ข้ามไปเนื้อหา

ท่าเรือสถานีรถไฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท่ารถไฟ
โป๊ะของท่าเรือรถไฟในปี 2561
ประเภทท่าเรือโดยสาร
ประเภทเรือเรือด่วน
โครงสร้างท่าสะพานเหล็กปรับระดับ
ที่ตั้งเขตบางกอกน้อย, กรุงเทพมหานคร
ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อทางการท่ารถไฟ
เจ้าของกรมเจ้าท่า
ผู้ดำเนินงาน • เรือด่วนเจ้าพระยา
ค่าโดยสารธงส้ม16 บาทตลอดสาย

ธงเหลือง 21 บาทตลอดสาย

ธงเขียวเหลือง 14-33 บาท
ข้อมูลเฉพาะ
รหัสท่า น11 (N11) 
โครงสร้างหลักโป๊ะลอยน้ำ
ความยาว12 เมตร
ความกว้าง6 เมตร
พิกัด13°45′34″N 100°29′15″E / 13.759308956487141°N 100.48743366639471°E / 13.759308956487141; 100.48743366639471
ท่ารถไฟตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
ท่ารถไฟ
ท่ารถไฟ
ท่าเรือรถไฟในปี 2560

ท่ารถไฟ หรือ ท่าเรือสถานีรถไฟธนบุรี (อังกฤษ: Thonburi Railway Station Pier; รหัส: น11, N11) เป็นท่าเรือสำหรับ เรือด่วนเจ้าพระยา ซึ่งวิ่งระหว่างกรุงเทพ (วัดราชสิงห์ถัดจาก เอเชียทีค S3) และทางตอนเหนือสุดของจังหวัดนนทบุรี (ปากเกร็ด ; N33)

ที่ตั้ง

[แก้]

ท่าเรือนี้อยู่ตรงกลางระหว่างท่าเรือวังหลัง (N10) และท่าเรือพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร (N12) ตั้งอยู่ด้านหน้าของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ โดยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ปากคลองบางกอกน้อย ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับที่เคยเป็นสถานีรถไฟบางกอกน้อย จึงเรียกว่า "ท่าเรือสถานีรถไฟ" หรือ "ท่ารถไฟ"

จากท่าเรือนี้มองข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถมองเห็นตึกโดมของคณะรัฐศาสตร์และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างชัดเจน

ท่าเรือสถานีรถไฟถือเป็นท่าเรือบรรยากาศดีเหมาะแก่การเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและทางเดินเลียบแม่น้ำนอกจากนี้ยังมีร้านอาหารและคาเฟ่ มีสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 ปีที่มี ศาลาทรงไทย ที่สวยงามและยังมีรถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 โบราณหมายเลข 950 และพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

นอกจากการท่องเที่ยวทางน้ำแล้วทางเข้าของท่าเรือแห่งนี้ยังเป็นสถานีปลายทางของรถสองแถวที่วิ่งไปหลายที่ในเขตตลิ่งชัน เช่น ชุมชนวัดจำปา เขตตลิ่งชัน และตลาดน้ำคลองลัดมะยม

ในเดือนสิงหาคม 2561 กรมเจ้าท่าได้สั่งระงับการให้บริการท่าเรือสถานีรถไฟชั่วคราว เนื่องจากเสาหนึ่งของโป๊ะเสียหาย แต่ต่อมาได้มีการซ่อมแซมและเปิดให้บริการเป็นปกติ[1]

โครงสร้าง

[แก้]

ท่ารถไฟมีโครงสร้างแบบสะพานเหล็กปรับระดับ ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 10 เมตร ประกอบกับโป๊ะเรือลอยน้ำ ความกว้าง 6 เมตร ความยาว 12 เมตร โดยได้รับการปรับปรุงเมื่อปี พ.ศ. 2554 และปี พ.ศ. 2563 โดยกรมเจ้าท่า[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]