เซเรค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เซเรค ในไฮเออโรกลีฟ
S29r
Aa1
O33

(Unicode: 𓊁 )
srḫ/ เซเรค
ด้านหน้า(ของพระราชวัง)
Line drawing of a serekh
เซเรคฮอรัสในรูปแบบที่มีการประดับประดามาก

ในอักษรอียิปต์โบราณ เซเรค มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปิดล้อม ซึ่งเป็นรูปสัญลักษณ์แทนส่วนหน้าของพระราชวังที่มีช่องหรือมีประตูล้อมรอบ ซึ่งปกติจะปรากฏรูปสัญลักษณ์ของเหยี่ยวฮอรัสอยู่ด้านบนโดยปกติ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้ทราบว่าข้อความที่อยู่ภายในสัญลักษณ์นั้นเป็นพระนามราชวงศ์ เซเรคได้ถูกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อในการแยกพระนมออกจากรูปสัญลักษณ์อียิปต์โบราณ ซึ่งปรากฏมาก่อนคาร์ทูชในที่ถูกนำมาใช้แทนและทราบกันดีในช่วงสี่ราชวงศ์และช่วงเวลาห้าร้อยถึงเจ็ดร้อยปีในหลัง

ลักษณะของเซเรค[แก้]

เซเรคเป็นสัญลักษณ์ส่วนกรอบที่มีการประดับประดา ซึ่งจะประกอบไปด้วยทิวทัศน์ด้านหน้าพระราชวังและแผนผัง (มุมมองด้านบน) ของลานพระราชวัง คำว่า เซเรค มาจากภาษาอียิปต์ ซึ่งมีความหายตรงกับคำว่า "ด้านหน้าอาคาร (façade)" เซเรคที่แตกต่างกันบนวัตถุประเภทต่างๆ แสดงให้เห็นถึงรูปแบบต่างๆ มากมายของการตกแต่งส่วนหน้าอาคารทั้งในด้านความซับซ้อนและรายละเอียด ดูเหมือนว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์ทางศิลปะที่เข้มงวดสำหรับการออกแบบเซเรคเอง[1][2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen. Münchner Ägyptologische Studien. Bd. 49. Philipp von Zabern, Mainz 1999, ISBN 3-8053-2591-6, p. 7-9.
  2. Rolf Gundlach: Horus in the Palace: The centre of State and Culture in pharaonic Egypt. In: Rolf Gundlach, John H. Taylor: Egyptian royal Residences: 4. Symposium zur Ägyptischen Königsideologie (4th edition, London 2004). Harrassowitz, Wiesbaden 2009, ISBN 978-3-447-05888-9, p. 45–68.
  3. Toby A. H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt: Strategy, Society and Security. Routledge, London 1999, ISBN 0-415-18633-1, p. 56-57, 201–202.