ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนคทาเนโบที่ 2 (อียิปต์โบราณ: Nḫt-Ḥr-Ḥbt; กรีก: Νεκτανεβώς เนคทาเนโบส) เป็นผู้ปกครองชาวอียิปต์พระองค์สุดท้ายของอียิปต์ และเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สามและพระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์ ทรงครองราชย์ตั้งแต่ 358 ถึง 340 ปีก่อนคริสตกาล

ภายใต้รัชสมัยของฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่พระราชอาณาจักรเจริญรุ่งเรือง ศิลปินชาวอียิปต์ได้พัฒนารูปแบบเฉพาะที่ทิ้งร่องรอยที่โดดเด่นไว้บนภาพสลักนูนต่ำนูนสูงของราชอาณาจักรปโตเลมี[6] เช่นเดียวกับฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 ผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ทรงแสดงความศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อลัทธิต่างๆ ของเหล่าทวยเทพในศาสนาอียิปต์โบราณ และมีสถานที่ในอียิปต์มากกว่าร้อยแห่งที่แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของพระองค์[7] อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงได้ดำเนินการก่อสร้างและการบูรณะปฏิสังขรณ์เหล่าศาสนาสถานได้มากกว่าฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิหารอียิปต์ขนาดมหึมาของเทพีไอซิสในฟิเล

เป็นระยะเวลาหลายปีที่พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการทำให้พระราชอาณาจักรอียิปต์ปลอดภัยจากการรุกรานจากจักรวรรดิอาเคเมนิด[8] แต่อย่างไรก็ตามพระองค์ก็ทรงถูกทรยศโดยอดีตข้าราชบริพารของพระองค์คือ ที่ปรึกษาแห่งรอดส์ ในที่สุดฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ก็ทรงพ่ายแพ้ต่อชาวเปอร์เซีย โดยชาวเปอร์เซียได้ยึดครองเมืองเมมฟิสและยึดส่วนที่เหลือของพระราชอาณาจักร และผนวกเข้ากับจักรวรรดิอาเคเมนิดภายใต้การปกครองของกษัตริย์อาร์ตาเซอร์ซีสที่ 3 และฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ได้เสด็จลี้ภัยไปทางใต้และทรงรักษาพระราชอำนาจไว้ได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง และไม่ทราบถึงชะตากรรมของพระองค์เลยหลังจากนั้น

พระนาม

[แก้]

พระนาม เนคทาเนโบ (Nectanebo) มีรากมาจากพระนามของพระองค์ในภาษากรีกคือ เนคทาเนโบส (Νεκτανεβώς หรือ Νεκτανεβός ในหลักฐานช่วงหลัง) พระนามในภาษาอียิปต์ของพระองค์คือ Nḫt-Ḥr-Ḥbt[9] ซึ่งแปลว่า "ชัยชนะคือฮอรัสแห่งเฮบิต (victorious is Horus of Hebyt)" ถึงแม้ว่าในภาษาอังกฤษจะมีระบุพระนามพระองค์ให้เหมือนกันกับฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 แต่อันที่จริงแล้วในภายหลังเรียกว่า เนคทาเนบิส (Νεκτάνεβις)[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Lloyd 1994, p. 358.
  2. Depuydt 2010, pp. 199–201.
  3. Nawotka 2017, pp. 37–38.
  4. Pascual 2013, p. 42.
  5. Akyeampong, Emmanuel K.; Gates, Henry Louis Jr. (2012). Dictionary of African Biographies. Oxford University Press. ISBN 9780195382075. สืบค้นเมื่อ 17 December 2017 – โดยทาง Gooogle Books.
  6. Myśliwiec, Karol (2000). The twilight of ancient Egypt: first millennium B.C.E. Cornell University Press. p. 173. ISBN 0-8014-8630-0.
  7. Grimal, Nicolás; Nicolas-Christophe Grimal (1994). A history of ancient Egypt. Wiley-Blackwell. p. 379. ISBN 0-306-46158-7.
  8. Sharpe, Samuel (1838). The History of Egypt under the Ptolemies. London: E. Moxon. p. 19. OCLC 4523393.
  9. Toby Wilkinson, The Rise and Fall of Ancient Egypt (Bloomsbury, 2010), p. 463
  10. Depuydt, Leo (2010). "New Date for the Second Persian Conquest, End of Pharaonic and Manethonian Egypt: 340/39 B.C.E.". Journal of Egyptian History. 3 (2): 191–230., pp. 193–194.