ข้ามไปเนื้อหา

วัดกลางเกร็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดกลางเกร็ด
แผนที่
ชื่อสามัญวัดกลางเกร็ด
ที่ตั้งเลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขาประชาสรรค์ 1 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูวินัยธร สมนึก สิทฺธิมโน
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดกลางเกร็ด เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 1 บ้านปากด่าน ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อยู่ในพื้นที่ราบลุ่มริมแม่น้ำลัดเกร็ด ไม่ไกลจากวัดสนามเหนือ

ประวัติ

[แก้]

วัดสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย[1] สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะสร้างขึ้นมาตั้งแต่ครั้งที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดฯ ให้ขุดคลองลัดนี้ในสมัยอยุธยา พม่ายึดเมืองนนทบุรีได้และมาตั้งค่ายอยู่ที่หลังวัดกลางเกร็ด เพื่อรวบรวมพลไปตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310 พม่าได้มายึดด่านปากเกร็ดเป็นด่านตรวจจับคนไทยที่ผ่านด่านนี้ วัดกลางเกร็ดจึงถูกทิ้งร้างไประยะหนึ่ง จนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดเกล้าฯ ให้คนมอญตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านปากเกร็ดใกล้ด่านปากเกร็ด วัดกลางเกร็ดจึงได้รับการดูแลจากคนมอญ ต่อมาคนไทยได้เข้ามาทำหน้าที่รักษาด่านและมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านปากด่านบริเวณปากคลองลัดเกล็ดด้านใต้จำนวนมาก ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์และทำบุญที่วัด จึงมีคนไทยมากกว่าคนมอญ[2] วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2332

อาคารเสนาสนะและโบราณวัตถุ

[แก้]

พระอุโบสถมีหน้าบันไม้แกะสลักลายก้านขด[3] พระประธานที่อยู่ภายในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาดหน้าตัก 3 ศอกคืบ มีหอไตรกลางน้ำฝีมือช่างท้องถิ่น พระพุทธรูปสำคัญของวัด คือ พระพุทธไสยาสน์ หรือ หลวงพ่อพระนอน เดิมประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง เป็นพระพุทธรูปเก่าไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด ต่อมาชำรุดทรุดโทรมมากจึงได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ทั้งองค์ พระพุทธไสยาสน์องค์ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหาร ประทับนอนสีหไสยาสน์ พระพาทาและพระกรพับขึ้นตั้งรับพระเศียรอยู่หน้าพระเขนย พระหัตถ์ขวารองรับพระเศียรอยู่บนพระเขนย กลวงฝ่าพระบาทมีรูปจักร[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "เที่ยวใกล้กรุง ล่องเรือไหว้พระ 9+1วัด". กรุงเทพธุรกิจ. 16 มกราคม 2558.
  2. "วัดกลางเกร็ด ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี". คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-08-21.
  3. "วัดกลางเกร็ด". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
  4. "วัดกลางเกร็ด". กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-08-21.