ทจาฮาปิมู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทจาฮาปิมู
เจ้าชายและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งอียิปต์
รูปสลักของเจ้าชายทจาฮาปิมูจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน นครนิวยอร์ก[1]
พระราชบุตรเทคทาเนโบที่ 2
ราชวงศ์ราชวงศ์ที่สามสิบ
พระราชบิดาเทคทาเนโบที่ 1

ทจาฮาปิมู หรือ ทจาเฮปิมู (ราว 360 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นเจ้าชายแห่งอียิปต์โบราณ แม่ทัพ และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์

พระประวัติ[แก้]

ทจาฮาปิมูอาจจะเป็นพระราชโอรสในฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 และเป็นพระอนุชาของฟาโรห์ทีออส[2][3][4] แม้ว่าบางครั้งพระองค์จะถูกระบุว่าเป็น "พระอนุชา" ของฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 และ "พระปิตุลา" ของฟาโรห์ทีออส[1] เมื่อคราวฟาโรห์ทีออสเสด็จไปยังดินแดนบริเวณตะวันออกใกล้เพื่อนำการเดินทางทางการทหารเพื่อรุกรานจักรวรรดิอะคีเมนิด พระองค์จึงได้แต่งตั้งให้เจ้าชายทจาฮาปิมูขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[2]

แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าทจาฮาปิมูทรงใช้ประโยชน์จากความไม่เป็นที่พึงใจของฟาโรห์ทีออสภายในพระราชอาณาจักร ซึ่งเป็นผลมาจากการเก็บภาษีที่เข้มงวดที่ฟาโรห์ทีออสทรงกำหนดเพื่อใช้เป็นเงินทุนในการดำเนินการทางทหารของพระองค์  โดยที่เจ้าชายทจาฮาปิมูทรงโน้มน้าวให้เจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบ ผู้เป็นพระโอรสของพระองค์ ซึ่งทรงรับราชการภายใต้รัชสมัยของฟาโรห์ทีออสในตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพทหารชั้นเลว ให้ทรงทำการกบฏต่อฟาโรห์ทีออสและปราบดาภิเษกให้พระองค์เองขึ้นเป็นฟาโรห์แทน และแผนการโค่นล้มพระราชบัลลังก์ของเจ้าชายทจาฮาปิมูก็ได้ประสบความสำเร็จ โดยเจ้าชายนัคต์ฮอร์เฮบทรงได้ขึ้นครองราชสมบัติในพระนามฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 และฟาโรห์ทีออสได้ทรงลี้ภัยไปยังพระนครซูซา ซึ่งเป็นที่ตั้งของราชสำนักของกษัตริย์อะคีเมนิด[2][3]

หลักฐานยืนยัน[แก้]

ค้นพบรูปสลักหินทรายชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเจ้าชายทจาฮาปิมูที่พบในเมืองเมมฟิส และปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน มหานครนิวยอร์ก บนรูปสลักได้มีการสลักพระอิสริยยศของพระองค์ไว้ว่า "พระอนุชาแห่งกษัตริย์" และ "พระราชบิดาแห่งกษัตริย์"[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Statue of Tjahapimu at the MMA
  2. 2.0 2.1 2.2 Alan B. Lloyd, Egypt, 404-332 B.C. in The Cambridge Ancient History, volume VI: The Fourth Century B.C., 1994, ISBN 0 521 23348 8, pp. 341–49.
  3. 3.0 3.1 Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, Oxford, Blackwell Books, 1992, p. 377–78
  4. Toby Wilkinson, The Rise and Fall of Ancient Egypt, Bloomsbury, London, 2010, p. 459