คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Faculty of Information and Communication Technology, Silpakorn University
สถาปนาพ.ศ. 2546
คณบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร กาญจนภูมิ
ที่อยู่
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร เลขที่ 1 หมู่ 3 ถนนชะอำ–ปราณบุรี ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
มหาวิทยาลัยศิลปากร เมืองทองธานี เลขที่ 80 ถนนป๊อปปูล่า ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
วารสารวารสารไอซีที ศิลปากร
สี██ สีน้ำตาลซีเปีย[1]
มาสคอต
ปุ่มพาวเวอร์
เว็บไซต์www.ict.su.ac.th

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร (อังกฤษ: Faculty of Information and Communication Technology, Silpakorn University) เป็นคณะวิชาลำดับที่ 13 ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2546

ประวัติ[แก้]

ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ประโยชน์มากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมกับสามารถประยุกต์ศาสตร์แขนงดังกล่าวไปใช้งานให้บังเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นมหาวิทยาลัยที่มีเป้าหมายหลักในการผลิตบัณฑิตทุกระดับให้มีภูมิปัญญาสูง มีความคิดสร้างสรรค์ ยึดมั่นในคุณธรรม เพียบพร้อมด้วยจรรยาบรรณและจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม จึงเล็งเห็นความสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ความรู้และมีทักษะความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน โดยผลิตบัณฑิตจากพื้นฐานของการนำศักยภาพที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยมาประยุกต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศักยภาพด้านศิลปะซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรจัดอยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศไทย

มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้พัฒนาโครงการจัดตั้ง "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร" ซึ่งรับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจจังหวัดหนึ่งในภูมิภาคตะวันตก อันจะทำให้บัณฑิตที่จบการศึกษาจำนวนหนึ่ง สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงาน พัฒนาความเจริญให้กับชุมชน ท้องถิ่น และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนความก้าวหน้าทางธุรกิจได้ โดยในเริ่มดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต้น ในปีการศึกษา 2546 โดยเปิด 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ ต่อมาในปีการศึกษา 2550 ได้เปิดทำการเรียนการสอนสาขานิเทศศาสตร์ 5 วิชาเอก คือ วิชาเอกการโฆษณา วิชาเอกการลูกค้าสัมพันธ์ วิชาเอกภาพยนตร์ วิชาเอกวิทยุและโทรทัศน์ วิชาเอกวารสารและหนังสือพิมพ์

หน่วยงาน[แก้]

  • สำนักงานเลขานุการคณะ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์

หลักสูตร[แก้]

ปริญญาตรี

หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการออกแบบ
    • วิชาเอกการออกแบบแอนิเมชัน
    • วิชาเอกอินเทอแอคทีฟแอปพลิเคชัน
    • วิชาเอกการออกแบบเกม

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)

  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์
    • กลุ่มวิชาการสื่อสารเชิงธุรกิจ
    • กลุ่มวิชาการสื่อสารมวลชน
    • กลุ่มวิชาภาพยนตร์

ทำเนียบคณบดี[แก้]

รายนามคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ลำดับ คณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1
อาจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งคณะฯ 13 มีนาคม พ.ศ. 2546 – 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2546[2]
รักษาราชการแทนคณบดี 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 – 8 กันยายน พ.ศ. 2547[3]
9 กันยายน พ.ศ. 2547 – 8 กันยายน พ.ศ. 2551[4]
9 กันยายน พ.ศ. 2551 – 8 กันยายน พ.ศ. 2555[5]
2
อาจารย์ มานพ เอี่ยมสะอาด 9 กันยายน พ.ศ. 2555 – 8 กันยายน พ.ศ. 2559[6]
3
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมศักดิ์ ชาติน้ำเพ็ชร 9 กันยายน พ.ศ. 2559 – 17 มิถุนายน 2562[7]
4
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร กาญจนภูมิ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน[8]
  • หมายเหตุ ตำแหน่งทางวิชาการในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น

อ้างอิง[แก้]

  1. สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ 12/2562 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562
  2. คำสั่ง มศก.ที่ 306/2546 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2546
  3. คำสั่ง มศก. ที่ 926/2546 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2546
  4. คำสั่ง มศก. ที่ 1225/2547 ลงวันที่ 8 กันยายน 2547
  5. คำสั่ง มศก. ที่ 1423/2551 ลงวันที่ 22 สิงหาคม 2551
  6. คำสั่ง มศก. ที่ 1187/2555 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2555
  7. คำสั่ง มศก.ที่ 1088/2559 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2559
  8. คำสั่ง มศก.ที่ 1402/2562 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2562

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]