ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9131062 สร้างโดย Jeabbabe (พูดคุย)
Fridolin freudenfett (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
|name = รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
|name = รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
|color = {{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม}}
|color = {{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม}}
| logo = MRT (Bangkok) Orange Logo.svg
| logo = MRT (Bangkok) Orange logo.svg
| logo_width = 80px
| logo_width = 80px
| logo_alt =
| logo_alt =
บรรทัด 202: บรรทัด 202:
| colspan = "9" |
| colspan = "9" |
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR01'''||[[สถานีบางขุนนนท์|บางขุนนนท์]] || Bang Khun Non || 0+000 || rowspan = "2" align="center" | ใต้ดิน|| ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน}}>[[สถานีบางขุนนนท์ (รถไฟฟ้าชานเมือง)|สถานีบางขุนนนท์]]</font>''<br>''{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}}>[[สถานีบางขุนนนท์]]</font>'' || บางขุนศรี || rowspan = "2" | [[เขตบางกอกน้อย|บางกอกน้อย]] || rowspan = "2" |[[กรุงเทพมหานคร]]
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR01'''||[[สถานีบางขุนนนท์|บางขุนนนท์]] || Bang Khun Non || 0+000 || rowspan = "2" align="center" | ใต้ดิน|| ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน}}>[[สถานีบางขุนนนท์ (รถไฟฟ้าชานเมือง)|สถานีบางขุนนนท์]]</font>''<br>''{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}}>[[สถานีบางขุนนนท์]]</font>'' || บางขุนศรี || rowspan = "2" | [[เขตบางกอกน้อย|บางกอกน้อย]] || rowspan = "2" |[[กรุงเทพมหานคร]]
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR02'''||[[อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช|ศิริราช]] || Siriraj || 1+160 ||''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน}}>[[อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช|สถานีศิริราช]]</font>''<br>'''{{BTS Lines|เรือด่วนเจ้าพระยา}} <font color={{BTS color|เรือด่วนเจ้าพระยา}}>[[ท่าวังหลัง|ท่าวังหลัง (พรานนก)]]</font>''' || ศิริราช
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR02'''||[[อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช|ศิริราช]] || Siriraj || 1+160 ||''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงอ่อน}}>[[อาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช|สถานีศิริราช]]</font>''<br>'''{{BTS Lines|เรือด่วนเจ้าพระยา}} <font color={{BTS color|เรือด่วนเจ้าพระยา}}>[[ท่าวังหลัง|ท่าวังหลัง (พรานนก)]]</font>''' || ศิริราช
|-
|-
| bgcolor="#BBEEFF" align="center"colspan = "9" |อุโมงค์ลอดใต้[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]
| bgcolor="#BBEEFF" align="center"colspan = "9" |อุโมงค์ลอดใต้[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR03'''||[[สถานีสนามหลวง|สนามหลวง]] || Sanam Luang || 2+370 || rowspan = "20" align="center" | ใต้ดิน || || พระบรมมหาราชวัง || rowspan = "2" | [[เขตพระนคร|พระนคร]] || rowspan = "27" |[[กรุงเทพมหานคร]]
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR03'''||[[สถานีสนามหลวง|สนามหลวง]] || Sanam Luang || 2+370 || rowspan = "20" align="center" | ใต้ดิน || || พระบรมมหาราชวัง || rowspan = "2" | [[เขตพระนคร|พระนคร]] || rowspan = "27" |[[กรุงเทพมหานคร]]
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR04'''||[[สถานีผ่านฟ้า|ผ่านฟ้า]] || Phan Fa || 3+590 || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม}}'' {{small|(สถานีร่วม)}} <br> '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่าผ่านฟ้าลีลาศ''' || วัดบวรนิเวศ
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR04'''||[[สถานีผ่านฟ้า|ผ่านฟ้า]] || Phan Fa || 3+590 || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม}}'' {{small|(สถานีร่วม)}} <br> '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่าผ่านฟ้าลีลาศ''' || วัดบวรนิเวศ
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR05'''||[[สถานีหลานหลวง|หลานหลวง]] || Lan Luang || 4+420 || || วัดโสมนัส || [[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย|ป้อมปราบศัตรูพ่าย]]
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR05'''||[[สถานีหลานหลวง|หลานหลวง]] || Lan Luang || 4+420 || || วัดโสมนัส || [[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย|ป้อมปราบศัตรูพ่าย]]
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR06'''||[[สถานียมราช (รถไฟฟ้ามหานคร)|ยมราช]] || Yommarat || 05.25 || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}}>[[สถานียมราช]]</font>''|| สี่แยกมหานาค || [[เขตดุสิต|ดุสิต]]
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR06'''||[[สถานียมราช (รถไฟฟ้ามหานคร)|ยมราช]] || Yommarat || 05.25 || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม}}>[[สถานียมราช]]</font>''|| สี่แยกมหานาค || [[เขตดุสิต|ดุสิต]]
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR07'''||[[สถานีราชเทวี (รถไฟฟ้ามหานคร)|ราชเทวี]] || Ratchathewi || 6+530 || '''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}>[[สถานีราชเทวี (รถไฟฟ้าบีทีเอส)|สถานีราชเทวี]]</font>''' <br> '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่าสะพานหัวช้าง''' || ถนนเพชรบุรี || rowspan = "4" | [[เขตราชเทวี|ราชเทวี]]
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR07'''||[[สถานีราชเทวี (รถไฟฟ้ามหานคร)|ราชเทวี]] || Ratchathewi || 6+530 || '''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}}>[[สถานีราชเทวี (รถไฟฟ้าบีทีเอส)|สถานีราชเทวี]]</font>''' <br> '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่าสะพานหัวช้าง''' || ถนนเพชรบุรี || rowspan = "4" | [[เขตราชเทวี|ราชเทวี]]
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR08'''||[[สถานีประตูน้ำ|ประตูน้ำ]] || Pratu Nam || 7+350 || '''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} [[สถานีชิดลม]]'''<br>'''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} {{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม}} [[สถานีสยาม]]''' <br> '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} [[ท่าประตูน้ำ]]''' || ถนนพญาไท
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR08'''||[[สถานีประตูน้ำ|ประตูน้ำ]] || Pratu Nam || 7+350 || '''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} [[สถานีชิดลม]]'''<br>'''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท}} {{BTS Lines|รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม}} [[สถานีสยาม]]''' <br> '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} [[ท่าประตูน้ำ]]''' || ถนนพญาไท
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR09'''||[[สถานีราชปรารภ|ราชปรารภ]] || Ratchaprarop || 8+090 ||'''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ}}>[[สถานีราชปรารภ (รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)|สถานีราชปรารภ]]</font>''' || มักกะสัน
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR09'''||[[สถานีราชปรารภ|ราชปรารภ]] || Ratchaprarop || 8+090 ||'''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ}}>[[สถานีราชปรารภ (รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)|สถานีราชปรารภ]]</font>''' || มักกะสัน
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR10'''||[[สถานีรางน้ำ|รางน้ำ]] || Rang Nam || 8+800 || || ถนนพญาไท
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR10'''||[[สถานีรางน้ำ|รางน้ำ]] || Rang Nam || 8+800 || || ถนนพญาไท
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR11'''||[[สถานีดินแดง|ดินแดง]] || Din Daeng || 10+630 || || rowspan="2" | ดินแดง || rowspan = "2" | [[เขตดินแดง|ดินแดง]]
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR11'''||[[สถานีดินแดง|ดินแดง]] || Din Daeng || 10+630 || || rowspan="2" | ดินแดง || rowspan = "2" | [[เขตดินแดง|ดินแดง]]
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''0R12'''||[[สถานีประชาสงเคราะห์|ประชาสงเคราะห์]] || Pracha Songkhro || 11+840 ||''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีฟ้า}} [[สถานีประชาสงเคราะห์ (รถไฟฟ้าสายสีฟ้า)|สถานีประชาสงเคราะห์]]''
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''0R12'''||[[สถานีประชาสงเคราะห์|ประชาสงเคราะห์]] || Pracha Songkhro || 11+840 ||''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีฟ้า}} [[สถานีประชาสงเคราะห์ (รถไฟฟ้าสายสีฟ้า)|สถานีประชาสงเคราะห์]]''
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR13'''||[[สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย|ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]] || Thailand Cultural Center || 13.09 ||{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}} {{small|(สถานีร่วม)}}<br>อาคารจอดแล้วจร || rowspan="2" | ห้วยขวาง || rowspan = "3" | [[เขตห้วยขวาง|ห้วยขวาง]]
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR13'''||[[สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย|ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย]] || Thailand Cultural Center || 13.09 ||{{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}} {{small|(สถานีร่วม)}}<br>อาคารจอดแล้วจร || rowspan="2" | ห้วยขวาง || rowspan = "3" | [[เขตห้วยขวาง|ห้วยขวาง]]
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR14'''|| [[สถานีรฟม.|รฟม.]] || MRTA || 14+600 || ศูนย์ซ่อมบำรุง
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR14'''|| [[สถานีรฟม.|รฟม.]] || MRTA || 14+600 || ศูนย์ซ่อมบำรุง
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR15'''||[[สถานีวัดพระราม 9|วัดพระราม 9]] || Wat Phra Ram 9 || 16+170 || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีเทา}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีเทา}}>[[สถานีพระราม 9 (รถไฟฟ้าสายสีเทา)|สถานีพระราม 9]]</font> || บางกะปิ
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR15'''||[[สถานีวัดพระราม 9|วัดพระราม 9]] || Wat Phra Ram 9 || 16+170 || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีเทา}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีเทา}}>[[สถานีพระราม 9 (รถไฟฟ้าสายสีเทา)|สถานีพระราม 9]]</font> || บางกะปิ
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR16'''|| [[สถานีรามคำแหง 12|รามคำแหง 12]] || Ramkhamhaeng 12 || 18+320 || '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่าเดอะมอลล์ 3''' || rowspan = "6" | หัวหมาก || rowspan = "6" | [[เขตบางกะปิ|บางกะปิ]]
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR16'''|| [[สถานีรามคำแหง 12|รามคำแหง 12]] || Ramkhamhaeng 12 || 18+320 || '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่าเดอะมอลล์ 3''' || rowspan = "6" | หัวหมาก || rowspan = "6" | [[เขตบางกะปิ|บางกะปิ]]
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR17'''|| [[สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง|มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] || Ramkhamhaeng University || 19+530 || '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่า ม.รามคำแหง'''
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR17'''|| [[สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง|มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] || Ramkhamhaeng University || 19+530 || '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่า ม.รามคำแหง'''
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR18'''|| [[สถานีราชมังคลา|ราชมังคลา]] || Rajamangala || 20+480 || '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่าสะพานมหาดไทย'''
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR18'''|| [[สถานีราชมังคลา|ราชมังคลา]] || Rajamangala || 20+480 || '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่าสะพานมหาดไทย'''
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR19'''||[[สถานีรามคำแหง 34|รามคำแหง 34]] || Ramkhamhaeng 34 || 21+750 ||
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR19'''||[[สถานีรามคำแหง 34|รามคำแหง 34]] || Ramkhamhaeng 34 || 21+750 ||
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR20'''|| [[สถานีแยกลำสาลี|แยกลำสาลี]] || Yaek Lam Sali || 22+750 || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีเหลือง}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีเหลือง}}>[[สถานีแยกลำสาลี]]</font><br>{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}}>[[สถานีแยกลำสาลี]]</font>'' <br> '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่าเดอะมอลล์บางกะปิ'''
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR20'''|| [[สถานีแยกลำสาลี|แยกลำสาลี]] || Yaek Lam Sali || 22+750 || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีเหลือง}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีเหลือง}}>[[สถานีแยกลำสาลี]]</font><br>{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล}}>[[สถานีแยกลำสาลี]]</font>'' <br> '''{{BTS Lines|เรือโดยสารคลองแสนแสบ}} ท่าเดอะมอลล์บางกะปิ'''
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR21'''|| [[สถานีศรีบูรพา|ศรีบูรพา]] || Si Burapha || 24+110 ||
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR21'''|| [[สถานีศรีบูรพา|ศรีบูรพา]] || Si Burapha || 24+110 ||
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR22'''|| [[สถานีคลองบ้านม้า|คลองบ้านม้า]] || Khlong Ban Ma || 25.30 ||อาคารจอดแล้วจร
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR22'''|| [[สถานีคลองบ้านม้า|คลองบ้านม้า]] || Khlong Ban Ma || 25.30 ||อาคารจอดแล้วจร
| rowspan="2" | สะพานสูง || rowspan = "4" | [[เขตสะพานสูง|สะพานสูง]]
| rowspan="2" | สะพานสูง || rowspan = "4" | [[เขตสะพานสูง|สะพานสูง]]
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR23'''||[[สถานีสัมมากร|สัมมากร]] || Sammakorn || 26+280 || rowspan = "7" align="center" | ยกระดับ ||
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR23'''||[[สถานีสัมมากร|สัมมากร]] || Sammakorn || 26+280 || rowspan = "7" align="center" | ยกระดับ ||
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR24'''|| [[สถานีน้อมเกล้า|น้อมเกล้า]] || Nom Klao || 28.21 || || rowspan="2" | ราษฎร์พัฒนา
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR24'''|| [[สถานีน้อมเกล้า|น้อมเกล้า]] || Nom Klao || 28.21 || || rowspan="2" | ราษฎร์พัฒนา
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR25'''|| [[สถานีราษฎร์พัฒนา|ราษฎร์พัฒนา]] || Rat Phatthana || 29+500 ||
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR25'''|| [[สถานีราษฎร์พัฒนา|ราษฎร์พัฒนา]] || Rat Phatthana || 29+500 ||
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR26'''|| [[สถานีวัดบางเพ็ง|มีนพัฒนา]] || Min Phatthana || 30+640 || || rowspan = "3" | มีนบุรี || rowspan = "4" | [[เขตมีนบุรี|มีนบุรี]]
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR26'''|| [[สถานีวัดบางเพ็ง|มีนพัฒนา]] || Min Phatthana || 30+640 || || rowspan = "3" | มีนบุรี || rowspan = "4" | [[เขตมีนบุรี|มีนบุรี]]
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR27'''|| [[สถานีเคหะรามคำแหง|เคหะรามคำแหง]] || Kheha Ramkhamhaeng || 32+140 ||
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR27'''|| [[สถานีเคหะรามคำแหง|เคหะรามคำแหง]] || Kheha Ramkhamhaeng || 32+140 ||
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR28'''|| [[สถานีมีนบุรี|มีนบุรี]] || Min Buri || 33+400 || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีชมพู}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีชมพู}}>[[สถานีมีนบุรี (รถไฟฟ้าสายสีชมพู)|สถานีมีนบุรี]]</font> ''<br>อาคารจอดแล้วจร
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR28'''|| [[สถานีมีนบุรี|มีนบุรี]] || Min Buri || 33+400 || ''{{BTS Lines|รถไฟฟ้าสายสีชมพู}} <font color={{BTS color|รถไฟฟ้าสายสีชมพู}}>[[สถานีมีนบุรี (รถไฟฟ้าสายสีชมพู)|สถานีมีนบุรี]]</font> ''<br>อาคารจอดแล้วจร
|-
|-
| align="center"|[[ไฟล์:MRT_(Bangkok)_Orange_Logo.svg|20px]] '''OR29'''|| [[สถานีแยกร่มเกล้า|แยกร่มเกล้า]] || Yaek Rom Klao || 34+180 || || แสนแสบ
| align="center"|[[ไฟล์:MRT (Bangkok) Orange logo.svg|20px]] '''OR29'''|| [[สถานีแยกร่มเกล้า|แยกร่มเกล้า]] || Yaek Rom Klao || 34+180 || || แสนแสบ
|-
|-
|- style = "background:#{{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม}}; height: 2pt"
|- style = "background:#{{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม}}; height: 2pt"

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:11, 17 พฤศจิกายน 2563

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
ไฟล์:Capture-20130508-111808.jpg
ภาพจำลองวีดิทัศน์ในปี 2556
ข้อมูลทั่วไป
สถานะกำลังก่อสร้าง (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี)
เจ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี29 (ทั้งโครงการ)
  • 17 (ก่อสร้าง)
  • 12 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับ และรถไฟฟ้าใต้ดิน
ระบบรถไฟฟ้ามหานคร
ผู้ดำเนินงานรอเอกชนร่วมประมูล
ขบวนรถยังไม่เปิดเผย
ประวัติ
เปิดเมื่อพ.ศ. 2566
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง35.9 กิโลเมตร (22.3 ไมล์)
รางกว้าง1435
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 km/h (50 mph)
แผนที่เส้นทาง

ตลาดน้ำตลิ่งชัน
ไฟฉาย – บางยี่ขัน
บางขุนนนท์
ศิริราช
แม่น้ำเจ้าพระยา
สนามหลวง
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
บางขุนพรหม – สามยอด
หลานหลวง
สายธานีรัถยา ยศเส – ราชวิถี
ยมราช
ราชเทวี พญาไท – สยาม
ราชเทวี
ประตูน้ำ
ราชปรารภ พญาไท – มักกะสัน
ราชปรารภ
ดินแดง
ประชาสงเคราะห์
ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ห้วยขวาง – พระราม 9
ศูนย์ซ่อมบำรุง
รฟม.
นวศรี – ศูนย์วิจัย
วัดพระราม 9
รามคำแหง 12
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
กกท.
รามคำแหง 40
สนามกีฬาคลองจั่น
บางกะปิ – ศรีกรีฑา
แยกลำสาลี
ศรีบูรพา
คลองบ้านม้า
สัมมากร
น้อมเกล้า
ราษฎร์พัฒนา
มีนพัฒนา
เคหะรามคำแหง
ตลาดมีนบุรี
มีนบุรี
แยกร่มเกล้า(สุวินทวงศ์)

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - แยกร่มเกล้า) (อังกฤษ: Metropolitan Rapid Transit Orange Line, MRT Orange Line) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ดำเนินการโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดิน และยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางภายในเขตเมืองตามแนวตะวันออก - ตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางรถไฟสายสายธนบุรี (ทางรถไฟสายใต้เดิม) แล้วลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่ย่านเมืองเก่า ย่านใจกลางเมืองก่อนออกไปยังชุมชนประชาสงเคราะห์และออกสู่ย่านชานเมืองถนนรามคำแหง มาสิ้นสุดเส้นทางที่ชานเมืองด้านทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครบริเวณจุดตัดถนนรามคำแหงกับถนนสุวินทวงศ์

เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเดิมช่วงสามเสน-บางกะปิ มาต่อขยายเส้นทางจากสามเสน (ซังฮี้) ไปยังบางบำหรุ กลายเป็นเส้นทางบางบำหรุ-บางกะปิที่กำหนดให้เป็นสายสีส้ม บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยในปี พ.ศ. 2553 ได้มีการแก้ไขแนวเส้นทางบางส่วนโดยสลับกับโครงข่ายในเมืองของรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มจากเดิมกลายเป็นตลิ่งชัน - มีนบุรี และใน พ.ศ. 2554 ก็ได้มีการแก้ไขแบบแผนอีกครั้ง โดยตัดเส้นทางจากเดิมที่จะไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน ให้มาสุดอยู่แค่แยกจรัญสนิทวงศ์เนื่องจากเส้นทางทับซ้อนกับสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มเหลือเพียงแค่ บางขุนนนท์ - มีนบุรี

ปัจจุบัน โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือเส้นทางตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และเส้นทางตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ - มีนบุรี - แยกสุวินทวงศ์ โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการก่อสร้างเส้นทางช่วงตะวันออกเป็นอันดับแรก ส่วนโครงการช่วงตะวันตกอยู่ในระหว่างการคัดเลือกเอกชนเข้าดำเนินการ คาดว่าจะเปิดใช้งานได้อย่างเป็นทางการครบทั้งสายภายใน พ.ศ. 2570

ภาพรวม

เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่เชื่อมโยงการเดินทางในแนวตะวันออก-ตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากจุดตัดทางรถไฟสายธนบุรี (สายใต้เดิม) กับถนนจรัญสนิทวงศ์ ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่ใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์ ผ่านย่านที่สำคัญในพื้นที่เมืองเก่าเขตดุสิต และเขตพระนคร ผ่านสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลศิริราช ท้องสนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากนั้นเข้าสู่ย่านการค้าใจกลางเมืองบริเวณแยกประตูน้ำ แล้วมุ่งขึ้นทางเหนือเข้าสู่ศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร และศาลาว่าการกรุงเทพมหานครแห่งใหม่ (อาคารธานีนพรัตน์) ชุมชนประชาสงเคราะห์ ออกสู่ถนนรัชดาภิเษก ถนนพระราม 9 และถนนรามคำแหง สิ้นสุดโครงการบริเวณชานเมืองทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานครบริเวณจุดตัดถนนรามคำแหงกับถนนสุวินทวงศ์ รวมระยะทางประมาณ 34.8 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่เน้นการขนส่งผู้โดยสารจากชานเมืองทิศตะวันออกเข้าสู่ใจกลางเมืองและย่านเมืองเก่าทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานครได้อย่างรวดเร็ว

พื้นที่เส้นทางผ่าน

แขวง เขต จังหวัด
ศิริราช บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
พระบรมมหาราชวัง / บ้านพานถม พระนคร
คลองมหานาค ป้อมปราบศัตรูพ่าย
สวนจิตรลดา ดุสิต
ทุ่งพญาไท / ถนนพญาไท / มักกะสัน / สามเสนใน ราชเทวี
ดินแดง ดินแดง
ห้วยขวาง / บางกะปิ ห้วยขวาง
หัวหมาก บางกะปิ
สะพานสูง / ราษฎร์พัฒนา สะพานสูง
มีนบุรี / แสนแสบ มีนบุรี

รูปแบบของโครงการ

  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit) [1]
  • ทางวิ่ง ช่วงบางขุนนนท์ - คลองบ้านม้า จะเป็นเส้นทางใต้ดิน ส่วนใหญ่เป็นอุโมงค์คู่ตีขนานตลอดทาง ยกเว้นช่วงที่มีเนื้อที่จำกัดและมีประชาชนอาศัยหนาแน่นจะเป็นอุโมงค์เดี่ยวซ้อนกัน และช่วงคลองบ้านม้า - สุวินทวงศ์ จะเป็นเส้นทางยกระดับจากพื้นถนน ไล่ความสูงจากปลายอุโมงค์ที่สถานีคลองบ้านม้า มาจนถึงความสูงที่ 12-15 เมตรจากผิวถนนที่สถานีสัมมากร และไล่ขึ้นไปจนถึงความสูงปกติของโครงการที่ 17 เมตรจากผิวถนน[1]
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ[1]
  • ตัวรถใช้ระบบเดียวกันกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน เดินรถ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง[1] จำนวน 40 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ เช่นเดียวกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน[1]

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

โครงการมีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่บนพื้นที่ขนาด 155 ไร่ ภายในอาณาบริเวณของ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ถนนเทียมร่วมมิตร (ติดกันกับที่ทำการของ สำนักสาขา 2 (รถไฟฟ้า) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)) ซึ่งเป็นพื้นที่ร่วมกับของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีอาคารจอดแล้วจร (Park and Ride) ที่สถานีมีนบุรี สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และสถานีคลองบ้านม้า [1]

สถานี

มีทั้งหมด 29 สถานี โดยสถานีใต้ดินยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูกั้นชานชาลาแบบเต็มความสูงทุกสถานี ออกแบบให้มีความคงทนแข็งแรงรองรับต่อการทรุดตัวของผิวดิน และรองรับต่อแรงสั่นสะเทือนหากเกิดเหตุแผ่นดินไหวโดยไม่เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง ทางเข้าสถานีถูกออกแบบให้มีความสูงจากผิวดินประมาณ 1 เมตรเพื่อรองรับต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยวัดจากสถิติความสูงที่สูงที่สุดของเหตุการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 22 สถานี (บางขุนนนท์ - คลองบ้านม้า) ส่วนสถานียกระดับมีความยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีประตูกั้นชานชาลาความสูงแบบ Half-Height ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด สถานีโดยรวมมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน มีทั้งหมด 7 สถานี (สัมมากร - แยกร่มเกล้า) ทุกสถานีออกแบบให้รองรับรถไฟฟ้าได้สูงสุด 6 ตู้ต่อสถานี ชานชาลามีทั้งรูปแบบชานชาลาเกาะกลาง และชานชาลาด้านข้าง สลับกันไปตามแต่ละพื้นที่[1]

เส้นทาง

โครงการช่วงตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ - มีนบุรี) (กำลังก่อสร้าง)

ช่วงที่ 1 : ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางบางกะปิ - ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นเส้นทางเข้าสู่พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยที่ใช้ร่วมกับสายเฉลิมรัชมงคล และยังเป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการคมนาคมจากแหล่งที่พักอาศัยขนาดใหญ่ย่านบางกะปิเข้ากับสายเฉลิมรัชมงคล ที่กำหนดให้เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าวงแหวนรอบกรุงเทพฯ

เส้นทางส่วนนี้เป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย จากนั้นวิ่งตามแนวถนนวัฒนธรรม ออกสู่ถนนพระราม 9 ที่บริเวณหน้าที่ทำการของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก ผ่านแยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม แล้วเข้าสู่ถนนรามคำแหง บริเวณแยกรามคำแหง ผ่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง, ราชมังคลากีฬาสถาน ไปสิ้นสุดเส้นทางที่แยกลำสาลีในย่านบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง) รวมระยะทางทั้งสิ้น 9 กิโลเมตร[2][3]

ช่วงที่ 2 : บางกะปิ - มีนบุรี

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 โดยเป็นส่วนต่อขยายของเส้นทางบางกะปิ - ราษฎร์บูรณะของสายสีส้มเดิม แต่ได้แยกออกมาเป็นรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล[4] เมื่อปี พ.ศ. 2548 และมีการปรับแผนแม่บทฯ รวมเอาเส้นทางสายสีน้ำตาลกลับเข้ามาเป็นสายสีส้มอีกครั้งในปี พ.ศ. 2552

เป็นเส้นทางยกระดับเกือบทั้งหมดตามแนวถนนรามคำแหง (สุขาภิบาล 3) เริ่มต้นจากโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่แยกลำสาลี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางช่วงก่อนหน้านี้ ผ่านจุดตัดถนนศรีบูรพา จากนั้นจึงเริ่มยกระดับตามแนวเกาะกลางถนนเข้าสู่สถานีสัมมากร ที่ความสูง 10-12 เมตรจากผิวดิน จากนั้นยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงความสูงปกติที่ 15 เมตร ผ่านหมู่บ้านสัมมากร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า ยกข้ามทางแยกต่างระดับรามคำแหงจุดตัดถนนกาญจนาภิเษก ผ่านแยกลาดบัวขาว ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนมีนพัฒนา ผ่านเคหะรามคำแหง ไปสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณก่อนถึงแยกสุวินทวงศ์ ในพื้นที่แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี รวมระยะทางทั้งสิ้น 11 กิโลเมตร

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางกะปิ - มีนบุรี จะประกอบไปด้วยสัญญาการก่อสร้างของ รฟม. ควบคู่สัญญาการก่อสร้างท่อร้อยไฟฟ้าใต้ดินของ การไฟฟ้านครหลวง เนื่องจากเป็นการก่อสร้างแบบควบคู่ทั้งโครงการ

สัญญาที่ เนื้องาน มูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูล ความคืบหน้า
(ภาพรวม 71.38 % เร็วกว่าแผน 2.41 %
ณ สิ้นเดือน ตุลาคม 2563
[5])
1 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-รามคำแหง 12
ระยะทาง 6.29 กม. (3.91 ไมล์)
20,698 กิจการร่วมค้าซีเคเอสที
(บมจ. ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น)
81.59 %
2 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-รามคำแหง 34
ระยะทาง 3.4 กม. (2.11 ไมล์)
21,572 67.34 %
3 งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างส่วนใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 34-คลองบ้านม้า
ระยะทาง 4.04 กม. (2.51 ไมล์)
18,589.66 บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ 70.28 %
4 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ ช่วงคลองบ้านม้า-แยกร่มเกล้า
ระยะทาง 8.8 กม. (5.47 ไมล์)
9,999 บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน 60.36 %
5 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร 4,901 กิจการร่วมค้าซีเคเอสที
(บมจ. ช.การช่าง และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น)
74.93 %
6 งานวางระบบราง 3,750 บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน 68.47 %
7 งานระบบรถไฟฟ้า (ตลิ่งชัน-สุวินทวงศ์) คณะกรรมการ รฟม. มีมติให้รวมงานเดินรถเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการก่อสร้างของโครงการส่วนตะวันตก

โครงการช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) (อยู่ระหว่างการประมูล)

เป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยต่อขยายแนวเส้นทางช่วงสามเสน (ซังฮี้) - ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ ของเส้นทางสายสีส้มเดิมมาเป็นบางบำหรุ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ ใน พ.ศ. 2553 ได้มีการแก้ไขเส้นทางโดยสลับกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงโครงข่ายในเมือง ที่ได้เปลี่ยนจากช่วงตลิ่งชัน-มักกะสัน มาเป็นบางบำหรุ-มักกะสัน ทำให้เส้นทางสายสีส้มส่วนนี้ต้องเปลี่ยนจาก บางบำหรุ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ มาเป็น ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ใน พ.ศ. 2554 ก็ได้มีการแก้ไขแบบแผนเป็นครั้งที่ 3 โดยตัดเส้นทางจากเดิมที่จะไปสิ้นสุดที่ตลิ่งชัน ให้มาสิ้นสุดที่แยกจรัญสนิทวงศ์เนื่องจากเส้นทางทั้งหมดทับซ้อนกับสายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช ทำให้แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีส้มเหลือเพียงแค่ บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ ใน พ.ศ. 2557 เกิดการคัดค้านการเวนคืนที่ดินหลายจุด เนื่องจากชุมชนประชาสงเคราะห์ไม่ยินยอมให้เวนคืนเพราะเป็นการทำรถไฟฟ้าใต้ดินที่จะจัดทำถนนขนาด 4 เลนตามแนวรถไฟฟ้าทำให้มีผู้เดือดร้อนจำนวนมาก ทำให้มีการเปลี่ยนแนวเส้นทางเป็นครั้งที่ 4 จากเดิมช่วงดินแดง - ศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็น ดินแดง - พระราม 9 แทน ทำให้เส้นทางสายสีส้มตะวันตกกลายเป็น บางขุนนนท์ - พระราม 9 แต่หลังจากการประชุมของคณะรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตามแนวเส้นทางเดิมตามแผนแม่บท พ.ศ. 2554 เนื่องจากเส้นทางเดิมส่วนใหญ่ผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และประชาชนรับทราบกันมาตั้งแต่ออกแผนแม่บทนี้เรียบร้อยแล้ว

แนวเส้นทางในส่วนตะวันตกเป็นเส้นทางใต้ดินทั้งหมด เริ่มต้นจากบริเวณด้านใต้สถานีบางขุนนนท์ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ในแนวตัดขวางกับถนนจรัญสนิทวงศ์ จากนั้นวิ่งเข้าอาคารรักษาพยาบาล และสถานีรถไฟร่วมศิริราช โรงพยาบาลศิริราช จากนั้นลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่เขตพื้นที่อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์ และลอดใต้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครเข้าสู่แนวถนนราชดำเนินกลาง ผ่านสนามหลวง และอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ที่สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ผ่านสะพานผ่านฟ้าลีลาศเข้าสู่แนวถนนหลานหลวง ผ่านตลาดมหานาค เข้าสู่แนวถนนเพชรบุรีที่แยกยมราช ผ่านแยกอุรุพงษ์ แยกเพชรพระราม มาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีราชเทวี เลี้ยวซ้ายที่แยกประตูน้ำมุ่งหน้าไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่สถานีราชปรารภ เบี่ยงขวาที่แยกสามเหลี่ยมดินแดงเข้าสู่ถนนดินแดง เลี้ยวซ้ายเข้าถนนวิภาวดีรังสิต และเลี้ยวขวาลอดใต้โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เข้าสู่ชุมชนประชาสงเคราะห์ ทะลุออกสู่ถนนรัชดาภิเษก ด้วยการลอดใต้ศูนย์การค้าเอสพลานาด รัชดาภิเษก และมาเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลอีกครั้งที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

สัญญาการก่อสร้าง

สัญญาการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้มช่วงตะวันตกจะเป็นการมอบสัมปทานทั้งโครงการใหักับเอกชนผู้ประมูลงานทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว โดยรวมงานเดินรถทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันภายใต้สัญญาฉบับเดียวด้วย โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 6 เดือน แบ่งเนื้องานเป็นสองระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การจัดหาระบบรถไฟฟ้า และระบบที่เกี่ยวข้อง 42 เดือน (3 ปี 6 เดือน) และการออกแบบควบคู่การก่อสร้าง 6 ปี อันเป็นการดำเนินการแบบควบคู่กัน และระยะที่ 2 ดำเนินงานรถไฟฟ้า ซ่อมบำรุง และบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ 30 ปี โดยมีรายละเอียดสัญญาดังนี้

ลำดับที่ เนื้องาน
ระยะที่ 1 - ออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมถึงจัดหาระบบรถไฟฟ้า
ก. งานออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และทดลองการเดินรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก
ระยะเวลา 42 เดือน (3 ปี 6 เดือน) นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้เริ่มงาน
ข. งานออกแบบควบคู่การก่อสร้างโครงสร้างใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - บางขุนนนท์ ระยะทาง 13.4 กิโลเมตร
งานวางรางวิ่ง ระบบไฟฟ้า การจัดหา ผลิต ติดตั้ง และทดสอบระบบรถไฟฟ้า ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสาร ระบบประตูกั้นชานชาลา
และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และทดลองการเดินรถไฟฟ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก
ระยะเวลา 6 ปี นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้เริ่มงาน
ระยะที่ 2 - งานเดินรถไฟฟ้า และการซ่อมบำรุง
2.1 งานเดินรถไฟฟ้ารวมการซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ รฟม. กำหนดให้มีการเดินรถของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกอย่างเป็นทางการ จนสิ้นสุดสัญญาการร่วมลงทุน

ผู้เข้าร่วมยื่นข้อเสนอการลงทุน

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เปิดให้เอกชนที่สนใจเข้าซื้อเอกสารประกวดราคาสำหรับเข้าร่วมประมูลโครงการตั้งแต่วันที่ 10 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ก่อนเปิดรับข้อเสนอในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยมีเอกชนที่สนใจเข้าร่วมประมูล 10 ราย จาก 2 ประเทศ และมีเอกชนยื่นซองเข้าร่วมประมูลโครงการ 2 ราย ดังต่อไปนี้

ชื่อบริษัทฯ ผลการยื่นข้อเสนอ
คุณสมบัติทั่วไป ข้อเสนอทางเทคนิค ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน
(เงินที่รัฐฯ ร่วมลงทุนในโครงการ)
(ล้านบาท)
ข้อเสนอพิเศษเพิ่มเติม
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ประกอบด้วย
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

งบประมาณ

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม มีมูลค่ารวม 143,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรัฐฯ ลงทุนเฉพาะค่าจัดสรรกรรมสิทธิ์ที่ดิน 15,000 ล้านบาท เอกชนลงทุนในส่วนของงานโยธาทั้งระบบ 96,000 ล้านบาท และค่างานระบบรถไฟฟ้า 32,000 ล้านบาท โดยรัฐฯ จะชำระค่างานโยธาทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยคืนให้ในระยะเวลา 10 ปีหลังเปิดดำเนินการ

รายชื่อสถานี

ตัวเอียง คือโครงการในอนาคต

รหัส ชื่อสถานี กม.ที่ โครงสร้าง เชื่อมต่อกับ ที่ตั้ง
ไทย อังกฤษ แขวง เขต จังหวัด
OR01 บางขุนนนท์ Bang Khun Non 0+000 ใต้ดิน แม่แบบ:BTS Lines สถานีบางขุนนนท์
แม่แบบ:BTS Lines สถานีบางขุนนนท์
บางขุนศรี บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
OR02 ศิริราช Siriraj 1+160 แม่แบบ:BTS Lines สถานีศิริราช
แม่แบบ:BTS Lines ท่าวังหลัง (พรานนก)
ศิริราช
อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา
OR03 สนามหลวง Sanam Luang 2+370 ใต้ดิน พระบรมมหาราชวัง พระนคร กรุงเทพมหานคร
OR04 ผ่านฟ้า Phan Fa 3+590 แม่แบบ:BTS Lines (สถานีร่วม)
แม่แบบ:BTS Lines ท่าผ่านฟ้าลีลาศ
วัดบวรนิเวศ
OR05 หลานหลวง Lan Luang 4+420 วัดโสมนัส ป้อมปราบศัตรูพ่าย
OR06 ยมราช Yommarat 05.25 แม่แบบ:BTS Lines สถานียมราช สี่แยกมหานาค ดุสิต
OR07 ราชเทวี Ratchathewi 6+530 แม่แบบ:BTS Lines สถานีราชเทวี
แม่แบบ:BTS Lines ท่าสะพานหัวช้าง
ถนนเพชรบุรี ราชเทวี
OR08 ประตูน้ำ Pratu Nam 7+350 แม่แบบ:BTS Lines สถานีชิดลม
แม่แบบ:BTS Lines แม่แบบ:BTS Lines สถานีสยาม
แม่แบบ:BTS Lines ท่าประตูน้ำ
ถนนพญาไท
OR09 ราชปรารภ Ratchaprarop 8+090 แม่แบบ:BTS Lines สถานีราชปรารภ มักกะสัน
OR10 รางน้ำ Rang Nam 8+800 ถนนพญาไท
OR11 ดินแดง Din Daeng 10+630 ดินแดง ดินแดง
0R12 ประชาสงเคราะห์ Pracha Songkhro 11+840 แม่แบบ:BTS Lines สถานีประชาสงเคราะห์
OR13 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย Thailand Cultural Center 13.09 แม่แบบ:BTS Lines (สถานีร่วม)
อาคารจอดแล้วจร
ห้วยขวาง ห้วยขวาง
OR14 รฟม. MRTA 14+600 ศูนย์ซ่อมบำรุง
OR15 วัดพระราม 9 Wat Phra Ram 9 16+170 แม่แบบ:BTS Lines สถานีพระราม 9 บางกะปิ
OR16 รามคำแหง 12 Ramkhamhaeng 12 18+320 แม่แบบ:BTS Lines ท่าเดอะมอลล์ 3 หัวหมาก บางกะปิ
OR17 มหาวิทยาลัยรามคำแหง Ramkhamhaeng University 19+530 แม่แบบ:BTS Lines ท่า ม.รามคำแหง
OR18 ราชมังคลา Rajamangala 20+480 แม่แบบ:BTS Lines ท่าสะพานมหาดไทย
OR19 รามคำแหง 34 Ramkhamhaeng 34 21+750
OR20 แยกลำสาลี Yaek Lam Sali 22+750 แม่แบบ:BTS Lines สถานีแยกลำสาลี
แม่แบบ:BTS Lines สถานีแยกลำสาลี

แม่แบบ:BTS Lines ท่าเดอะมอลล์บางกะปิ
OR21 ศรีบูรพา Si Burapha 24+110
OR22 คลองบ้านม้า Khlong Ban Ma 25.30 อาคารจอดแล้วจร สะพานสูง สะพานสูง
OR23 สัมมากร Sammakorn 26+280 ยกระดับ
OR24 น้อมเกล้า Nom Klao 28.21 ราษฎร์พัฒนา
OR25 ราษฎร์พัฒนา Rat Phatthana 29+500
OR26 มีนพัฒนา Min Phatthana 30+640 มีนบุรี มีนบุรี
OR27 เคหะรามคำแหง Kheha Ramkhamhaeng 32+140
OR28 มีนบุรี Min Buri 33+400 แม่แบบ:BTS Lines สถานีมีนบุรี
อาคารจอดแล้วจร
OR29 แยกร่มเกล้า Yaek Rom Klao 34+180 แสนแสบ

การปรับเปลี่ยนเส้นทาง

  • ตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางเดิมเมื่อปี พ.ศ. 2538 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสายบางกะปิ - สามเสน -ราษฎร์บูรณะ แต่ในภายหลังได้มีการปรับแผนแม่บทฯ เมื่อปี พ.ศ. 2547 ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำให้เส้นทางช่วงสามเสน - ราษฎร์บูรณะกลายเป็นเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (บางใหญ่ - บางซื่อ - สามเสน - ราษฎร์บูรณะ) ซึ่งเป็นเส้นทางใหม่ที่ปรับปรุงมาจากเส้นทางสายสีส้มเดิมและสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเดิม (บางใหญ่ - บางซื่อ) จากนั้นได้ต่อขยายเส้นทางสายสีส้มจากสามเสนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตก กลายเป็นเส้นทางบางกะปิ - สามเสน - บางบำหรุ ต่อมาเส้นทางส่วนต่อขยายที่ต่อเนื่องมาจากสายสีส้มตามแนวถนนรามคำแหงช่วงบางกะปิ - มีนบุรีได้ถูกแยกออกไปเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล เมื่อปี พ.ศ. 2548
  • ปี พ.ศ. 2548 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความพยายามปรับแผนแม่บทโดยเสนอแนวทางเลือกโครงการทดแทนรถไฟฟ้าสายสีส้มด้วยระบบบีอาร์ที ในเส้นทางบางกะปิ-รามคำแหง-คลองตัน เพื่อเชื่อมต่อกับสถานีรามคำแหงของเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนแทนการเชื่อมต่อกับสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นอกจากบีอาร์ทีแล้ว ยังมีข้อเสนอแนะให้ใช้รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (monorail) แทนในเส้นทางช่วงนี้เพื่อให้สามารถก่อสร้างเส้นทางในเขตทางของถนนรามคำแหงที่แคบได้ ขณะที่เส้นทางเข้าสู่ใจกลางเมืองมุ่งหน้าบางบำหรุได้มีข้อเสนอแนะให้ทดแทนด้วยเส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงสถานีรถไฟมักกะสัน-ยมราช ต่อเนื่องไปยังระบบรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีแดงที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ช่วงยมราช - ถนนพิษณุโลก - สามเสน - ราชวิถี - ซังฮี้ - บางบำหรุ เนื่องจากเส้นทางสายสีส้มมีแนวเส้นทางคู่ขนานกับสายสีแดงอ่อนอยู่แล้ว[6] แต่แนวคิดที่จะยกเลิกโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มพร้อมกับสายสีม่วงในครั้งนั้นมีประชนส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย ต่อมาก็ไม่ปรากฏเส้นทางทดแทนสายสีส้มนี้ในแผนงานอื่นใดอีก
  • ปี พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช พยายามปรับแผนแม่บท โดยต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มจากบางกะปิไปถึงมีนบุรี และจากบางบำหรุผ่านสถานีตลิ่งชัน ไปสิ้นสุดที่สถานีศาลายา ซึ่งเส้นทางช่วงบางกะปิ-มีนบุรีทับซ้อนกับเส้นทางสายสีน้ำตาล และช่วงบางบำหรุ - ศาลายาทับซ้อนกับโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน และส่วนต่อขยายที่มีอยู่ในแผนแม่บทก่อนหน้านั้น แต่ในเวลาต่อมาทาง สนข. ไม่ได้นำเอาเส้นทางดังกล่าวไปบรรจุในแผนแม่บท เนื่องจากไม่เคยมีการศึกษาความเหมาะสมมาก่อน[7]
  • ปี พ.ศ. 2552 การปรับแผนแม่บทฯ ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำให้เส้นทางสายสีน้ำตาลกลับมารวมกันกับเส้นทางสายสีส้มอีกครั้งหนึ่ง และต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางสายสีส้มช่วงบางบำหรุ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ มาเป็นตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม โดยสลับกับเส้นทางสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง จากช่วงตลิ่งชัน - มักกะสัน มาเป็นบางบำหรุ - มักกะสัน ส่งผลให้ต้องมีการเสนอการเปลี่ยนแปลงการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่ การปรับปรุงโครงข่ายเส้นทางครั้งมีส่งผลดี คือเพิ่มความสามารถในการให้บริการประชาชน เนื่องจากสายสีส้มมีลักษณะเป็นระบบขนส่งมวลชนขนาดหนัก มีความถี่ของการเดินรถและสถานีมากกว่ารูปแบบรถไฟชานเมืองของสายสีแดงอ่อน จึงสอดคล้องกับลักษณะพื้นที่ดังกล่าวที่มีการเดินทางสูง (ต่างจากลักษณะการเดินทางตามแนวถนนราชวิถี-สิรินธรที่ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นรถไฟชานเมือง) สายสีส้มจะมีแนวเส้นทางที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายอื่นได้มากขึ้น ทำให้เดินทางสะดวก มีการเปลี่ยนต่อรถไฟฟ้าน้อยลง และเพิ่มพื้นที่การให้บริการตามแนวถนนเพชรบุรีและราชปรารภ ทั้งยังเป็นการทดแทนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียวอ่อน ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-พรานนกในอดีตที่มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ก่อสร้าง
  • ปี พ.ศ. 2554 สนข. มีการลดระยะทางเปลี่ยนสถานีปลายทางจากสถานีตลิ่งชัน เป็นสถานีบางขุนนนท์ เนื่องจากทับซ้อนกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน - ศาลายา
  • ปี พ.ศ. 2555 มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางในช่วง ศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ จากเดิมที่เมื่อออกจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยแล้ว จะเข้าสู่ถนนเทียมร่วมมิตร แล้วตัดข้ามถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่ซอยนวศรี (รามคำแหง 21) เป็นเมื่อออกจากศูนย์ซ่อมบำรุง รฟม. แล้ว จะเข้าสู่ถนนพระราม 9 บริเวณหน้าที่ทำการ รฟม. มุ่งหน้าแยกพระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม แทน เนื่องจากถนนเทียมร่วมมิตร มีพื้นที่จำกัด อาจเกิดปัญหาตามมาในอนาคต อีกทั้งถนนพระราม 9 ยังสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น [8]
  • ปี พ.ศ. 2557 มีการต่อต้านการก่อสร้างโครงการภายในพื้นที่ชุมชนประชาสงเคราะห์อันเป็นที่ตั้งของ สถานีประชาสงเคราะห์ โดยแกนนำให้เหตุผลว่าเป็นการดำเนินการเพื่อเอื้อผลประโยชน์แก่เอกชน และไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการถูกเวนคืนที่ดินไปเพราะเป็นการทำรถไฟฟ้าใต้ดินที่ทำโดยผ่านชุมชน และตัดถนน เพิ่มขนาด 4 เลนตามแนวรถไฟฟ้าทำให้มีประชาชนเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ภายหลัง รฟม. ได้จัดประชุมเพื่อสอบถามความเห็นในการก่อสร้างโครงการ ซึ่งชุมชนยังคงให้เสียงเดียวกันว่า ต้องการให้รถไฟฟ้าไปผ่านถนนหลัก และเอื้อประโยชน์แก่ประชาชนตรงนั้นแทน หลังจากนั้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 รฟม. ได้มีการจัดประชุมเพื่อสอบถามความเห็นอีกครั้ง เพื่อสอบถามว่าต้องการให้รถไฟฟ้าผ่านทางเส้นทางไหน ซึ่งได้แก่ เส้นทางเดิม รางน้ำ - ดินแดง - ประชาสงเคราะห์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ โดยเส้นทางเดิมจะมีการปรับพื้นที่ของสถานีประชาสงเคราะห์ ไปใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาดรุณพิทยา ที่เลิกกิจการไปแล้ว กับเส้นทางใหม่ซึ่งก็คือ รางน้ำ - เคหะดินแดง - พระราม 9 โดยเอาสถานีประชาสงเคราะห์ออก ย้ายสถานีดินแดงมาตั้งอยู่ด้านหน้าโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง และสถาบันราชานุกูล (ใช้ชื่อว่า สถานีเคหะดินแดง) และย้ายสถานีเชื่อมต่อสายสีน้ำเงินจากเดิมสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ เป็นสถานีพระราม 9 แต่จะไม่เชื่อมกับสถานีเดิมโดยตรง เนื่องจากสถานีพระราม 9 ใหม่จะตั้งอยู่ด้านหน้าซอยพระราม 9 ซอย 3 (ด้านหน้าโครงการ แกรนด์ พระราม 9) บริเวณถนนพระราม 9 แต่การก่อสร้างเส้นทางนี้ จะต้องมีการปิดถนนพระราม 9 เพื่อเปิดหน้าดิน ซึ่งกลุ่มชุมชนก็ให้ความเห็นว่าย้ายไปถนนพระราม 9 ที่มีความต้องการในการใช้ระบบขนส่งมวลชนมากกว่า จะเป็นการให้ผลประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด หลังจากนั้นจึงมีการพิจารณาปรับเส้นทางให้กลายเป็น รางน้ำ - เคหะดินแดง - พระราม 9 ในเวลาต่อมา และมีผลทำให้เส้นทาง มีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ที่กำลังจะประมูลงานก่อสร้าง ต้องมีการพิจารณาเส้นทางเพื่อปรับไปใช้ถนนพระราม 9 จนกลายเป็น มีนบุรี - พระราม 9 ตะวันออก อีกครั้ง
  • พ.ศ. 2558 คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร มีมติติให้ยึดการก่อสร้างเส้นทางช่วง รางน้ำ - ดินแดง - ประชาสงเคราะห์ - ศูนย์วัฒนธรรมฯ ตามเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนเส้นทางใดๆ ตามที่ รฟม. เคยประกาศทั้งสิ้น เนื่องจากเป็นแนวเส้นทางที่มีการสำรวจเส้นทาง ศึกษาแผนงาน และประกาศเส้นทางให้รับทราบมานาน มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับโครงการที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นเส้นทางที่ได้รับความเห็นชอบด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และเป็นเส้นทางที่จะก่อให้เกิดผลประโยชน์กับโครงการและประชาชนมากที่สุด เนื่องจากผ่านย่านชุมชนที่สำคัญ อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ และอยู่ใกล้กับอาคารธานีนพรัตน์ หรือศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางทางราชการของกรุงเทพมหานครในอนาคต[9]

ความคืบหน้า

  • พ.ศ. 2547 รถไฟฟ้าสายสีส้ม บางกะปิ - บางบำหรุ ปรากฏในแผนแม่บทพัฒนารถไฟฟ้า 7 สาย สมัยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  • พ.ศ. 2548 สมัยนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มีการเพิ่มเติมเส้นทางรถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทางในแผนแม่บทฯ รวมเป็น 10 เส้นทาง รวมถึงสายสีน้ำตาล ช่วงบางกะปิ - มีนบุรี ที่เคยเป็นส่วนต่อขยายของสายสีส้ม
  • วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ที่ประชุมคณะกรรมการ รฟม. ได้พิจารณาวงเงินจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อออกแบบโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ[10]
  • แผนแม่บทโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี พ.ศ. 2549-2555 ตามมติ ครม. วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ในรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย แต่ไม่ปรากฏเส้นทางสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ
  • ช่วงปี พ.ศ. 2551 ในรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช รฟม. ได้เสนอเส้นทางช่วงบางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรมฯ ระยะทาง 12 กิโลเมตร ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อสร้างเป็นช่วงแรก เพื่อขยายโครงข่ายรถไฟฟ้ามหานครที่เปิดให้บริการแล้วออกสู่ย่านบางกะปิ[11] โดยชั้นชานชาลาของสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ได้ออกแบบให้มีพื้นที่เตรียมไว้สำหรับการก่อสร้างอุโมงค์เพิ่มเติมแล้ว คาดว่าจะช่วยรองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นได้ถึง 5 แสนเที่ยวคนต่อวัน จากที่ปัจจุบันมีผู้โดยสารมาใช้บริการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลเฉลี่ย 2 แสนเที่ยวคนต่อวัน[7]
  • การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางและขนส่งมวลชน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551 ที่มีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีการจัดทำแผนแม่บทโครงการรถไฟฟ้า 9 สายขึ้น โดยกำหนดให้เส้นทางรถไฟฟ้าศาลายา - มีนบุรี ระยะทาง 51 กิโลเมตร ที่เกิดจากการรวมเส้นทางสายสีน้ำตาลช่วงบางกะปิ-มีนบุรี, สายสีส้มช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ และสายสีแดงอ่อนช่วงบางบำหรุ-ศาลายาเข้าด้วยกัน เป็นเส้นทางหนึ่งในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ที่จะเริ่มประกวดราคาในปี พ.ศ. 2552[12] แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ เกิดขึ้นในเวลาดังกล่าว ขณะที่เส้นทางรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ ของ รฟท. ที่ทับซ้อนกับเส้นทางช่วงบางบำหรุ-ศาลายาได้เริ่มการประกวดราคาไปก่อนหน้านั้นแล้ว
  • วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2553 ได้เห็นชอบแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามที่ สนข. เสนอ โดยให้เส้นทางสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี อยู่ในแผนโครงข่ายเพิ่มเติมระยะ 10 ปี (เปิดให้บริการภายในปี พ.ศ. 2562)
  • วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า ถึงการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงมีนบุรี - บางกะปิ - ศูนย์วัฒนธรรม - ตลิ่งชัน อาจจะแบ่งดำเนินการเป็น 2 ช่วง เนื่องจากช่วงมีนบุรี-บางกะปิ-ศูนย์วัฒนธรรม ออกแบบเบื้องต้นไว้แล้ว แต่ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน มีการปรับแนวเส้นทางใหม่จึงต้องใช้เวลาออกแบบรายละเอียด และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกประมาณ 1-2 ปี
  • วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553 นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้ใช้บริการ นักลงทน และนักวิชาการ ที่มีต่อโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีชมพู และ สายสีส้ม วงบางกะปิ - บางบำหรุ ว่าทั้ง 2 เส้นทางมีปริมาณการใช้ของประชาชนอย่างไร และมีความจำเป็นเร่งด่วนแค่ไหน เพื่อนำมาประกอบการการพิจารณาและเร่งรัดโครงการ
  • วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ในเส้นทางตลิ่งชัน - ศูนย์วัฒนธรรม - บางกะปิ - มีนบุรี ให้สามารถดำเนินการได้ในปีพ.ศ. 2555 เนื่องจากมีความพร้อมในการดำเนินการ และได้ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว[13]
  • วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลชุดนี้จะสร้างรถไฟฟ้า 10 สายให้เสร็จภายใน 7-8 ปี ทุกสายทางจะเริ่มต้นก่อสร้างและประมูลภายใน 4 ปีนี้ โดยสำหรับสายสีส้มจะสร้างช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ - บางกะปิ - มีนบุรี ก่อนเพราะเนื่องจากส่วนที่เหลือเป็นโครงการใต้ดิน ซึ่งจะใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้นจึงน่าจะเริ่มต้นดำเนินการไปได้หลังจากปีพ.ศ. 2558 ไปแล้ว[14]
  • วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555 ได้มีการลงนามสัญญาจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา และดำเนินงานตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ พ.ศ. 2535[15]
  • เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 โครงการนี้เป็น1ในโครงการที่ทางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เตรียมจะเสนอโครงการนี้ให้ทางคณะรัฐมนตรีพิจจารณาภายในสิ้นปีพ.ศ. 2557และเปิดประมูลช่วงต้นปีพ.ศ. 2558
  • วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี ให้เตรียมกระบวนการประกวดราคาภายใน 6 เดือน และคาดว่าจะสามารถทำการเปิดประมูลได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559 โดยมีประมาณการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2565[16][17] พร้อมทั้งได้ให้แนวทางเพิ่มเติมให้ออกแบบงานก่อสร้างแบบประหยัด และเน้นการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในส่วนที่สามารถผลิตภายในประเทศได้ เพื่อส่งเสริมการสร้างธุรกิจในประเทศรองรับการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบรางในอนาคต[18]
  • วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้จัดพิธีลงนามในสัญญาว่าจ้างการก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม จำนวน 6 สัญญา โดยจะเริ่มงานก่อสร้างในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ใน พ.ศ. 2566
  • วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ทำการศึกษาและปรับรูปแบบโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก จากเดิมที่รัฐเป็นผู้ลงทุนงานโยธา และเอกชนลงทุนในส่วนระบบงานรถไฟฟ้า ให้เปลี่ยนเป็น เอกชนลงทุนเอง 100% ทั้งงานโยธาและงานเดินรถในรูปแบบ PPP-Net Cost เช่นเดียวกับสายสีชมพูและสายสีเหลือง คาดว่าใช้เวลา 1-2 เดือนถึงจะได้ข้อสรุปเรื่องการลงทุนในส่วนนี้ โดยสาเหตุของมติดังกล่าวคือคณะรัฐมนตรีเล็งเห็นว่าส่วนตะวันตกเป็นโครงการใต้ดินทั้งโครงการ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูง การให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนเอง 100% จะช่วยเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของรัฐได้
  • เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ผู้ชนะการประมูลงานก่อสร้างเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างโครงการตามแนวถนนรามคำแหง และถนนพระราม 9 โดยยกเว้นพื้นที่บริเวณสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีรฟม. และศูนย์ซ่อมบำรุง เนื่องมาจากทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือขสมก. ได้ขอใช้พื้นที่ในการจอดรถโดยสารประจำทางแบบใช้ก๊าซเอ็นจีวีที่ได้มาจากความร่วมมือกับ บริษัท เบสท์ริน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งต่อมากรมสรรพากรได้ยื่นฟ้องร้องต่อศาลให้ เบสท์ริน กรุ๊ป ดำเนินการจ่ายภาษีนำเข้ารถย้อนหลัง แต่ทางเบสท์ริน กรุ๊ป กลับอ้างว่ารถดังกล่าวได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของ ขสมก. แล้ว ทำให้รถถูกทิ้งเอาไว้ที่พื้นที่ รฟม. พระราม 9 โดยไม่มีการนำออกมาใช้งาน ซึ่งต่อมา รฟม. ได้ฟ้องร้องให้ ขสมก. และ เบสท์ริน กรุ๊ป ดำเนินการย้ายรถออกจากพื้นที่ แต่ทั้งคู่ขอยื่นอุทธรณ์เนื่องจากกลัวเสียรูปคดี ซึ่งปัจจุบัน รฟม. ยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ด้วยสาเหตุนี้
  • 7 กันยายน พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ รฟม. ได้มีการจัดการประชุมนัดพิเศษ และมีมติเห็นชอบในรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก (บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) และการให้ผู้ให้บริการรายเดียวเดินรถครบทั้งสายมูลค่าการลงทุนรวม 143,000 ล้านบาท ภายใต้รูปแบบสัญญาการร่วมลงทุน PPP-Net Cost โดยจะเสนอให้กระทรวงคมนาคมเห็นชอบภายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 เสนอให้คณะรัฐมนตรีรวมถึงคณะกรรมการพีพีพีเห็นชอบภายในปีนี้ และเปิดประมูลโครงการอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2562 เพื่อให้การดำเนินการเชิงพาณิชย์ของรถไฟฟ้าสีส้มส่วนตะวันออกสามารถเปิดดำเนินการได้ใน พ.ศ. 2566 โดยในร่างสัญญาเอกชนผู้ประมูลงานจะต้องเสนอราคาค่าก่อสร้างงานโยธาโดยรวมทั้งระบบภายใต้งบประมาณไม่เกิน 96,000 ล้านบาท และเสนอความคุ้มค่าและความเสี่ยงในการรับภาระส่วนแบ่งค่าโดยสาร[19]
  • 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ คณะกรรมการพีพีพี มีมติไม่อนุมัติการดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตกภายใต้กรอบวงเงิน 128,000 ล้านบาท หลังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ มีข้อกังขาในเรื่องการเปิดประมูลโครงการด้วยการรวมงานก่อสร้างและงานเดินรถเป็นสัญญาเดียว จากเดิมที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ดำเนินการโครงสร้างส่วนตะวันออกโดยการเปิดประมูลแยกเป็นรายสัญญาไป ว่าการประมูลจะเป็นการเอื้อผลประโยชน์แก่เอกชน หรืออาจเป็นการสมยอมราคากันหรือไม่ จึงขอให้ รฟม. ทบทวนรูปแบบการลงทุนใหม่เพื่อหาความเหมาะสมร่วมกัน[20]
  • 9 มกราคม พ.ศ. 2562 นายประคิน อรุโณทอง Senior Vice President สายงานการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม สัญญาที่ 3 (โครงสร้างใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า) ได้จัดพิธีเริ่มดำเนินงานขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ โดยมีนายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เป็นประธานในพิธี การก่อสร้างตามสัญญาดังกล่าวมีจุดเริ่มต้นที่สถานีคลองบ้านม้า ถนนรามคำแหง มุ่งหน้าไปถนนพระราม 9 และสิ้นสุดการก่อสร้างตามสัญญาที่ 3 ที่สถานีหัวหมาก ทั้งนี้อิตาเลียนไทยคาดว่ากระบวนการก่อสร้างอุโมงค์แรกจะใช้เวลาทั้งหมด 12 เดือน หลังจากนั้นจะดำเนินการรื้อถอนอุปกรณ์ทั้งหมดกลับมาติดตั้งที่สถานีคลองบ้านม้า แล้วดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ที่สองต่อทันที คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งโครงการภายในช่วงไตรมาสที่ 2-3 ของปี พ.ศ. 2564[21]
  • 9 มกราคม พ.ศ. 2562 นายภคพงษ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เปิดเผยว่า รฟม. ยืนยันที่จะเปิดประมูลโครงการส่วนตะวันตกทั้งหมดภายใต้สัญญาเดียว มูลค่าการลงทุนรวม 235,320 ล้านบาท หลังจากที่เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการพีพีพีมีมติไม่อนุมัติโครงการเนื่องจากสภาพัฒน์มีข้อกังขาเรื่องการรวมงานก่อสร้างและงานเดินรถเป็นสัญญาเดียว โดยทางสภาพัฒน์เกรงว่าหากรวมเป็นสัญญาเดียวจะทำให้มีเอกชนเข้าร่วมประมูลน้อยราย ดังเช่นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่มีเอกชนเข้ามาซื้อซองกว่า 31 ราย แต่มีผู้เข้าประมูลจริงเพียง 2 กลุ่มกิจการร่วมค้า ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของเอกชนเพียง 8 รายเท่านั้น ทั้งนี้ รฟม. ได้อธิบายให้สภาพัฒน์เข้าใจและเห็นชอบในรายละเอียดโครงการแล้ว โดยระบุว่าด้วยตัวเลขของวงเงินลงทุนที่เอกชนต้องลงทุน จะทำให้รัฐฯ ได้เอกชนที่มีศักยภาพในการลงทุนและดำเนินงานเข้ามาบริหารจัดการโครงการอย่างเป็นระบบ[22]
  • 21 มกราคม พ.ศ. 2562 นางปานทิพย์ ศรีพิมล ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ เปิดเผยถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการพีพีพีครั้งที่ 1/2561 ว่า ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตกช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี ภายใต้กรอบวงเงินการลงทุนรวม 235,320 ล้านบาท โดยที่ประชุมมีมติให้ดำเนินโครงการภายใต้รูปแบบ PPP Net Cost โดยรัฐฯ เป็นผู้ลงทุนกรรมสิทธิ์และการจัดสรรที่ดินสำหรับโครงการ เอกชนเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาเฉพาะส่วนตะวันตก จัดหาระบบรถไฟฟ้า บริหารการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการทั้งส่วนตะวันออกและตะวันตก บริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ภายในสถานี และจัดเก็บค่าโดยสารภายใต้กรอบระยะเวลา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มเดินรถในส่วนตะวันออก[23]
  • 28 มกราคม พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร รวมทั้งงานระบบรถไฟฟ้า ซ่อมบำรุง และเดินรถไฟฟ้าตลอดสายรวม 35.9 กิโลเมตร ภายใต้กรอบวงเงินลงทุนรวม 122,067 ล้านบาท ภายใต้สัญญาร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost สัญญาเดียว เป็นระยะเวลา 30 ปี โดยรัฐบาลจะอุดหนุนเอกชนภายใต้วงเงินไม่เกิน 96,012 ล้านบาท และจะผ่อนผันคืนเอกชนเป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากวันที่เริ่มเดินรถในส่วนตะวันออก คาดว่าจะเปิดคัดเลือกเอกชนอย่างเป็นทางการภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 และจะลงนามในสัญญาร่วมลงทุนโครงการภายในต้นปี พ.ศ. 2564[24]
  • 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 บอร์ด รฟม. มีมติอนุมัติการแต่งตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 35 ของ พรบ.ร่วมทุน และมีมติเร่งรัดการดำเนินการเรื่องเอกสารประกวดราคา คาดว่าจะสามารถเผยแพร่เอกสารประกวดราคาได้ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ให้เวลาเอกชนทำข้อเสนอ 60 วัน และยื่นข้อเสนอทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 และนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติพร้อมลงนามสัญญาสัมปทานได้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เพื่อที่จะได้สามารถก่อสร้างได้ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2564 การประมูลจะเป็นรูปแบบ International Bidding เช่นเดียวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดย รฟม. คาดว่าหลังเซ็นสัญญา จะสามารถเปิดให้บริการสายสีส้มส่วนตะวันออกได้ก่อน ใน พ.ศ. 2567 และจะเปิดให้บริการครบทั้งระบบได้ใน พ.ศ. 2570 โดยเบื้องต้นจะจัดซื้อรถไฟฟ้าสำหรับให้บริการ 40 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้[25]
  • 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติไม่เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อใช้ดำเนินกิจการก่อสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันตก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้เหตุผลว่าการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ยังไม่เรียบร้อย และมีข้อร้องเรียนจากประชาชน โดยเฉพาะประชาชนย่านชุมชนประชาสงเคราะห์ที่ยื่นขอให้ทบทวนโครงการ จึงขอให้ รฟม. นำรายละเอียดทั้งหมดกลับเข้ากระบวนการพิจารณาให้เรียบร้อยเสียก่อน และขอให้ระงับการดำเนินงานทั้งหมดโดยเฉพาะการหาผู้รับจ้าง เพราะหากลงนามสัญญาไป จะเกิดปัญหาผู้รับจ้างไม่สามารถเริ่มงานได้ เนื่องจากยังไม่ได้พื้นที่ก่อสร้าง ทำให้เกิดความเสียหาย และจะมีค่าโง่ตามมา[26]
  • 26 มิถุนายน พ.ศ. 2563 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติเห็นชอบเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (Request for Proposal: RFP) และรายละเอียดการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการฯ โดยมีกำหนดการประกาศเชิญชวนฯ ระหว่างวันที่ 3–9 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จำหน่ายเอกสารระหว่างวันที่ 10–24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และมีกำหนดการให้เอกชนยื่นข้อเสนอภายในเดือน กันยายน พ.ศ. 2563 คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาร่วมลงทุนได้ภายในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2563
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - เริ่มเปิดขายซองประมูลโครงการฯ (RFP: Request for Proposal) โดยมีเอกชนแสดงความสนใจเข้าซื้อซองประมูลทั้งหมด 10 ราย
  • 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติเห็นชอบให้เลื่อนกำหนดการยื่นข้อเสนอออกไปอีก 45 วัน เป็นภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เนื่องจาก บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำร้องท้วงติงกติกาผ่านสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) โดยขอให้มีการพิจารณาผู้ชนะการประมูลจากเดิมข้อเสนอทางการเงิน 100% เป็น ผลคะแนนจากข้อเสนอทางเทคนิค 30% และข้อเสนอทางการเงิน 70% เพื่อให้ได้เอกชนที่มีคุณภาพและประสบการณ์งานใต้ดินมากที่สุด พร้อมทั้งปรับการยื่นซองข้อเสนอเป็น 4 ซองเหมือนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีชมพู และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากเดิมที่จะให้ยื่นเพียง 3 ซอง[27]
  • 14 กันยายน พ.ศ. 2563 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีมติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนกติกาการคัดเลือกเอกชน จากเดิมพิจารณาข้อเสนอทางการเงิน เป็น ผลคะแนนจากซองที่ 2 และซองที่ 3 โดยข้อเสนอทางเทคนิค พิจารณาจากรายละเอียดและเทคนิคในการดำเนินการ มีคะแนนเต็ม 30 คะแนน และข้อเสนอทางการเงิน พิจารณาจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV) ซึ่งเกิดขึ้นจาก (1) จำนวนเงินที่ขอรับอุดหนุนจากรัฐบาลไม่เกิน 96,000 ล้านบาท (2) ผลตอบแทนที่รัฐฯ จะได้รับตลอดอายุสัญญา จำนวนเงิน NPV จะเปลี่ยนเป็นคะแนน มีคะแนนเต็ม 70 คะแนน แล้วนำคะแนนทั้งสองส่วนมารวมกัน ผู้ที่มีคะแนนสูงสุด จะเป็นผู้ที่ยื่นข้อเสนอเข้าร่วมลงทุนโครงการดีที่สุด และเพื่อเป็นการปรับปรุง คณะกรรมการฯ มีมติให้ทำหนังสือแจ้งให้เอกชนผู้ซื้อซองประมูลถึงการเปลี่ยนแปลงกติกาการพิจารณาข้อเสนอ และยืดระยะเวลาการจัดทำข้อเสนอใหม่ออกไปอีก 45 วัน เป็นเข้ายื่นซองในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
  • 17 กันยายน พ.ศ. 2563 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) โดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เข้ายื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ต่อศาลปกครองกลางเพื่อให้มีการคุ้มครองการประมูล และปรับไปใช้กติกาการประมูลรูปแบบเดิมก่อนการลงมติเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2563 เนื่องจากเจตนาส่อใช้ดุลพินิจมอบงานให้เอกชนที่มีความใกล้ชิดเกี่ยวข้องมากที่สุด[28]
  • 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โครงการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิมจนกว่าจะมีคำตัดสินจากศาลออกมา[29]
  • 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ยื่นอุทธรณ์ขอเพิกถอนคำสั่งศาลปกครองกลางที่ให้กลับไปใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเดิมต่อศาลปกครองสูงสุด ทั้งนี้หากศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนศาลปกครองกลางเดิม รฟม. อาจประกาศยกเลิกการประมูลในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 เพื่อจัดทำเอกสารสำหรับการคัดเลือกเอกชน (RFP) ใหม่ทั้งหมด คาดว่าจะเปิดขายเอกสารได้ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 ยื่นซองประมูลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้เอกชนร่วมลงทุนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 และลงนามในสัญญาสัมปทานได้ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ซึ่งจะส่งผลให้การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันออกเลื่อนไปอีก 1 ปี เป็น พ.ศ. 2567[30]
  • 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 - เปิดรับซองประมูล โดยมีผู้ยื่นซองประมูลพร้อมข้อเสนอทั้งหมด 2 ราย ได้แก่
    • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    • กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน))

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ-บางบำหรุ โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
  2. ทำรถไฟฟ้าบางขุนนนท์-มีนบุรี เวนคืนอื้องบพุ่ง ถึง1.78แสนล้าน
  3. แผนที่เส้นทาง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ฉบับใหม่)
  4. โครงการระบบขนส่งมวลชนสายสีน้ำตาล โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
  5. https://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/construction_progress_report/
  6. ปรับรายวันรถไฟฟ้าสีม่วง ยึดแนวเดิมเข้าบางซื่อ ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2548
  7. 7.0 7.1 หั่นเส้นทางรถไฟฟ้าใยแมงมุม ที่ปรึกษาชี้ไม่มีข้อมูลรองรับ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
  8. รฟม.ทุ่มเพิ่ม 2 พันล้าน ปรับเส้นทางเดินรถไฟสายสีส้ม
  9. คจร.สรุปก่อสร้างรถไฟฟ้าสีส้มยึดแนวเดิม
  10. รฟม.จ้างเอกชนผุดส่วนต่อ 3 เส้นทาง กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
  11. รฟม. ชงรถไฟฟ้าสีส้ม ช่วงแรก 12 กม.แสน ล. มติชนรายวัน วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551
  12. วันที่รอคอย รถไฟฟ้า "สมัคร 1" เปิดหวูดเฟสแรก 7 เส้นทาง 3 แสนล้าน ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551
  13. คมนาคมพร้อมชงครม.ใหม่ เดินหน้ารถไฟฟ้าสารพัดสี ทั้งสีส้ม ชมพู เหลือง
  14. เพื่อไทยรื้อแผนปชป. ตัดทิ้งรถไฟฟ้า2สาย เส้นวัชรพล-พระราม9 และดินแดง-ยศเส สีส้มตัดระยะทางเหลือ 20 ก.ม.
  15. 'จารุพงศ์'ย้ำสร้างมูลค่าเพิ่มแนวรถไฟฟ้า
  16. http://www.posttoday.com/biz/gov/403973
  17. http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000135400
  18. http://www.thairath.co.th/content/546386
  19. บอร์ดรฟม. ไฟเขียวโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก คาดประมูลได้ปี’62
  20. สภาพัฒน์ขวางแผนลงทุนสายสีส้มค่างาน 1.3 แสนล.
  21. กดปุ่มเจาะอุโมงค์ใต้ดินสายสีส้มช่วง “หัวหมาก-คลองบ้านม้า” ITD ทุ่ม400ล้าน เร่งงานเสร็จ2ปี
  22. รฟม.ยันโมเดล PPP สายสีส้มตะวันตก เอกชนลงทุนทั้งโยธา-ระบบ
  23. “สมคิด” ไฟเขียวเอกชนลงทุนรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก 2.35 แสนล้านบาท แบบ PPP Fast Track
  24. ฉลุย! ครม.อนุมัติรถไฟฟ้าสายสีส้ม 1.22 แสนล้าน ดึงเอกชนลงทุน PPP 30 ปี
  25. รฟม.เร่งรถไฟฟ้าสีส้ม เปิดประมูล เม.ย.นี้-ตอกเข็มกลาง 64
  26. งานเข้า!! รถไฟฟ้าสีส้ม(ตก)”ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์” ครม. ตีกลับร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน มีแววเลื่อนยาว/เปิดประมูลเจอค่าโง่
  27. รฟม.แก้ทีโออาร์”สายสีส้ม” เปลี่ยนใช้รวมคะแนน”เทคนิค-การเงิน”ตัดสิน เพื่อประโยชน์สูงสุด
  28. ‘BTS’ ลุ้น ศาล สั่ง ล้มประมูล รถไฟฟ้า “สายสีส้ม”
  29. ศาลสั่งคุ้มครองบีทีเอส ให้ รฟม.ประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มตามเกณฑ์เดิม
  30. จับตา รฟม.อุทธรณ์ประมูล "รถไฟฟ้าสายสีส้ม"

แหล่งข้อมูลอื่น