ข้ามไปเนื้อหา

อุมมุลเกาะอาบ

พิกัด: 26°10.5′N 31°54.5′E / 26.1750°N 31.9083°E / 26.1750; 31.9083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อุมมุลกะอับ)
อุมมุลเกาะอาบ
อาหรับ: أم القعاب
มุมมองกว้างของพื้นที่ซึ่งปรากฏร่องรอยเศษภาชนะเครื่องปั้นดินเผา
อุมมุลเกาะอาบตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
อุมมุลเกาะอาบ
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอียิปต์
ที่ตั้งอียิปต์
ภูมิภาคเขตผู้ว่าการอัลวาดีลญะดีด
พิกัด26°10.5′N 31°54.5′E / 26.1750°N 31.9083°E / 26.1750; 31.9083
pq
r
O49
เพเกอร์
ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์

อุมมุลเกาะอาบ (อาหรับ: أم القعاب) เป็นสุสานหลวงของผู้ปกครองในช่วงสมัยต้นยุคราชวงศ์[1] ที่อไบดอส ประเทศอียิปต์[2] ชื่อในปัจจุบันมีความหมายว่า "มารดาแห่งหม้อ" เนื่องจากพื้นที่ทั้งหมดเกลื่อนไปด้วยเศษหม้อที่แตกจากเครื่องบูชาที่ทำขึ้นในสมัยก่อน ชื่อโบราณทางศาสนาของพื้นที่คือ (w-)pkr หรือ (rꜣ-)pkr "เขตของต้น pkr" (ไม่ปรากฏชื่อชนิด) หรือ "การเปิดของต้น pkr" (คอปติก: upoke) , เป็นของ tꜣ-dsr "ดินแดนสันโดษ/โล่ง" (สุสาน) หรือ crk-hh "ผูกพันชั่วนิรันดร์" (คอปติก: Alkhah)

บริเวณแห่งนี้เคยเป็นสถานที่เคารพบูชาในอียิปต์โบราณ และในสมัยราชอาณาจักรกลาง มีการขุดหลุมฝังศพหลวงของราชวงศ์อย่างน้อยหนึ่งแห่งและบูรณะขึ้นใหม่สำหรับนักบวชแห่งโอซิริส[3]

หลุมฝังศพของบริเวณนี้ถูกขุดขึ้นครั้งแรกโดยเอมีล อาเมลีโน ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1890 และขุดค้นอย่างเป็นระบบโดยฟลินเดอรส์ พีทรี ระหว่างปี ค.ศ. 1899 และ ค.ศ. 1901[3] ตั้งแต่นั้นมาพื้นที่นี้ก็ถูกขุดอีกครั้งโดยสถาบันโบราณคดีแห่งเยอรมันตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1970 ซึ่งอนุญาตให้มีการสร้างเค้าโครงเดิมและรูปลักษณ์ของสุสานเหล่านี้ขึ้นใหม่อย่างละเอียดถี่ถ้วน[3]

สุสานหลวงก่อนหน้าสมัยราชวงศ์

[แก้]
  • สุสาน ยู-เจ: เป็นสุสานของผู้ปกครองที่ไม่ทราบพระนาม แต่อาจจะสุสานหลวงของฟาโรห์สกอร์เปียนที่ 1 ซึ่งค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับพระองค์ในนั้น[4] นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าเป็นของผู้ปกครองยุคก่อนราชวงศ์พระนามว่า บูล ซึ่งได้ปรากฏหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับพระองค์ คือ แผ่นจารึกงาช้าง[5]
  • สุสาน บี1/บี2: อิริ-ฮอร์[6]
  • สุสาน บี7/บี9: คา

สุสานหลวงราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์

[แก้]

รู้จักกันในชื่อ สุสาน บี พื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของสุสานหลวงในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่หนึ่งของอียิปต์และฟาโรห์สองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สอง

เศษเครื่องปั้นดินเผาจากฐานของเหยือกในช่วงราชวงศ์ที่หนึ่ง จากสุสานหลวงแห่งเซเมอร์เคตที่อุมมุลเกาะอาบ อไบดอส ประเทศอียิปต์ จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์พีทรี กรุงลอนดอน

สุสานหลวงราชวงศ์ที่สองแห่งอียิปต์

[แก้]

ฟาโรห์สองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สองได้ทรงนำพระบรมศพกลับมาฝังไว้ใกล้กับผู้ปกครองก่อนหน้า ซึ่งพระองค์ทรงยังฟื้นฟูแนวปฏิบัติในการสร้างหลุมฝังพระบรมศพด้วยอิฐโคลนในบริเวณใกล้เคียง

  • สุสาน วี: เพอร์อิบเซน[16] ตราประทับที่พบในสุสานดังกล่าวปรากฏประโยคเต็มประโยคแรกที่เขียนด้วยอักษรอียิปต์โบราณ[17]
  • สุสาน พี: คาเซเคมวี[18] หลุมฝังพระบรมศพแห่งนี้มีขนาดใหญ่มาก มีห้องที่ก่อด้วยอิฐโคลนเชื่อมต่อกันหลายห้อง และห้องฝังพระบรมศพจริงๆ ถูกสร้างขึ้นจากบล็อกหินปูน เมื่อ พีทรีได้ขุดค้นในปี ค.ศ. 1901 ภายในบรรจุคทาที่ทำจากหินทรายและหุ้มด้วยทองคำ แจกันหินปูนที่มีฝาปิดสีทอง และเหยือกน้ำและอ่างทองเหลือง[ต้องการอ้างอิง]
  • พื้นที่สุสานของฟาโรห์คาเซเคมวี เต็มไปด้วยทราย

การสังเวยมนุษย์กับสุสานหลวงราชวงศ์ที่หนึ่ง

[แก้]

มีการบูชายัญมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีพระบรมศพที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ที่หนึ่ง[19] ในหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ดเจอร์นั้นเกี่ยวข้องกับการฝังศพของบุคคลจำนวน 338 คนที่คิดว่าถูกสังเวยแล้ว[19] ผู้คนและสัตว์ที่บูชายัญ เช่น ลา ซึ่งคาดว่าจะช่วยเหลือฟาโรห์ในพระชนม์ชีพหลังจากสวรรคต และดูเหมือนว่าข้าราชบริพารของฟาโรห์ดเจอร์จะถูกรัดคอและถูกฝังลงในสุสานของพวกเขาพร้อมกัน[20][21] ด้วยเหตุผลที่ไม่ทราบสาเหตุ การประเพณีปฏิบัตดังกล่าวสิ้นสุดเมื่อราชวงศ์ที่หนึ่งล่มสลาย โดยโดยปรากฏการมีตุ๊กตาชวาติสเข้ามาแทนที่ผู้คนจริง ๆ เพื่อช่วยเหลือฟาโรห์ด้วยหน้าที่ที่คาดหวังจากพวกเขาในชีวิตหลังความตาย[19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Abydos Tombs of the Kings". www.ucl.ac.uk.
  2. Toby Wilkinson, Early Dynastic Egypt, Routledge, 1999
  3. 3.0 3.1 3.2 Shaw, Ian. The Oxford History of Ancient Egypt. p. 67. Oxford University Press. 2000. ISBN 0-19-280458-8
  4. "The Earliest Known Egyptian Writing : History of Information".
  5. Günter Dreyer: Umm el-Qaab I .: the predynastic royal tomb U-j and its early documents (= Umm el-Qaab, 1st volume). von Zabern, Mainz 1998, ISBN 3-8053-2486-3., pp. 87 & 176.
  6. [1] Abydos, Tomb of King Iry-Hor
  7. [2] Narmer's Tomb
  8. [3] Hor-Aha's Tomb
  9. [4] Tomb O
  10. [5] Tomb Z
  11. [6] Tomb Y - the tomb of Merneith
  12. [7] Tomb T
  13. [8] Tomb X
  14. [9] Tomb U
  15. [10] Tomb Q
  16. [11] Abydos Tomb P
  17. [12] Peribsen' tomb
  18. [13] Abydos Tomb V
  19. 19.0 19.1 19.2 Shaw, Ian. The Oxford History of Ancient Egypt. p. 68. Oxford University Press. 2000. ISBN 0-19-280458-8.
  20. Payne, Keith (20 October 2009). "Discovery of Abydos: Examining the Work of the Penn-Yale-IFA Joint Expedition" เก็บถาวร 2010-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Heritage Key.
  21. Payne, Keith "Exclusive Interview: Dr David O'Connor on the Abydos Expedition" Heritage Key 29 September 2009 [14] เก็บถาวร 2012-07-08 ที่ archive.today