อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ
อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ | |
---|---|
อรรถสิทธิ์ ใน พ.ศ. 2552 | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
รัฐมนตรีว่าการ | ไพโรจน์ นิงสานนท์ |
ก่อนหน้า | วีรวร สิทธิธรรม เด่น โต๊ะมีนา |
ถัดไป | สมศักดิ์ เทพสุทิน จรูญ งามพิเชษฐ์ |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2538 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2542 | |
ก่อนหน้า | ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี |
ถัดไป | พรชัย มาตังคสมบัติ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 18 มกราคม พ.ศ. 2566 (87 ปี) โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ (3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 – 18 มกราคม พ.ศ. 2566) เป็นแพทย์และนักการเมืองชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทและระบบสมองของไทย บิดาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และนายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย
ระหว่างเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นพ.อรรถสิทธิ์ เป็นผู้ริเริ่มโครงการศูนย์วินิจฉัยก้าวหน้าและรังสีร่วมรักษา (AIMC) เป็นโครงการนำร่องของการบริหารงานภายใต้การกำกับดูแลของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สังกัดศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ มีระบบบริหารจัดการแบบพิเศษ โดยมูลนิธิรามาธิบดี เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ประวัติ
[แก้]ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เกิดวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวน 10 คนของนายโฆสิต (น้องชายของพระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) และนางสุเพี้ยน เวชชาชีวะ มีพี่ชายคือนายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศและเป็นเป็นบิดาของนายสุรนันท์ เวชชาชีวะ และเป็นพี่ชายของนายวิทยา เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา
ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่
- ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ หัวหน้าหน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นางสาวงามพรรณ เวชชาชีวะ นักเขียนรางวัลซีไรต์ ประจำปี พ.ศ. 2549
- ร้อยตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กรรมการ และรองประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายกรัฐมนตรี คนที่ 27
ประวัติการศึกษา
[แก้]- มัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ รหัสประจำตัว อสช 14835
- แพทยศาสตรบัณฑิตโรงเรียนแพทย์กายส์ มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร พ.ศ. 2502
- ประกาศนียบัตรชั้นสูงในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป M.R.C.P. จาก Royal Colleges of Physicians of the United Kingdom พ.ศ. 2506
- ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
- F.R.C.P. (Fellowship of the Royal College of Physicians) จาก Royal college of Physicians of London พ.ศ. 2509
สาขาที่เชี่ยวชาญ
[แก้]ชำนาญด้านประสาทวิทยา โดยแบ่งเป็นสาขาต่างๆ กล่าวคือ Demyelinating diseases โดยเฉพาะ multiple sclerosis,Myasthenia gravis, Periodic paralysis, Neurosyphilis
ประวัติการทำงาน
[แก้]- คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2538)
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535)[1]
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (9 ธันวาคม พ.ศ. 2538 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2542)[2]
- นายกราชบัณฑิตยสถาน (12 เมษายน พ.ศ. 2546 – 11 เมษายน พ.ศ. 2548)[3]
หน้าที่การงานในอดีต
[แก้]- ราชบัณฑิต สาขาแพทยศาสตร์ ประจำสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน
- ประธานกรรมการ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สาขาพร้อมมิตร (องค์การมหาชน)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาแพทยศาสตร์[7]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล หน้า ๒ เล่ม ๑๑๒ ตอนพิเศษ ๙๖ ง, ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกราชบัณฑิตยสถานและอุปนายกราชบัณฑิตยสถาน หน้า ๑๑ เล่ม ๑๒๐ ตอนพิเศษ ๕๘ ง, ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖๐, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2478
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2566
- สกุลเวชชาชีวะ
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- แพทย์ชาวไทย
- นักวิชาการชาวไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นายกราชบัณฑิตยสภาไทย
- ราชบัณฑิต
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ
- อาจารย์คณะแพทยศาสตร์
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากวิทยาลัยอีตัน
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหิดล