ข้ามไปเนื้อหา

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยสยาม
ที่อยู่
เว็บไซต์http://itschool.siam.edu/

ประวัติคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม


        เทคโนโลยีสารสนเทศมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารที่ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนวัฒนธรรมและวิถีการดำเนินชีวิต เทคโนโลยีสารสนเทศจึงนับเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต
       ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยสยาม ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของการผลิตบุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความเชี่ยวชาญทั้งเชิงทฤษฎีและวิธีปฏิบัติ สามารถเป็นผู้นำในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศแบบธรรมาภิบาลในองค์การ ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัยให้ก้าวทันเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม เพื่อออกไปรับใช้สังคมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งหลักสูตร 4 ปี และหลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) โดยเปิดสอนครั้งแรกเมื่อปีการศึกษา 2551 และในปีการศึกษา 2555 มีนักศึกษาจำนวน 1,036 คน
     นอกจากหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ได้เปิดการสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ทั้งหลักสูตร 4 ปี และหลักสูตร 2 ปี (ต่อเนื่อง) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531
     ในการบริหารจัดการเรียนการสอนทั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศมีเป้าหมายที่ร่วมกันคือ การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ เน้นการสร้างนวัตกรรมและการทำงานร่วมกัน ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการมีความเป็นเอกภาพ เกิดความคล่องตัว สะดวก และรวดเร็ว จึงเห็นสมควรจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นเพื่อสามารถดำเนินการให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัยสยาม และสอดคล้องกับความต้องการของสังคมและประเทศต่อไป ดังนั้นสภามหาวิทยาลัยสยาม จึงได้จัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น เมื่อเดือนสิงหาคม 2552

ภาควิชา

[แก้]

​คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ​ มหาวิทยาลัยสยามมี​ 2 ภาควิชา ดังนี้​

  1. ​ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. ​ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
  3. ภาควิชาแอนิเมชั่นและครีเอทีฟมีเดีย

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

[แก้]

ศึกษาถึงทฤษฎีด้านคอมพิวเตอร์และการบริหารธุรกิจ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตในการประกอบธุรกิจ การวิเคราะห์ ออกแบบ และการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูป การจัดการฐานข้อมูล การสื่อสารข้อมูลด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การวิจัยทางธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้จะเน้นการปฏิบัติการและการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ไปสามารถปฏิบัติงานจริงร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ บัณฑิตมีโอกาสก้าวหน้ากับงานทางด้านการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงานภาครัฐและเอกชน เช่น นักวิเคราะห์ระบบ นักเขียนโปรแกรมทางธุรกิจ นักอบรมคอมพิวเตอร์ ผู้บริหารโครงการ และผู้บริหารการตลาดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

[แก้]

ศึกษาถึงทฤษฎีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศคอมพิวเตอร์ในการจัดกระบวนการทำงานและพฤติกรรมองค์การเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการโครงการ การสื่อสารทางวิชาชีพ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การพัฒนาระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีด้านสื่อประสม และเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยสามารถนำศาสตร์เหล่านั้นไปบูรณาการการบริหารงานองค์การได้อย่างเหมาะสม เพื่อเสริมทักษะของตนเองในการประกอบวิชาชีพอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม บัณฑิตมีโอกาสก้าวหน้ากับงานด้านการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ เช่น วิศวกรซอฟต์แวร์ ผู้บริหารระบบฐานข้อมูล เว็บมาสเตอร์ และผู้บริหารระบบความปลอดภัย เป็นต้น

สาขาวิชาแอนิเมชั่นและครีเอทีฟมีเดีย

[แก้]

สาขาวิชาแอนิเมชันและครีเอทีฟมีเดีย มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านการออกแบบและผลิตงานแอนิเมชันและดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งเข้ามามีบทบาทต่อสังคมในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเน้นการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ผสมผสานกับทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบและศิลปะ เพื่อผลิตและสร้างสรรค์ผลงานตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง