ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ราว 2150–1991 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||
จารึกพิธีพระบรมศพของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 จุดแสดงอยู่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน | |||||||||
เมืองหลวง | ธีบส์ | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์ | ||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคทองแดง | ||||||||
• ก่อตั้ง | ราว 2150 | ||||||||
• สิ้นสุด | 1991 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||
|
สมัยและราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ |
---|
ทั้งหมดก่อนคริสต์ศักราช |
ดูเพิ่ม: รายชื่อฟาโรห์ตามช่วงเวลาและราชวงศ์ |
ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ เป็นราชวงศ์ที่ผู้ปกครองเหล่านี้มีหลักฐานยืนยันเป็นอย่างดี รัชสมัยของผู้ปกครองพระองค์ที่อยู่ก่อนหน้ารัชสมัยฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 จะถูกจัดรวมกลุ่มกับอีก 4 ราชวงศ์ก่อนหน้าให้อยู่ในสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง โดยในขณะที่ผู้ปกครองภายในราชวงศ์ช่วงหลังจะถือว่าอยู่ในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง และศูนย์กลางงการเมืองการปกครองของฟาโรห์จากราชวงศ์นี้อยู่ที่เมืองธีบส์ในดินแดนอียิปต์บน
ราชวงศ์
[แก้]ลำดับเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กันของราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ ได้รับการพิสูจน์ยืนยันอย่างดีจากหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัย เว้นแต่ฟาโรห์อินเตฟและฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 ที่มีหลักฐานยืนยันมาจากบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน[1]
จากข้อมูลของมาเนโท ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดประกอบด้วยฟาโรห์จำนวน 16 พระองค์ ซึ่งทั้งหมดครองราชย์รวมกันเป็นเวลา 43 ปีนั้นขัดแย้งกับคำจารึกร่วมสมัยและหลักฐานจากบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งหลักฐานทั้งสองชิ้นได้ระบุว่า ราชวงศ์นี้ประกอบด้วยฟาโรห์จำนวน 7 พระองค์ที่ปกครองกันเป็นเวลารวม 143 ปี[2] แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากมาเนโทที่ว่าราชวงศ์นี้มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์นั้นได้รับการพิสูจน์ยืนยันโดยหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัย ในช่วงการปกครองของราชวงศ์นี้ดินแดนอียิปต์โบราณทั้งหมดได้ถูกผนวกรวมตัวกันขึ้นเป็นราชอาณาจักรกลาง
ราชวงศ์นี้มีต้นกำเนิดมาจากผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า "อินเตฟ ผู้ยิ่งใหญ่ บุตรชายแห่งอิกู" ซึ่งถูกกล่าวถึงในจารึกชั้นต้นร่วมสมัยจำนวนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อทันทีของเขา ถือว่าเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์นี้
คำจารึกที่แกะสลักขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์วาอังค์ อินเตฟที่ 3 ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์แรกจากราชวงศ์นี้ที่ได้อ้างว่าทรงสามารถครอบครองทั้งดินแดนอียิปต์ ซึ่งเป็นข้ออ้างที่เป็นหลักฐานที่ชี้ว่า ผู้ปกครองท้องถิ่นจากธีบส์ได้มีความขัดแย้งกับผู้ปกครองจากเฮราคลีโอโพลิส มักนาแห่งราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์ โดยฟาโรห์อินเตฟทรงดำเนินการทางการทหารจำนวนครั้งไปทางเหนือ และยึดครองอไบดอส ซึ่งเมืองที่มีสำคัญ
สงครามระหว่างราชวงศ์ท้องถิ่นของธีบส์กับเฮราคลีโอโพลิสได้ดำเนินต่อไปเป็นระยะ ๆ จนถึงปีที่ 14 แห่งรัชสมัยของฟาโรห์เนบเฮเพตเร เมนทูโฮเทปที่ 2 เมื่อฝ่ายราชวงศ์ท้องถิ่นจากเฮราคลีโอโพลิสได้ปราชัยในสงคราม และราชวงศ์สิบเอ็ดก็สามารถรวบรวมอำนาจการปกครองขึ้นมาได้ โดยผู้ปกครองจากราชวงศ์นี้ได้แผ่อำนาจและอิทธิพลของราชอาณาจักรอียิปต์ต่อดินแดนต่าง ๆ ในดินแดนแอฟริกาและตะวันออกใกล้ ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ได้ทรงส่งคณะเดินทางครั้งใหม่ไปยังฟีนิเซียเพื่อค้นหาไม้ซีดาร์ และฟาโรห์สอังค์คารา เมนทูโฮเทปที่ 3 ไดทรงส่งคณะเดินทางจากเมืองคอปโตส ซึ่งอยู่ทางใต้ของอียิปต์ไปยังดินแดนแห่งพุนต์
ยังไม่มีทราบแน่ชัดและความคลุมเครืออย่างมากเกี่ยวกับรัชสมัยของฟาโรห์พระองค์สุดท้ายและการสิ้นสุดของราชวงศ์นี้ ในบันทึกร่วมสมัยได้อ้างถึง "เจ็ดปีที่ว่างเปล่า" ภายหลังจากการเสด็จสวรรคตของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลารัชสมัยของฟาโรห์เนบทาวีรา เมนทูโฮเทปที่ 4 โดยนักวิชาการในสมัยใหม่ได้ระบุว่า อเมนเอมฮัต ซึ่งเป็นราชมนตรีในรัชสมัยของพระองค์นั้นเป็นบุคคลคนเดียวกับกับฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์แรกจากราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีที่ว่า ราชมนตรีอเมนเอมฮัตได้ขึ้นมาสู่อำนาจและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นฟาโรห์หลังจากการการทำรัฐประหารภายในพระราชวัง รายละเอียดบางประการของการครองราชย์ของฟาโรห์เมนทูโฮเทปก็คือลางบอกเหตุอันน่าสังเกตทั้งสองอย่างถูกพบเห็นที่เหมืองหินในวาดีฮัมมามาต โดยราชมนตรีอเมนเอมฮัต
รายพระนามฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์
[แก้]ฟาโรห์ | พระนามฮอรัส | รูปภาพ | ช่วงเวลารัชสมัย | สถานที่ฝังพระรมศพ | พระมเหสี | คำอธิบาย |
---|---|---|---|---|---|---|
อินเตฟ ผู้อาวุโส | ราว 2150 ปีก่อนคริสตกาล | Iry-pat, "ขุนนาง", คงจะเป็นบุคคลคนเดียวกันกับ "อินเตฟ บุตรชายของอิกู"[1] ซึ่งเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นธีส์ที่รับใช้ฟาโรห์ไม่ทราบพระนาม | ||||
เมนทูโฮเทปที่ 1 | เทปิอา | 2134 ปีก่อนคริสตกาล – ? | เนเฟรูที่ 1 | เทปิ-อา, "บรรพบุรุษ" | ||
อินเตฟที่ 1 | เซเฮอร์ทาวี | ? – 2118 ปีก่อนคริสตกาล | อัล ทาริฟ, ธีบส์ | พระราชโอรสของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 | ||
อินเตฟที่ 2 | วาอังค์ | 2118 – 2069 ปีก่อนคริสตกาล | อัล ทาริฟ, ธีบส์ | เนเฟรูคาเยต? | พระอนุชาของฟาโรห์อินเตฟที่ 1 | |
อินเตฟที่ 3 | นัคต์เนบเทปเนเฟอร์ | 2069 –2061 ปีก่อนคริสตกาล | อัล ทาริฟ, ธีบส์ | ไออาห์ | พระราชโอรสของฟาโรห์อินเตฟที่ 2 | |
เนบเฮเพตเรเมนทูโฮเทปที่ 2 | เซอังค์อิบทาวี;
เนทเจริเฮดเจต; สมาทาวี |
2061 – 2010 ปีก่อนคริสตกาล | อัดดัยรุลบะห์รี | เทม | พระราชโอรสของฟาโรห์อินเตฟที่ 3 กับพระนางไออาห์ ผู้รวบรวมดินแดนอียิปต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรกลาง | |
สอังค์คาเร เมนทูโฮเทปที่ 3 | สอังค์ทาวีเอฟ | 2010 – 1998 ปีก่อนคริสตกาล | อัดดัยรุลบะห์รี[3] | พระราชโอรสของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 กับพระนางเทม | ||
เนบทาวีเร เมนทูโฮเทปที่ 4 | เนบทาวี | 1998 – 1991 ปีก่อนคริสตกาล | พระราชโอรสของพระราชินีอิมิ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Schneider, Thomas (2006-12-30). Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David A. (บ.ก.). Ancient Egyptian Chronology. pp. 160–161. ISBN 9789047404002. (mirror)
- ↑ Beckerath, J. V. (1962). "The Date of the End of the Old Kingdom of Egypt". Journal of Near Eastern Studies. 21 (2): 140–147. doi:10.1086/371680.
- ↑ Wilkinson, Richard H. (2000). The Complete Temples of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p. 37, 172, 173, 181. ISBN 9780500051009.