พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระบำราศนราดูร)
พระบำราศนราดูร
(บำราศ เวชชาชีวะ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 7 มีนาคม พ.ศ. 2512
นายกรัฐมนตรีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
จอมพล ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าเฉลิม พรมมาส
ถัดไปพลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 พฤษภาคม พ.ศ. 2439
เมืองจันทบุรี
เสียชีวิต12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 (88 ปี)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร
คู่สมรสคุณหญิงสุภาพ บำราศนราดูร

อำมาตย์ตรี นายแพทย์ พระบำราศนราดูร นามเดิม หลง เวชชาชีวะ (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 – 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527) แพทย์ชาวไทย อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระหว่าง พ.ศ. 2502 - 2512

นายแพทย์หลง เป็นชาวจังหวัดจันทบุรีอยู่บ้านแหลมแสม ตำบลโขมง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นบุตรคนโต ในจำนวน 3 คนของนาย ย็อก นางจีน ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวจีน จากซัวเถามาขึ้นเรือที่ อำเภอไชยา (ปัจจุบันเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี) น้องชายคนที่ 2 ชื่อ นายแหยง คนที่ 3 ชื่อนายแหยม เพชรแก้ว และประกอบอาชีพค้าขาย[1] ศึกษาวิชาแพทย์ และเข้ารับราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นแพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี และเป็นผู้รับพระราชทานนามสกุล "เวชชาชีวะ" จากรัชกาลที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2462

นายแพทย์หลง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระบำราศนราดูร และดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงสาธารณสุข และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์และจอมพลถนอม กิตติขจร ตั้งแต่ พ.ศ. 2502–2512[2][3]

ในปี พ.ศ. 2502 ได้เกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นในกรุงเทพมหานคร พระบำราศนราดูรได้ก่อตั้งโรงพยาบาลเฉพาะทาง เพื่อควบคุมโรคติดต่อเป็นการพิเศษ โดยได้ย้ายโรงพยาบาลโรคติดต่อ ซึ่งเดิมตั้งอยู่ถนนดินแดง ตำบลพญาไท ให้อยู่ห่างไกลออกไปจากชุมชน ไปอยู่ที่ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตั้งชื่อว่า "โรงพยาบาลบำราศนราดูร"[4] (ปัจจุบันคือ สถาบันบำราศนราดูร สังกัดกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)

พระบำราศนราดูร สมรสกับคุณหญิงสุภาพ บำราศนราดูร (สุภาพ เวชชาชีวะ) มีบุตร 3 คน คือ นายอำนวย เวชชาชีวะ, นายเสรี เวชชาชีวะ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ชั้น 1) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข[5] และนายธีระ เวชชาชีวะ

นอกจากนี้ พระบำราศนราดูรยังเป็นพี่ชายของนายโฆษิต เวชชาชีวะ ผู้เป็นบิดาของนายนิสสัย เวชชาชีวะ (อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ), นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ (อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข) และนายวิทยา เวชชาชีวะ (อดีตเอกอัครราชทูต ประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงต่างประเทศ)[1]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 สาแหรก... "เวชชาชีวะ" สำเนาจาก หนังสือพิมพ์มติชน, 16 ธันวาคม 2551, หน้า 11
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งคณะรัฐมนตรี (จำนวน ๑๔ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  4. "ประวัติ สถาบันบำราศนราดูร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-27. สืบค้นเมื่อ 2008-12-19.
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/D/060/6.PDF
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๑๘๓๐, ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๐๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๐๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๐๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๙๔๕, ๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๐๖๓, ๕ ตุลาคม ๒๔๘๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๕ ง หน้า ๒๘๕๔, ๒๑ ธันวาคม ๒๔๙๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-06-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๓๘ ง หน้า ๑๒๙๕, ๓๐ เมษายน ๒๕๑๑
ก่อนหน้า พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) ถัดไป
หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (เฉลิม พรมมาส)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
(10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 สมัยแรก
11 ธันวาคม พ.ศ. 2506 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 สมัยที่สอง)
พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์