ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คาเคเปอร์เร เซนุสเรตที่ 2 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่สี่จากราชวงศ์ที่สิบสอง ทรงปกครองตั้งแต่ 1897 ถึง 1878 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดของพระองค์ถูกสร้างขึ้นที่เอล-ลาฮูน พระองค์ทรงให้ความสนใจอย่างมากในภูมิภาคโอเอซิสแห่งไฟยุม และทรงริเริ่มการก่อสร้างเกี่ยวกับระบบชลประทานที่กว้างขวางตั้งแต่บาหร์ ยูสเซฟ ไปจนถึงทะเลสาบโมเอริส ผ่านการก่อสร้างกำแพงกั้นน้ำที่เอล-ลาฮูนและการเพิ่มเครือข่ายคลองระบายน้ำ จุดประสงค์ของแผนการก่อสร้างนี้คือเพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรในพื้นที่นั้น[11] ความสำคัญของแผนการก่อสร้างนี้ได้เน้นย้ำการตัดสินใจของพระองค์ในการย้ายสุสานหลวงจากดาห์ชูร์ไปยังเอล-ลาฮูน ซึ่งพระองค์ได้ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดของพระองค์ ตำแหน่งนี้จะยังคงเป็นเมืองหลวงทางการเมืองสำหรับราชวงศ์ที่สิบสองและสิบสามแห่งอียิปต์ และพระองค์ยังทรงตั้งเขตคนงานแห่งแรกขึ้นใกล้กับเมืองเซนุสเรตโฮเทป (คาฮูน)[12]

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 นั้นต่างจากผู้สืบพระราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ โดยยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับราชวงศ์หรือผู้ปกครองท้องถิ่นต่างๆ ของอียิปต์ ซึ่งเกือบจะมีความมั่งคั่งพอ ๆ กับฟาโรห์[13] ในปีที่ 6 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ได้ปรากฏบนภาพวาดฝาผนังจากหลุมฝังศพของผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า คนุมโฮเทปที่ 2 ที่เบนิ ฮาซาน

รัชสมัย

[แก้]

การสำเร็จราชการร่วม

[แก้]

การมีผู้สำเร็จราชการร่วมเป็นประเด็นสำคัญสำหรับความเข้าใจของนักไอยคุปต์วิทยาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางและราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์[14][15] คลอดด์ ออบซอเมอร์ นักไอยคุปต์วิทยาชาวเบลเยียมได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ของการการมีผู้สำเร็จราชการร่วมในราชวงศ์ที่สิบสอง[16] โรเบิร์ต ดี. เดเลีย นักเขียน[17] และคาร์ล ยานเซน-วินเคล์น นักไอยคุปต์วิยาชาวเยอรมัน[18] ได้ตรวจสอบงานเขียนของออบซอเมอร์ และได้ข้อสรุปเพื่อสนับสนุนการมีผู้สำเร็จราชการร่วม[19] โดยยานเซน-วินเคล์นได้อ้างจากจารึกที่พบในโคนอสโซว่าเป็นหลักฐานที่หักล้างไม่ได้สำหรับการสนับสนุนการสำเร็จราชการร่วมกันระหว่างฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 และโดยการขยายการยืนยันการสำเร็จราชการร่วมในช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง[20] วิลเลียม เจ. เมอร์เนน นักไอยคุปต์วิทยาชาวอเมริกันได้กล่าวว่า "ระบบการปกครองร่วมของช่วงเวลานั้นล้วนทราบกันดีอยู่แล้ว...จากเอกสารที่ระบุสองช่วงรัชสมัย"[21] ชไนเดอร์ นักไอยคุปต์วิทยาชาวเยอรมันได้สรุปว่า เอกสารและหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้เป็นข้อยืนยันอย่างชัดเจนของการสำเร็จราชการร่วมในช่วงเวลานั้น[22]

แหล่งข้อมูลบางแห่งระบุถึงช่วงเวลาของการการสำเร็จราชการร่วมของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 โดยที่ฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 2 พระราชบิดาของพระองค์เป็นผู้สำเร็จราชการร่วม ปีเตอร์ เคลย์ตัน นักไอยคุปต์วิทยาชาวอังกฤษ ได้ระบุว่า พระองค์ได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมอย่างน้อยสามปี[23] นิโกลา กริมาล นักอียิปต์วิทยาชาวฝรั่งเศสได้ระบุว่า พระองค์ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมเป็นเวลาเกือบ 5 ปี ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์เพียงพระองค์เดียว[24]

ระยะเวลารัชสมัย

[แก้]

ระยะเวลารัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 เป็นหนึ่งในข้อพิจารณาหลักในการแยกแยะลำดับเหตุการณ์ของราชวงศ์ที่สิบสอง[15] เชื่อกันว่า บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินได้ระบุว่า ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ครองราชย์เป็นเวลา 19 ปี และฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 เป็นระยะเวลา 30 ปี[25] ข้อสันนิษฐานเดิมนี้ถูกโต้แย้งในปี ค.ศ. 1972 เมื่อวิลเลียม เคลลี ซิมป์สัน นักไอยคุปต์วิทยาชาวอเมริกันได้ตั้งข้อสังเกตว่า ปีรัชสมัยที่ปรากฏครั้งสุดท้ายของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 อยู่ที่ปีที่ 7 แห่งการครองราชย์ และในทำนองเดียวของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 อยู่ที่ปีที่ 19 แห่งการครองราชย์[25]

คิม รีฮอล์ต ศาสตราจารย์ด้านไอยคุปต์วิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ได้เสนอความเห็นถึงความเป็นไปได้ที่พระนามในบันทึกพระนามแห่งตูรินจะถูกจัดเรียงผิดและเสนอระยะเวลารัชสมัยที่เป็นไปได้สองช่วงสำหรับฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 คือ มากกว่า 10 ปี หรือ 19 ปี[26] นักไอยคุปต์วิทยาหลายคน เช่น ธอมัส ชไนเดอร์ ได้อ้างถึงบทความของมาร์ค ซี. สโตน ซึ่งตีพิมพ์ใน ก็อทติงเงอ มิสเซลเลิน (Göttinger Miszellen) ในปี ค.ศ. 1997 เนื่องจากระบุว่าปีรัชสมัยสูงสุดของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 อยู่ที่ปีที่ 8 แห่งการครองราชย์ โดยอ้างอิงจากจารึก ไคโร เจอี 59485[27]

นักวิชาการบางคนได้กำหนดให้พระองค์ครองราชย์เพียงระยะเวลา 10 ปี และให้ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ครองราชย์เป็นระยะเวลา 19 ปีแทน อย่างไรก็ตาม นักไอยคุปต์วิทยาคนอื่น ๆ เช่น เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธ และแฟรงค์ เยอร์โก ยังคงเชื่อข้อสันนิษฐานเดิมที่ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ทรงครองราชย์ระยะเวลายาวนานกว่า 19 ปี และเมื่อพิจารณาจากจำนวนพระราชกรณียกิจที่ฟาโรห์ทรงดำเนินการในรัชสมัยของพระองค์[ต้องการอ้างอิง] เยอร์โกได้ตั้งข้อสังเกตว่า การลดจำนวนปีในรัชสมัยเหลือเพียง 6 ปี จะส่งผลทำให้เกิดปัญหา เนื่องจาก[28]:

ในปัจจุบัน ข้อถกเถียงเกี่ยวกับระยะเวลาในการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 นั้นไม่ยังไม่เป็นที่สรุปได้ แต่นักไอยคุปต์วิทยาหลายคนในปัจจุบันมักที่จะกำหนดให้พระองค์ครองราชย์อยู่ที่ 9 หรือ 10 ปีเท่านั้น เนื่องจากไม่มีระยะเวลาที่มากกว่าที่ยืนยันถึงพระองค์ที่ครองราชย์เกินปีที่ 8 แห่งการครองของพระองค์ ประเด็นนี้จะนำมาซึ่งการแก้ไขระยะเวลาการครองที่ระบุในบันทึกพระนามแห่งตูรินไว้ที่ 19 ปี ให้เป็น 9 ปีแทน อย่างไรก็ตาม วันและเดือนของการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 สามารถตรวจสอบได้ ตามคำกล่าวของเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท บันทึกจากวิหารในเอล-ลาฮูนที่เมืองพีระมิดแห่งเซซอสทริส/เซนุสเรตที่ 2 ได้กล่าวถึงเทศกาล "การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์" ซึ่งอาจจะเป็นวันสวรรคตของพระองค์[29] บันทึกนี้ระบุว่าเทศกาลนี้เกิดขึ้นในเดือนเพเรตที่ 4 วันที่ 14[30][31][32]

เหตุการณ์ภายในพระราชอาณาจักร

[แก้]

โอเอซิสแห่งไฟยุม ซึ่งเป็นภูมิภาคหนึ่งในอียิปต์ตอนกลางมีมนุษย์อาศัยอยู่มานานกว่า 8,000 ปี[33] มันกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญในอียิปต์ระหว่างช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง[33] ตลอดระยะเวลานั้น ผู้ปกครองดำเนินแผนพัฒนาเพื่อเปลี่ยนไฟยุมให้กลายเป็นศูนย์กลางเกษตรกรรม ศาสนา และสถานตากอากาศ โดยโอเอซิสตั้งอยู่ 80 กม. (50 ไมล์) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเมมฟิส มีพื้นที่ทำการเกษตร[24] มีศูนย์กลางอยู่ที่ทะเลสาบโมเอริส ซึ่งเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ[33]

ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ทรงได้ริเริ่มแผนพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่แอ่งน้ำเพื่อการล่าสัตว์และตกปลา ซึ่งเป็นแผนพัฒนาที่ดำเนินต่อโดยผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์และ "พัฒนาเสร็จสมบูรณ์" ในรัชสมัยของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3 ผู้เป็นพระราชนัดดาของพระองค์ เพื่อการเริ่มต้นแผนพัฒนานี้ขึ้น พระองค์ได้ทรงโปรดให้พัฒนาระบบชลประทานที่มีกำแพงกั้นน้ำและเครือข่ายของคลองที่ผันจากทะเลสาบโมเอริส[14][24] พื้นที่ที่ถูกเวนคืนในแผนพัฒนานี้ก็ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นพื้นที่ทางการเกษตร[34]

ลัทธิบูชาเทพแห่งจระเข้โซเบคได้รุ่งเรืองในช่วงเวลานั้น[33]

เหตุการณ์ภายนอกพระราชอาณาจักร

[แก้]

รัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 เป็นช่วงเวลาเข้าสู่ยุคแห่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง โดยไม่มีการบันทึกการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการทหารและมีการขยับขยายการค้าขายระหว่างอียิปต์กับดินแดนตะวันออกใกล้[35]

ในช่วงเวลาเดียวกัน กลุ่มชาวเอเชียตะวันตกที่มาขอเข้าเฝ้าฟาโรห์พร้อมของกำนัลต่าง ๆ ก็ถูกบันทึกไว้ เช่นเดียวกับในภาพวาดบนหลุมฝังศพของคนุมโฮเทปที่ 2 ซึ่งมีชีวิตและทำงานในช่วงรัชสมัยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 จากราชวงศ์ที่สิบสอง ซึ่งเป็นภาพของชาวต่างชาติ ซึ่งอาจจะเป็นชาวคานาอันหรือชาวเบดูอิน ถูกเรียกว่าเป็นชาวอามู (ꜥꜣmw) รวมถึงหัวหน้าคณะที่มีตัวเลียงผานิวเบียที่เรียกว่า อาบิชา ชาวฮิกซอส (𓋾𓈎𓈉 ḥḳꜣ-ḫꜣsw, เฮกา-คาซุต สำหรับ "ชาวฮิกซอส") ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นแรกที่มีการปรากฏของ "ฮิกซอส"[36][37][38][39]

กลุ่มชนต่างแดนชาวเอเชียตะวันตก ซึ่งนำของกำนัลมาถวายแด่ฟาโรห์ พวกเขาอาจจะเป็นชาวคานาอัน ซึ่งถูกเรียกว่า ชาวอามู (ꜥꜣmw) ซึ่งประกอบด้วยบุรุษหัวหน้าคณะพร้อมกับตัวเลียงผานิวเบียที่ถูกเรียกว่า อาบิชา ชาวฮิกซอส (𓋾𓈎𓈉 ḥḳꜣ-ḫꜣsw, เฮกา-คาซุต สำหรับ "ชาวฮิกซอส") จากภาพในหลุมฝังศพที่เบนิ ฮาซานของคนุมโฮเทปที่ 2 ข้าราชการจากราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ ผู้ที่ทำหน้าที่ในช่วงรัชสมัยฟาโรห์เซนุสเรตที่ ( ประมาณ 1900 ปีก่อนคริสตกาล)[40][41][42][43]

การสืบสันตติวงศ์

[แก้]
สร้อยประดับพระอุระของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 (จากสุสานแห่งซิตฮาธอร์ยูเนต)

ไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวกับการสำเร็จราชการร่วมกันระหว่างฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 กับฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3[44] เมอร์เนนได้ชี้แจงว่า หลักฐานหลักที่มีอยู่เพียงชิ้นเดียวสำหรับฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และ 3 คือตราประทับสคารับที่ปรากฏพระนามของของทั้งสองพระองค์[45] ความเกี่ยวข้องกันนี้สามารถอธิบายได้ว่า เป็นผลมาจากบันทึกเวลาย้อนหลัง ซึ่งปีสุดท้ายของรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 อาจถูกรวมเข้ากับปีแรกแห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานร่วมสมัยจากบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ซึ่งทำให้ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 มีระยะเวลาในการปกครองครบ 19 ปีเต็มและจารึกบางส่วน[46]อุทิศเพื่อเฉลิมฉลองการเริ่มต้นพิธีกรรมที่เริ่มโดยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และ 3 และบันทึกปาปิรัสที่มีบันทึกในช่วงปีที่ 19 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และปีแรกของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 นั้นมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยและไม่จำเป็นว่าจำเป็นต้องมีการสำเร็จราชการร่วม[45] และเมอร์เนนโต้แย้งว่าหากมีการสำเร็จราชการร่วมจริง ก็จะมีระยะเวลาเพียงไม่เกินสองสามเดือน[45]

หลักฐานจากบันทึกปาปิรัสในตอนนี้ได้ถูกหักล้างจากข้อเท็จจริงที่ว่าบันทึกดังกล่าวได้รับลงระยะเวลาในปีที่ 19 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 และปีที่ 1 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมเนมเฮตที่ 3[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบบันทึกจากรัชสมัยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ในเอล-ลาฮูน ราชธานีใหม่ของพระองค์

สมบัติในสถานที่ฝังพระศพ

[แก้]
มงกุฏของเจ้าหญิงซิตฮาธอร์ยูเนต

ในปี ค.ศ. 1889 ฟลินเดอร์ส เพทรี นักไอยคุปต์วิทยาชาวอังกฤษ ได้ค้นพบ "ทองคำอันมหัศจรรย์และยูเรอุสประดับด้วยทองคำ" ซึ่งแต่เดิมนั้นจะต้องประกอบเป็นชิ้นส่วนของอุปกรณ์ฝังพระศพที่ถูกขโมยไปของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ในห้องที่มีน้ำท่วมขัง[47] ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ไคโร หลุมฝังพระศพของเจ้าหญิงซิตฮาธอร์ยูเนต พระราชธิดาในฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ก็ถูกค้นพบโดยนักไอยคุปต์วิทยาในพื้นที่ฝังพระศพที่แยกต่างหาก พบเครื่องประดับหลายชิ้นจากหลุมฝังพระศพของพระองค์ รวมทั้งสร้อยประดับพระอุระ และมงกุฏหรือรัดเกล้าที่นั่น ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เมโทรโพลิแทนแห่งนิวยอร์กหรือพิพิธภัณฑ์ไคโรในอียิปต์

ในปี ค.ศ. 2009 นักโบราณคดีชาวอียิปต์ประกาศผลการขุดค้นครั้งใหม่นำโดยนักอียิปต์โบราณ อับดุล เราะห์มาน อัล-อาเยดี พวกเขาเล่าถึงการขุดพบมัมมี่ยุคฟาโรห์ในโลงไม้สีสดใสใกล้กับพีระมิดแห่งลาฮูน มีรายงานว่ามัมมี่กลุ่มแรกที่พบในทะเลทรายที่ปกคลุมไปด้วยทรายรอบๆ พีระมิด[48]

พีระมิด

[แก้]
พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 2 ที่เอล-ลาฮูน

พีระมิดถูกสร้างขึ้นรอบ ๆ โครงของแขนรัศมีหินปูน คล้ายกับพีระมิดของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 แทนที่จะใช้หิน โคลน และปูน กลับใช้อิฐโคลนเป็นโครงสร้างภายในก่อนที่จะหุ้มพีระมิดด้วยชั้นของหินปูน แผ่นไม้อัด หินที่หุ้มชั้นนอกถูกล็อคเข้าด้วยกันโดยใช้ส่วนเสริมประกบ ซึ่งบางส่วนยังคงอยู่ มีการขุดคูน้ำรอบแกนกลางซึ่งเต็มไปด้วยหินเพื่อทำหน้าที่คล้ายท่อน้ำแบบฝรั่งเศส การหุ้มหินปูนอยู่ในท่อระบายน้ำนี้ แสดงว่าฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ทรงกังวลเกี่ยวกับความเสียหายจากน้ำ

มีมาสตาบาจำนวนแปดหลังและพีระมิดขนาดเล็กอีกหนึ่งหลังอยู่ทางเหนือของสถานที่ฝังพระศพฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และทั้งหมดอยู่ภายในกำแพงล้อมรอบ ผนังถูกหุ้มด้วยหินปูนที่ตกแต่งด้วยช่องต่างๆ บางทีอาจทำตามแบบสถานที่ฝังพระศพของฟาโรห์ดโจเซอร์ที่ซัคคารา มาสตาบาเหล่านั้นถมทึบและไม่พบห้องใดเลยภายในหรือด้านล่าง ซึ่งบ่งชี้ว่าพวกมันเป็นอนุสาวรีย์และอาจเป็นสัญลักษณ์ในธรรมชาติ และเพทรีได้สำรวจพีระมิดเสริมและไม่พบห้องใด ๆ อีก

ทางเข้าห้องใต้ดินอยู่ทางด้านใต้ของพีระมิด ซึ่งทำให้เพทรีสับสนเป็นเวลาหลายเดือนขณะที่เขามองหาทางเข้าทางด้านเหนือแบบดั้งเดิม

แผ่นหินปูนปรากฏคาร์ทูชของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 และพระนามและภาพสลักของเทพีเนคเบต จากมาสตาบาหมายเลขที่ 4 ทางด้านเหนือของพีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 2 ที่เอล-ลาฮูน ประเทศอียิปต์ จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์เพืรี กรุงลอนดอน

หลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้นแล้ว ปล่องทางเข้าแนวตั้งก็ถูกเติมเข้าไปแล้ว และห้องนี้ก็ถูกทำให้ดูเหมือนห้องฝังพระศพ ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่เป็นความพยายามที่จะโน้มน้าวให้พวกโจรปล้นสุสานไม่ต้องมองหาที่ไหนอีกแล้ว

ปล่องทางเข้ารองนำไปสู่ห้องโค้งและปล่องหลุมลึก นี่อาจเป็นแง่มุมหนึ่งของลัทธิบูชาโอซิริส ถึงแม้ว่ามันอาจจะเป็นการหาแหล่งน้ำก็ตาม มีทางเดินไปทางเหนือ ผ่านห้องด้านข้างอีกห้องหนึ่งแล้วเลี้ยวไปทางทิศตะวันตก สิ่งนี้นำไปสู่ห้องโถงและห้องฝังพระศพที่มีหลังคาโค้ง โดยมีห้องข้างทางทิศใต้ ห้องฝังพระศพถูกล้อมรอบด้วยทางเดินที่ไม่ซ้ำกันซึ่งอาจอ้างอิงถึงการเกิดของโอซิริส พบโลงพระศพขนาดใหญ่ภายในห้องฝังพระศพ มันใหญ่กว่าทางเข้าและอุโมงค์ แสดงว่ามันถูกวางในตำแหน่งเมื่อสร้างห้องและด้านบนเปิดโล่งสู่ท้องฟ้า เปลือกหุ้มหินปูนด้านนอกพีระมิดได้ถูกนำออกไปโดยฟาโรห์รามเสสที่ 2 เพื่อที่ให้พระองค์สามารถนำหินกลับมาใช้ใหม่นั่นเอง และพระองค์ได้ทรงทิ้งจารึกที่ทรงสั่งให้ทำไว้

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ปีที่มีการเสนอคือ: ประมาณ 1900 - 1880 ปีก่อนคริสตกาล,[2] ประมาณ 1897 - 1878 ปีก่อนคริสตกาล,[3][4][5] ประมาณ 1897 - 1877 ปีก่อนคริสตกาล,[6] ประมาณ 1895 - 1878 ปีก่อนคริสตกาล,[7] ประมาณ 1877 - 1870 ปีก่อนคริสตกาล[8][9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Grimal 1992, p. 166.
  2. Dodson & Hilton 2004, p. 289.
  3. Lehner 2008, p. 8.
  4. Arnold 2003, p. 267.
  5. 5.0 5.1 5.2 Clayton 1994, p. 78.
  6. Frey 2001, p. 150.
  7. Grimal 1992, p. 391.
  8. Shaw 2004, p. 483.
  9. Callender 2004, p. 152.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 Leprohon 2013, p. 59.
  11. Verner 2002, p. 386.
  12. Petrie 1891, p. 5ff.
  13. Clayton 1994, p. 83.
  14. 14.0 14.1 Callender 2004, pp. 137–138.
  15. 15.0 15.1 Simpson 2001, p. 453.
  16. Schneider 2006, p. 170.
  17. Delia 1997, pp. 267–268.
  18. Jansen-Winkeln 1997, pp. 115–135.
  19. Schneider 2006, pp. 170–171.
  20. Jansen-Winkeln 1997, pp. 188–189.
  21. Murnane 1977, p. 7.
  22. Schneider 2006, p. 171.
  23. Clayton 1994, p. 82.
  24. 24.0 24.1 24.2 Grimal 1992, p. 166.
  25. 25.0 25.1 Ryholt 1997, p. 14.
  26. Ryholt 1997, pp. 14–15.
  27. Schneider 2006, p. 172 citing Stone (1997, pp. 91–100).
  28. Yurco 2014, p. 69 citing Edwards (1985, pp. 98 & 292) and Grimal (1992, pp. 166 & 391).
  29. von Beckerath 1995, p. 447.
  30. Borchardt 1899, p. 91.
  31. Gardiner 1945, pp. 21–22.
  32. Simpson n.d., LA V900.
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 Wilfong 2001, p. 496.
  34. Callender 2004, pp. 152–153.
  35. Callender 2004, p. 152.
  36. Van de Mieroop 2011, p. 131.
  37. Bard 2015, p. 188.
  38. Kamrin 2009, p. 25.
  39. Curry, Andrew (2018). "The Rulers of Foreign Lands - Archaeology Magazine". www.archaeology.org.
  40. Van de Mieroop 2011, p. 131.
  41. Bard 2015, p. 188.
  42. Kamrin 2009, p. 25.
  43. Curry, Andrew (2018). "The Rulers of Foreign Lands - Archaeology Magazine". www.archaeology.org.
  44. Jansen-Winkeln 1997, p. 119.
  45. 45.0 45.1 45.2 Murnane 1977, p. 9.
  46. Murnane 1977, p. 228.
  47. Clayton 1994, p. 80.
  48. See El-Lahun recent discoveries and online Cache of mummies unearthed at Egypt's Lahun pyramid.

แหล่งที่มา

[แก้]

บทความอื่น

[แก้]
  • W. Grajetzki, The Middle Kingdom of Ancient Egypt: History, Archaeology and Society, Duckworth, London 2006 ISBN 0-7156-3435-6, 48-51

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]