้ำสาขา
[แก้]ด้วยความที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายในให้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยลำน้ำสาขาและคลองมีจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
ต้นน้ำ
[แก้]ต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วย
ลำน้ำสาขาฝั่งขวา
[แก้]จังหวัดชัยนาท
[แก้]จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
[แก้]- คลองบางบาล (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า)
- คลองโผงเผง (บางหลวง)
- คลองตะเคียน
- คลองหันตรา
- คลองพระยาบรรลือ ออกแม่น้ำท่าจีน
จังหวัดปทุมธานี
[แก้]- คลองสระ
- คลองควาย
- คลองบางเตย
- คลองบางโพธิ์เหนือ
- คลองวัดโคก
- คลองบางหลวง
- คลองบางโพธิ์ใต้
- คลองบางเดื่อ
- คลองบางคูวัด
- คลองเกาะเกรียง
จังหวัดนนทบุรี
[แก้]- คลองบางตะไนย์
- คลองบ้านแหลมเหนือ
- คลองบ้านแหลม
- คลองพระอุดม
- คลองบางภูมิ
- คลองบางวัด
- คลองบางพลับ
- คลองบางน้อย
- คลองบางบัวทอง
- คลองพระพิมล ออกแม่น้ำท่าจีน
- คลองโยธา
- คลองวัดแดง
- คลองบางกำลัง
- คลองสวนพริก
- คลองอ้อมนนท์ (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า)
- คลองบางสีทอง
- คลองบางไผ่ใหญ่
- คลองบางไผ่น้อย
- คลองบางกรวย (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า)
กรุงเทพมหานคร
[แก้]- คลองบางละมุด
- คลองเตย
- คลองข้างมัสยิดดารุลอิหฺซาน
- คลองบางอ้อ
- คลองสะพานยาว
- คลองมอญ
- คลองเตาอิฐ
- คลองบางพระครู
- คลองมะนาว
- คลองบางพลัด
- คลองบางพลู
- คลองซอยเทพนิมิตร
- คลองต้นซอยวัดภคินีนาถ
- คลองปลายซอยวัดภคินีนาถ
- คลองบางจาก
- คลองวัดบวรมงคล
- คลองหลังโรงเรียนวัดคฤหบดี
- คลองวัดคฤหบดี
- คลองบางยี่ขัน
- คลองวัดดาวดึงษ์
- คลองเจ้าครุฑ
- คลองวัดดุสิต
- คลองขนมจีน
- คลองบางกอกน้อย (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า เดิมชื่อ ลำน้ำธนบุรี)[ต้องการอ้างอิง]
- คลองพิณพาทย์ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองต้นไทร แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองน้ำดอกไม้ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองผักหนาม แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองพริกป่น แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองบางบำหรุ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองตราชู แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองพิกุล แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองคูเมืองตะวันตก-คลองบ้านขมิ้น ขุดแยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย ผ่านคลองมอญ ไปบรรจบคลองบางกอกใหญ่
- คลองวัดทอง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองชักพระ
- คลองบางขุนนนท์ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองวัดทอง
- คลองวัดใหม่ภาวนา แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย บรรจบคลองบางขุนนนท์
- คลองวัดไก่เตี้ย แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองสวนแดน แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองมหาสวัสดิ์ ขุดแยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย เชื่อมแม่น้ำท่าจีน
- คลองวัดพิกุลทอง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองวัดสนามนอก แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองวัดเกตุ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองบางยี่พระ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองวัดโตนด แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองวัดโพธิ์บางโอ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองวัดสักน้อย แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองวัดสักใหญ่ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองยายจีน แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองวัดบางอ้อยช้าง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองหมอจำปี แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองป้าจุไร แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองวัดแก้วฟ้า แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองตาหมอวัน แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองวัดแดงประชาราษฎร์ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองยายเล็ก แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองบางขนุน แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองบางกร่าง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งขวา
- คลองบางขุนกอง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองวัดไทยเจริญ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองบางนายไกร แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองบางราวนก แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองบางคูเวียง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองบางค้อ แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองบางม่วง แยกจากคลองบางกอกน้อยฝั่งซ้าย
- คลองชักพระ (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า)
- คลองวัดตลิ่งชัน แยกจากคลองชักพระฝั่งซ้าย
- คลองบางระมาด แยกจากคลองชักพระฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
- คลองบ้านไทร แยกจากคลองบางระมาดฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
- คลองลัดถมยา แยกจากคลองบ้านไทรฝั่งซ้าย เชื่อมคลองบางพรม
- คลองลัดกัลยา แยกจากคลองบ้านไทรฝั่งซ้าย เชื่อมคลองบางระมาด
- คลองลัดมะยม แยกจากคลองบ้านไทรฝั่งซ้าย เชื่อมคลองบางเชือกหนัง
- คลองบัว-คลองขื่อขวาง แยกจากคลองบ้านไทรฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองมหาสวัสดิ์
- คลองบางพรม แยกจากคลองชักพระฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
- คลองวัดแก้ว แยกจากคลองชักพระฝั่งซ้าย
- คลองผ้าลุ่ย (คลองพระจุ้ย) แยกจากคลองชักพระฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองบางน้อย
- คลองบางเชือกหนัง แยกจากคลองบางน้อยฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
- คลองบางน้อย แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
- คลองลัดวัดฉิม ขุดแยกจากคลองบางเชือกหนังฝั่งซ้าย เชื่อมคลองบางจาก
- คลองวัดเจ้าอาม แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
- คลองขุนคลัง แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
- คลองวัดช่างเหล็ก แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
- คลองเชิงเลน แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
- คลองวัดมะลิ แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
- คลองวัดทอง (คลองจักรทอง) แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา ไปบรรจบคลองบางกอกน้อย
- คลองวัดยาง แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา ไปบรรจบคลองวัดทอง
- คลองวัดรวกสุทธาราม แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
- คลองกระท้อนแถว แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา ไปบรรจบคลองวัดยาง
- คลองทรงเทวดา แยกจากคลองชักพระฝั่งขวา
- คลองวัดตลิ่งชัน แยกจากคลองชักพระฝั่งซ้าย
- คลองวัดระฆัง
- คลองมอญ
- คลองวัดอรุณ ไปบรรจบคลองมอญ
- คลองบางกอกใหญ่ (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า)
- ลำรางซอย สน.บางเสาธง แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
- คลองบางแวก แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
- คลองข้างโรงเรียนเปี่ยมสุวรรณ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
- คลองวัดคูหาสวรรค์ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
- คลองบางจาก แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย เชื่อมคลองทวีวัฒนา
- คลองบางเพลี้ย แยกจากคลองบางจากฝั่งขวา
- คลองวัดประดู่ ขุดแยกจากคลองบางจากฝั่งซ้าย ออกคลองภาษีเจริญ
- คลองบางด้วน แยกจากคลองบางจากฝั่งขวา เชื่อมคลองพระยาราชมนตรี
- คลองบางหว้า แยกจากคลองบางจากฝั่งซ้าย เชื่อมคลองภาษีเจริญ-คลองด่าน
- คลองสวน แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
- ลำรางข้างโรงพยาบาลพญาไท 3 แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
- คลองภาษีเจริญ ขุดแยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย เชื่อมแม่น้ำท่าจีน
- คลองพระยาราชมนตรี เชื่อมคลองบางเชือกหนัง-คลองภาษีเจริญ-คลองสนามชัย
- คลองทวีวัฒนา เชื่อมคลองบางใหญ่-คลองมหาสวัสดิ์-คลองภาษีเจริญ
- คลองด่าน คลองบางหลวงน้อย-คลองสนามชัย-คลองมหาชัย ขุดแยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย เชื่อมแม่น้ำท่าจีน
- คลองขุนราชพินิจใจ (เชื่อมคลองสนามชัย-คลองสรรพสามิต)
- คลองบางสะแก แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองดาวคะนอง
- คลองบางน้ำชน แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา
- คลองสำเหร่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา
- คลองศรีภูมิ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
- คลองบางไส้ไก่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย ไปบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา
- คลองบุปผาราม แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
- คลองต้นตาล (อาชีวธนบุรี) แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองวัดดีดวด แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองซอยกิตติกมล แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองวัดเจ้ามูล แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองอภิชาติ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองวัดคูหาสวรรค์ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองวัดท่าพระ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองซอยจรัญสนิทวงศ์ 1 แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- ลำกระโดงเชิงสะพานบางไผ่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- ลำกระโดงอำนวยสุข แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
- คลองแยกวัดประดู่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองวัดประดู่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองบ้านข้าว แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คูข้างเขตบางกอกใหญ่ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองศาลเจ้า แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองต้นไทร แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองต้นตาล (เกษจำเริญ) แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองโรงสีไฟ แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา ไปบรรจบคลองวัดอรุณ
- คลองบางลำเจียกน้อย แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองบางลำเจียก แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- ลำกระโดงข้างวัดสังข์กระจาย แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองวัดสังข์กระจาย แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา ไปบรรจบคลองวัดราชสิทธาราม
- คลองในตรอกกระจก แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย
- คลองวัดราชสิทธาราม แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองวัดอรุณ
- คลองวัดหงส์รัตนาราม แยกจากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งขวา
- คลองวัดกัลยาณ์
- คลองกุฎีจีน
- คลองวัดประยูร
- คลองตลาดสมเด็จ บรรจบคลองสมเด็จเจ้าพระยา
- คลองบ้านหลวงวารี
- คลองวัดทองธรรมชาติ
- คลองวัดทองนพคุณ (เหนือ)
- คลองวัดทองนพคุณ (ใต้)
- คลองสาน
- คลองวัดทองเพลง
- คลองวัดสุวรรณ (เหนือ)
- คลองวัดสุวรรณ (ใต้)
- คลองต้นไทร
- คลองพนาโรจน์
- คลองบางลำภูล่าง บรรจบคลองบางไส้ไก่
- คลองพระยาเกษม
- คลองโรงหนัง
- คลองโรงปลา
- คลองภาษี (คลองโรงปูน)
- คลองบางไส้ไก่
- คลองสำเหร่
- คลองบางน้ำชน
- คลองข้างวัดบุคคโล
- คลองดาวคะนอง
- คลองบางปะแก้ว
- คลองบางปะกอก
- คลองราษฎร์บูรณะ
- คลองผู้ใหญ่สังข์
- คลองบางบูน
- คลองแจงร้อน
จังหวัดสมุทรปราการ
[แก้]- คลองสำโรง
- คลองบางพึ่ง
- คลองลัดหลวง (บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา)
- คลองลัดโพธิ์ (บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา)
- คลองบางกระเจ้า
- คลองบางกระเบื้อง
- คลองสวนหมาก
- คลองแพเช็ง
- คลองบางกอบัวบน
- คลองแพ
- คลองเรือบิน
- คลองครูเสริม
- คลองบางน้ำผึ้ง
- คลองสรรพสามิต-คลองพิทยาลงกรณ์-คลองสหกรณ์ (เชื่อมแม่น้ำท่าจีน)
ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย
[แก้]จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
[แก้]จังหวัดปทุมธานี
[แก้]- คลองบ้านพร้าว - คลองเชียงราก - คลองบางหลวงเชียงราก (แม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า)
- คลองประปา
- คลองเปรมประชากร
- คลองรังสิตประยูรศักดิ์ (ออกแม่น้ำนครนายก)
จังหวัดนนทบุรี
[แก้]- คลองบ้านใหม่ (คลองบ้านใหม่ตลาดเนื้อ)
- คลองบ้านเก่า
- คลองวัดช่องลม
- คลองบางพัง
- คลองบางพูด
- แม่น้ำลัดเกร็ด
- คลองกลางเกร็ด
- คลองบางตลาด
- คลองท่าทราย
- คลองวัดตำหนักใต้
- คลองบางธรณี
- คลองวัดแคนอก
- คลองอ้อช้าง
- คลองสร้อยทอง
- คลองบางกระสอ
- คลองบางซื่อ
- คลองมะขามโพรง
- คลองบางแพรก
- คลองบางขวาง
- คลองบางตะนาวศรี
- คลองบางขุนเทียน
- คลองบางบุนนาค
กรุงเทพมหานคร
[แก้]- คลองบางเขน ไปบรรจบคลองบางบัว
- คลองวัดเสาหิน (คลองบางซ่อน) แยกจากคลองบางเขนฝั่งซ้าย ไปบรรจบคลองบางซ่อน (คลองกระดาษ) และคลองบางโพ
- คลองบางเขนใหม่ ไปบรรจบคลองบางเขน
- คลองส้มป่อย
- คลองซุง
- คลองบางซ่อน (คลองกระดาษ)
- คลองบางโพขวาง (คลองบ้านญวน)
- คลองบางโพ
- คลองสาธารณประโยชน์ (คลองขรัวตาแก่น)
- คลองบางซื่อ ไปบรรจบคลองลาดพร้าว
- คลองบางกระบือ
- คูข้างวิทยาลัยเกื้อการุณย์
- คลองบ้านญวนสามเสน
- คลองวัดราชาธิวาส
- คลองท่าวาสุกรี
- คลองสามเสน ไปบรรจบคลองแสนแสบ
- คลองผดุงกรุงเกษม
- คลองบางลำภู คลองมหานาค-คลองแสนแสบ (ออกแม่น้ำบางปะกง)
- คลองรอบกรุง
- คลองคูเมืองเดิม
- คลองศาลเจ้าแม่ทับทิม
- คลองซุง
- คลองสาทร
- คลองวัดยานนาวา
- คลองกรวย
- คลองขวางสะพานเตี้ย
- คลองสวนหลวง
- คูน้ำซอยมาตานุสรณ์
- คลองโรงฆ่าสัตว์
- คลองบางคอแหลม
- คลองวัดจันทร์ใน
- คูข้างหมู่บ้านภักดี
- คลองบางโคล่น้อย
- คลองบางโคล่สาร
- คลองบางโคล่ใหญ่ (คลองบางโคล่กลาง)
- คลองบางโคล่ (คลองบางโคล่นอก)
- คลองตาเหล็ก
- คลองวัดไทร
- คลองบางมะนาว
- คลองเสาหิน
- คลองโรงน้ำมัน
- คลองวัดดอกไม้
- คลองวัดทองบน
- คลองบางโพงพางเหนือ
- คลองบางโพงพางใต้
- คลองปริวาส
- คลองแฝด
- คลองวัดด่านเหนือ
- คลองวัดด่าน
- คลองโบสถ์
- คลองสาน
- คลองใหม่
- คลองภูมิ
- คลองหีบ
- คลองสวน
- คลองตาห่วง
- คลองยายหรั่ง
- คลองตาเริก
- คลองวัดช่องนนทรี
- คลองช่องนนทรี
- คลองขุด (ท่าเรือ) เข้าท่าเรือกรุงเทพ
- คลองพระโขนง-คลองประเวศบุรีรมย์ (ออกแม่น้ำบางปะกง)
- คลองเจ็ก
- คลองบางจาก
- คลองบางอ้อ
- คลองบางนา
จังหวัดสมุทรปราการ
[แก้]- คลองวัดโยธินประดิษฐ์
- คลองสำโรง (ออกแม่น้ำบางปะกง)
- คลองบางนางเกรง (บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา)
- คลองมหาวงษ์ บรรจบคลองสำโรง
- คลองบางปิ้ง เชื่อมกับคลองชลประทาน (เลียบถนนสุขุมวิท) ไปบรรจบคลองสำโรง
ท่าน้ำ
[แก้]แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมอีกเส้นทางสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้มีการสร้างท่าน้ำจำนวนมากเพื่อรองรับการขนส่งทางน้ำ โดยท่าน้ำในการเดินเรือโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีดังนี้[4]
|
|
สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ
[แก้]จังหวัดนครสวรรค์
[แก้]จังหวัดชัยนาท
[แก้]จังหวัดสิงห์บุรี
[แก้]จังหวัดอ่างทอง
[แก้]- วัดไชโยวรวิหาร
- วัดต้นสน (จังหวัดอ่างทอง)
- วัดอ่างทองวรวิหาร
- ศาลากลางจังหวัดอ่างทอง
- วัดป่าโมกวรวิหาร
- วัดสระแก้ว
- วัดท่าสุทธาวาส (จังหวัดอ่างทอง)
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
[แก้]- วัดพนัญเชิงวรวิหาร
- วัดพุทไธศวรรย์
- วัดไชยวัฒนาราม
- พระราชวังบางปะอิน
- ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
- วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
- วัดสวนหลวงสบสวรรค์
- สะพานกษัตราธิราช
- ป้อมเพชร
- พระตำหนักสิริยาลัย
- หมู่บ้านญี่ปุ่น
- หมู่บ้านโปรตุเกส
- วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร
- บ้านฮอลันดา
- วัดนางกุย
- วัดท่าการ้อง
จังหวัดปทุมธานี
[แก้]จังหวัดนนทบุรี
[แก้]- วัดปรมัยยิกาวาส
- วัดกลางเกร็ด
- เกาะเกร็ด
- กรมชลประทาน
- กรมราชทัณฑ์
- กระทรวงพาณิชย์
- วัดแคนอก
- อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก
- วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
- วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร
[แก้]- วัดสร้อยทอง
- สัปปายะสภาสถาน
- วัดวิมุตยาราม
- วังเทเวศร์
- วังบางขุนพรหม
- วัดบางน้ำผึ้งนอก
- วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
- วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
- สวนใต้สะพานพระราม 8
- สวนสันติชัยปราการ
- โรงพยาบาลศิริราช
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
- โรงเรียนราชินี
- หอประชุมกองทัพเรือ
- วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
- โบสถ์ซางตาครูส
- วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
- สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
- ริเวอร์ซิตี
- เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์
- ไอคอนสยาม
- อาสนวิหารอัสสัมชัญ
- โบสถ์กาลหว่าร์
- วัดยานนาวา
- วัดบุคคโล
- วัดราษฎร์บูรณะ
- วัดแก้วฟ้าจุฬามณี
- สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ ใต้สะพานพระราม 9
- ธนาคารกสิกรไทย สาขาสำนักราษฎร์บูรณะ
- ท่าเรือกรุงเทพ
- ดินแดนสรวงสวรรค์แห่งพระราชา (โครงการ)
จังหวัดสมุทรปราการ
[แก้]- ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์
- วัดพระสมุทรเจดีย์
- ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ
- ป้อมพระจุลจอมเกล้า
- โรงเรียนนายเรือ
การผลิตน้ำประปา
[แก้]แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาสำคัญของการประปาส่วนภูมิภาคในพื้นที่ภาคกลาง ส่วนเขตจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ รับผิดชอบโดยการประปานครหลวง โดยมีสถานีสูบน้ำดิบสำแล ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านกระแชง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
การใช้เส้นทางทางน้ำในการพระราชพิธีทางชลมารค
[แก้]ในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2562 กรมเจ้าท่าได้ประกาศกำหนดควบคุมการจราจรทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการซ้อมรูปขบวนเรือพระราชพิธี ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
สัตว์น้ำหายากที่พบ
[แก้]- วาฬบรูด้า[8]
- ปลาทรงเครื่อง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos bicolor อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างคล้ายปลากา (Labeo chrysophekadion) ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน แต่มีรูปร่างที่เพรียวยาว มีขนาดเล็กกว่ามาก สีลำตัวสีแดงอ่อน ครีบหางสีแดงเข้ม มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 12 เซนติเมตร และยังเป็นปลาน้ำจืดเฉพาะถิ่นของไทย และพบได้ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนเท่านั้น[9]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ สถานที่ท่องเที่ยวแนะนำ
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ. "แม่น้ำเจ้าพระยา ได้ชื่อ "เจ้าพระยา" จากเทวรูป พบที่คลองสำโรง สมุทรปราการ". มติชน.
- ↑ การบันทึกน่าจะคลาดเคลื่อน เพราะในปีนั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชยังไม่ขึ้นครองราชย์
- ↑ "ข้อมูลท่าเทียบเรือ (สผง.)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
- ↑ "สถานที่ท่าสำคัญ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-21. สืบค้นเมื่อ 2019-08-05.
- ↑ เขื่อนเจ้าพระยา
- ↑ “ดร.ธรณ์” ฝากคนกรุงเทพฯ รักษาภาพ “วาฬบรูด้า” โผล่แม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยการลดใช้ถุงพลาสติก
- ↑ “ปลาทรงเครื่อง” ไม่ใช่อาหาร แต่เป็นปลาสวยงามสัญชาติไทย
- จารุภัทร วิมุตเศรษฐ์. สะพานข้ามเจ้าพระยา. กรุงเทพมหานคร. 2553.