นางสาวไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นางสาวไทย
คําขวัญTimeless Beauty
ก่อตั้ง1934; 90 ปีที่แล้ว (1934)
ประเภทการประกวดความงาม
สํานักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้ง
สมาชิก
ภาษาทางการ
ไทย
ผู้อำนวยการประกวด
บริษัท ทีพีเอ็น โกลบอล จำกัด
  • ปิยาภรณ์ แสนโกศิก
เว็บไซต์เพจหลักอย่างเป็นทางการ

นางสาวไทย เป็นการประกวดนางงามรายการที่ 2 ของประเทศไทย ต่อจากนางสาวสยาม โดยในยุคแรกจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมส่งเสริมงานฉลองรัฐธรรมนูญ ต่อมาจัดขึ้นเพื่อส่งผู้ชนะเลิศเป็นตัวแทนประเทศไทย ไปประกวดนางงามจักรวาล ในปี ค.ศ 1954 - 1999

ในปี พ.ศ. 2566 นางสาวไทย ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ โดยใช้รูปแบบการคัดเลือกตัวแทนจังหวัด แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่สามารถหาตัวแทนให้ครบทั้ง 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร ได้ และปีที่มีตัวแทนจังหวัดมากที่สุดคือ ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 46 จังหวัด ผู้ชนะเลิศตำแหน่ง นางสาวไทย จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการประกวด มิสโกลบอล และรองชนะเลิศหรือผู้ที่เหมาะสมกับบริบทเวทีต่างๆ จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปประกวดเวทีระดับนานาชาติต่างๆต่อไป

ประวัติ[แก้]

พ.ศ. 2477-2483[แก้]

การประกวดนางสาวไทย จัดครั้งแรกในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยใช้ชื่อว่า "นางสาวสยาม" รัฐบาลได้จัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ ภายในพระราชอุทยานสราญรมย์ ซึ่งเป็นสโมสรคณะราษฎร ในปี พ.ศ. 2477 เป็นการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญเป็นปีที่สอง แต่เริ่มจัดการประกวดนางสาวสยามเป็นปีแรก กำหนดระยะเวลาจัดงาน 5 วัน คือวันที่ 8 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ในคืนวันที่ 8 ธันวาคม เป็นการคัดเลือก นางสาวธนบุรี คืนวันที่ 9 ธันวาคม เป็นคัดเลือก นางสาวพระนคร และคืนวันที่ 10 - 12 ธันวาคม เป็นการประกวด นางสาวสยาม โดยผู้เข้าประกวดแต่งกายด้วยชุดไทยห่มสไบเฉียง นุ่งซิ่นยาวกรอมเท้า โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เป็นคณะกรรมการตัดสิน ต่อมาในพ.ศ. 2482 จึงเปลี่ยนเป็นชุดเสื้อกระโปรงติดกัน ตัดเย็บด้วยผ้าไหมของไทย เสื้อเปิดหลัง กางเกง กระโปรงยาวถึงเข่า และได้เพิ่มการสวมใส่ชุดกีฬา กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุดเปิดหลังในปีถัดมา

ในยุคที่ 1 จัดการประกวดที่พระราชอุทยานสราญรมย์ ประเทศไทยมีผู้ได้รับเลือกเป็น "นางสาวสยาม" จำนวน 5 คน และ "นางสาวไทย" จำนวน 2 คน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ 1 ว่าด้วยนามของประเทศ พ.ศ. 2482 กำหนดเรียกนามของประเทศว่าประเทศไทย ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด ซึ่งใช้คำว่า "สยาม" ให้ใช้คำว่า "ไทย" แทน ดังนั้น การประกวด "นางสาวสยาม" จึงเปลี่ยนมาใช้การประกวด "นางสาวไทย" นับตั้งแต่ พ.ศ. 2482

ขณะที่รัฐบาลกำลังเตรียมจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2484 ซึ่งกำหนดเริ่มในวันที่ 8 ธันวาคม แต่ในเช้าตรู่วันที่ 8 ธันวาคมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งหลายแห่ง มีการสู้รบกันที่ บางปู สมุทรปราการ อ่าวมะนาว ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ปัตตานี ฯลฯ ประเทศไทยเข้าสู่สภาวะสงคราม งานฉลองรัฐธรรมนูญในปีนั้นจึงถูกยกเลิกทันที และไม่มีการจัดงานไปจนสงครามสงบ

พ.ศ. 2491-2497[แก้]

หลังสงครามสงบ ใน พ.ศ. 2488 พระนครบอบช้ำจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาก ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นฟูอยู่ระยะหนึ่ง จนถึงปี พ.ศ. 2491 รัฐบาลจึงได้จัดงานฉลองรัฐธรรมนูญขึ้นอีกครั้ง และการประกวดนางสาวไทยในยุคที่ 2 ได้เริ่มอีกครั้งในปี พ.ศ. 2491 แต่ปี พ.ศ. 2492 มีงานฉลองรัฐธรรมนูญแต่เว้นการประกวดไป ปีถัดมารัฐบาลกลับมาจัดการประกวดอีกครั้ง โดยเพิ่มการสวมใส่ชุดว่ายน้ำในการประกวดด้วยและได้จัดการประกวดต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่รัฐบาลเป็นผู้มีบทบาทในการจัดการประกวด เนื่องจากงานฉลองรัฐธรรมนูญได้ถูกยกเลิกไปอีก เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองในช่วงรอยต่อของประชาธิปไตยและเผด็จการ การประกวดนางสาวไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลองรัฐธรรมนูญ ก็จึงไม่ได้จัดขึ้นด้วย

พ.ศ. 2507-2515[แก้]

จากการที่งานเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญได้ถูกยกเลิกไป ทำให้ไม่มีการประกวด นางสาวไทยในช่วงเวลาดังกล่าว แต่มักจะมีการจัดในระดับท้องถิ่น หรือการประกวดเนื่องในโอกาสหรือวาระพิเศษต่าง ๆ เช่น การประกวดเทพีลุมพินี ที่สวนลุมพินี (คนสมัยนั้นส่วนใหญ่จะเรียกสวนลุมพินีรวมว่า สนามมวยลุมพินีแต่ไม่ได้เป็นจัดการประกวดในสนามมวยแต่อย่างใด), การประกวดนางสาวไทย โทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม, การประกวดนางงามตุ๊กตาทอง ในงานประกวดภาพยนตร์ตุ๊กตาทอง, การประกวดสาวงาม องค์กฐินชิงถ้วยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นต้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ทดลองจัดการประกวด "นางงามวชิราวุธ" ขึ้นในงานวชิราวุธานุสรณ์ ซึ่งเป็นงานที่สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดขึ้นโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ อีกวัตถุประสงค์คือ เพื่อสร้างความบันเทิง แก่ประชาชนผู้มาเที่ยวงาน ส่วนสถานที่จัดงานคือบริเวณพระราชอุทยานสราญรมย์ จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ จุดมุ่งหมายของการจัดประกวด นางสาวไทย ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการใช้ตำแหน่งนางสาวไทย เป็นสื่อเผยแพร่ชื่อเสียง ให้แก่ประเทศ และ ใช้รูปแบบของการเข้าร่วมประกวดนางงาม ระดับชาติทำให้ชาวต่างชาติรู้จักประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 คณะกรรมการการจัดงานวชิราวุธานุสรณ์ ได้มีการเปลี่ยนชื่อการประกวดมาเป็นการประกวด "นางสาวไทย " ซึ่งสมาคมนักเรียนเก่าวชิรวุธฯ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ตั้งแต่นั้นมา

พ.ศ. 2527-2542[แก้]

ในปี พ.ศ. 2516 ได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้นในบ้านเมือง การประกวดนางสาวไทยจึงได้หยุดจัดไป จนปี พ.ศ. 2527 สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ โดยนายชาติเชื้อ กรรณสูต นายกสมาคม และเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ได้รื้อฟื้นการจัดประกวดนางสาวไทยขึ้นอีกครั้ง เพื่อคัดเลือกตัวแทนไปประกวดนางงามจักรวาล โดยในปี พ.ศ. 2527 ได้จัดการประกวดขึ้นที่ เวทีกลางแจ้ง โรงแรมแกรนด์พาเลซ พัทยา จังหวัดชลบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 ได้จัดการประกวดที่เวทีกลางสวนน้ำสวนสยาม ซึ่งในปีนั้นได้เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้การประกวดต้องหยุดชะงักเป็นช่วงๆ เป็นอุปสรรคต่อการประกวด หลังจากนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา การประกวดจึงได้จัดในอาคาร ซึ่งจากการเว้นว่างการประกวดไปนานหลายปี ทำให้ช่วงสองปีแรกไม่ได้รับความสนใจจากผู้คนเท่าใดนัก ทั้งผู้สมัครที่มีจำนวนน้อยและหาผู้สนับสนุนการประกวดยาก หลังจากนั้นผู้คนเริ่มรู้จัก "นางสาวไทย" กันมากขึ้น จึงมีผู้สนใจสมัครเข้าประกวด และภาคเอกชนเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนต่างๆกันมาก นางงามคนที่ 36 ได้เข้าประกวดเป็นครั้งสุดท้ายในปี 1999 สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ดูแลการผลิตรายการของช่อง7 ได้รับผิดชอบการประกวดสิ้นสุดการประกวดนางงามช่อง7สี ปี พ.ศ. 2542

พ.ศ. 2543-2559[แก้]

เนื่องจากเกิดปัญหาเรื่องสิทธิประโยชน์ในชื่อ "นางสาวไทย" ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์คือสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ กับเจ้าของสิทธิ์ในการจัดการประกวดคัดเลือกตัวแทนสาวไทยไปประกวดนางงามจักรวาล คือ คุณสุรางค์ เปรมปรีดิ์ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ในขณะนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงได้แยกกันจัด โดยทางสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ยังจัดการประกวดนางสาวไทยต่อไป แต่นางสาวไทยไม่ได้สิทธิ์ไปประกวดนางงามจักรวาล และสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธฯ ได้ให้สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เป็นผู้ดำเนินการจัดการประกวด ต่อมาก็ย้ายไปจัดร่วมกับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 - 2558 มีการพัฒนารูปแบบการจัดประกวดให้เหมาะสมกับความเป็นกุลสตรี สภาพเศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมากยิ่งขึ้น อาทิ การยกเลิกการใส่ชุดว่ายน้ำบนเวที เพื่อเป็นการรักษาภาพลักษณ์ของสตรีไทย, การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลคะแนน, การวัดระดับ IQ และ EQ รวมทั้งการนำความสามารถพิเศษของผู้เข้าประกวด มาใช้ประกอบในการพิจารณาการตัดสิน เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดในทุกๆด้าน ไม่ใช่แต่เพียงความสวยอย่างเดียว นอกจากนี้ยังได้จัดให้มีการประกวดรอบคัดเลือกในภูมิภาคต่างๆ เพื่อเปิดโอกาส ให้ผู้หญิงไทยทั่วประเทศ ได้มีโอกาสเข้าร่วมการประกวดอย่างทั่วถึง ในยุคนี้ ผู้ที่ได้รับตำแหน่ง นางสาวไทยจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่ง "ทูตวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว" ทำหน้าที่เผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีของไทย ให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก ซึ่งต้องเดินทางไป ยังสำนักงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่มีสำนักงานสาขาถึง 17 แห่งทั่วโลก รวมถึงการทำกิจกรรมต่างๆ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตามจังหวัดต่างๆ ภายในประเทศตลอดทั้งปี จุดมุ่งหมายของการประกวดในยุคนี้ ตรงกับแนวคิดของคำว่า "นางสาวไทย" ที่คนไทยเข้าใจความหมาย จึงได้รับการสนับสนุนจากองค์กรและส่วนราชการต่าง ๆ มากมาย อาทิ สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย รวมทั้งจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ และในปี พ.ศ. 2559 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ดำเนินการถ่ายทอดการประกวด เนื่องจากหมดสัญญากับบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) โดยสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์

พ.ศ. 2562-2564[แก้]

บริษัท ทีดับเบิลยู เพเจ้นส์ จำกัด โดย ธนวัฒน์ วันสม และณัฐกาญจน์ เสนเนียม ได้รับลิขสิทธิ์การจัดประกวดนางสาวไทยจากสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อย่างเป็นทางการเป็นระยะเวลา 5 ปีต่อเนื่อง โดยถ่ายทอดทางช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี และปีนี้ผู้ที่ได้รับตำแหน่งนางสาวไทยจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยในการประกวดนางงามนานาชาติ ในภายหลังได้มีเปลี่ยนมือผู้จัดการประกวดเป็น วันรัก ณ นคร เป็นผู้อำนวยการกองประกวดในปี 2562

พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน[แก้]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 บริษัท ทีพีเอ็น โกลบอล จำกัด ได้รับลิขสิทธิ์จากสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการจัดการประกวดนางสาวไทยตั้งแต่ครั้งที่ 53 ประจำปี พ.ศ. 2565

ช่องโทรทัศน์[แก้]

รายนามนางสาวไทยและรองนางสาวไทย[แก้]

นับจนถึงปี พ.ศ. 2562 มีการจัดประกวดนางสาวไทยมาแล้ว 51 ครั้ง โดยมีผู้ได้รับตำแหน่งนางสาวสยาม 5 คน, รองนางสาวสยาม 4 คน, นางสาวไทย 46 คน และรองนางสาวไทย 147 คน ทั้งนี้ มีนางสาวไทยสองคนที่เคยรับตำแหน่งนางงามจักรวาล ได้แก่อาภัสรา หงสกุล และภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก มีนางสาวไทยหนึ่งคนเคยรับตำแหน่งรองนางงามจักรวาล คือ จีรนันทน์ เศวตนันทน์ และมีนางสาวไทยหนึ่งคนเคยรับตำแหน่งนางงามนานาชาติ คือ สิรีธร ลีห์อร่ามวัฒน์ รายนามนางสาวไทยและรองนางสาวไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 จนถึงปัจจุบัน (ชื่อในสูจิบัตรการประกวด)

  • หมายเหตุ: จนถึงปี 2481 ใช้ชื่อตำแหน่งว่า "นางสาวสยาม"
ที่ ปี พ.ศ. (ค.ศ.) นางสาวไทย รองอันดับ 1 รองอันดับ 2 รองอันดับ 3 รองอันดับ 4 สถานที่จัดประกวด จังหวัดเจ้าภาพ ผู้เข้าประกวด
55. 2567 (2024) พนิดา เขื่อนจินดา
เชียงใหม่
พรศิริกุล พั่วทา
ประจวบคีรีขันธ์
อาทิติยา เบ็ญจะปัก
นครราชสีมา
สุกัญญา วงศ์ปัญญาดี
นนทบุรี
น้ำหนึ่ง แวนเดอเวน
อุตรดิตถ์
เอ็มซีซี ฮอลล์ เดอะมอลล์ ไลฟ์สโตร์ งามวงศ์วาน นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา[2] 34
54. 2566 (2023) ชนนิกานต์ สุพิทยาพร
เชียงใหม่
มาริษา พลธิราช
สกลนคร
อะราเบล่า สิตานัน เกรโกรี่
พัทลุง
กนกพร พยุงวงษ์
พระนครศรีอยุธยา
สุพรรษา วัฒนานุสิทธิ์
อำนาจเจริญ
แจ้งวัฒนะ ฮอลล์ เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ นนทบุรี พัทลุง 46
53. 2565 (2022) มานิตา ดวงคำ ฟาร์เมอร์
ภูเก็ต
อัญพัชร์ ปิติประจักษ์วัชร
นครปฐม
วนิดา ดอกกุหลาบ
อุทัยธานี
อธิชา เรนนี่
กาญจนบุรี
ศรณ์ศรฏฐ์ วิทยาเรืองสุข
กรุงเทพมหานคร
เซ็นทรัลเวิลด์ ไลฟ์ กรุงเทพมหานคร อำนาจเจริญ 24
2564 (2021) งดจัดการประกวด เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
52. 2563 (2020) ณัฐพัชร พงษ์ประพันธ์
นครปฐม
ณิษฐกาณต์ อักษรวรรณ
นครศรีธรรมราช
สุพรรณิการ์ นพรัตน์
ตรัง
กมลพร ทองพล
สุราษฎร์ธานี
ปทิตตา สันติวิชช์
ปทุมธานี
ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง 30
51. 2562 (2019) สิรีธร ลีห์อร่ามวัฒน์
กรุงเทพมหานคร
รองนางสาวไทย โรงละครอักษรา คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ กรุงเทพมหานคร เชียงราย 39
ริศา พงศ์พฤกษทล (สละตำแหน่ง)
สุพรรณบุรี
พรนัชชา อารยะสัจพงษ์
เพชรบุรี
มนชนิตว์ ช่วยบุญ
มหาสารคาม
สุภางค์ พานทอง
สุโขทัย
2560–2561 (2017–2018) งดจัดการประกวด เนื่องจากไม่สามารถหาผู้จัดรายใหม่ได้
50. 2559 (2016) ธนพร ศรีวิราช
พะเยา
ปิ่นทิพย์ อรชร
นครศรีธรรมราช
สุปภาดา ภูรีพงศ์
พิษณุโลก
ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง เมืองไทย จีเอ็มเอ็มไลฟ์เฮาส์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร 34
2558 (2015) งดจัดการประกวด เนื่องจากกองประกวดหมดสัญญากับ อสมท. แล้วไม่สามารถหาผู้จัดรายใหม่ได้[3]
49. 2557 (2014) วิลาสินี จันทร์วุฒิวงศ์ พิมพ์ชนก จิตชู เสาวลักษม์ ไชยศิริธัญญา พัชรวรรณ หุตะเศรณี อาทิมา เนตรทิพย์ โรงละครอักษรา ชั้น 3 คิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ ซอยรางน้ำ ประจวบคีรีขันธ์ 24
48. 2556 (2013) อัจฉราภรณ์ กนกนทีสวัสดิ์ ปวีณสุดา แซ่ตั่น ดุษฎี อารีย์ทาน ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง โรงละครอักษรา ชั้น 3 คิง พาวเวอร์ คอมเพล็กซ์ ซอยรางน้ำ นครราชสีมา 18
47. 2555 (2012) ปริศนา กัมพูสิริ ปุณณิศา ศิริสังข์ ณัฐอร โสภณ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง แจ้งวัฒนะฮอลล์ เซ็นทรัลพลาซ่า แจ้งวัฒนะ น่าน 18
2554 (2011) งดจัดการประกวด เนื่องจากเกิดอุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554 และมีการไว้ทุกข์การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
46. 2553 (2010) กฤชภร หอมบุญญาศักดิ์ วรรัตน์ นิยมเดช สิริมา อรชร ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ กรุงเทพมหานคร นครปฐม, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์ 18
45. 2552 (2009) อรวิภา กนกนทีสวัสดิ์ กอบกุลยา จึงประเสริฐศรี วรวิตา จันทร์หุ่น ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี 18
44. 2551 (2008) พรรณประภา ยงค์ตระกูล ชโลธร ชัยชมภู วรรณกร กองเมือง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง รอยัลพารากอนฮออล์ สยามพารากอน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สุโขทัย 18
43. 2550 (2007) อังคณา ตรีรัตนาทิพย์ ภัทรา เทพหัสดิน ณ อยุธยา ชมพูนุช ลออวรรณากร ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ห้องรอยัล จูบิลลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพค เมืองทองธานี ตราด 18
42. 2549 (2006) ลลนา ก้องธรนินทร์ สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร พรรณนภา ปราบภัย ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง โรงละคร ไทยอลังการ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ชลบุรี 18
2548 (2005) งดจัดการประกวด เนื่องจากเกิดเหตุการณ์กบฏไอทีวี
41. 2547 (2004) สิรินทร์ยา สัตยาศัย แสงธรรม ชูมีชัย ปรัชนันท์ ลิ้มรัตน์ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง สวนอัมพร สงขลา 30
40. 2546 (2003) ชาลิสา บุญครองทรัพย์ สุภิญญา ฉายะภูติ เอกจิตรา คำมีศรีสุข กนิษฐา เหลืองอรุณเลิศ อุรัจฉทา ณ นคร อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี 40
39. 2545 (2002) ปฏิพร สิทธิพงศ์ สิริพรรณ หลิมวิจิตร นพพร ชุ่มใจ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 58
38. 2544 (2001) สุจิรา อรุณพิพัฒน์ ณฐิกา ประกอบบุญ กิตติมา วัฒนะนุพงษ์ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 76
37. 2543 (2000) ปนัดดา วงศ์ผู้ดี สวรส ศรีประทุม กุณฑีรา สัตตบงกช ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 76
36. 2542 (1999) อภิสมัย ศรีรังสรรค์ นฤมล จินะแก้ว พรพิมล นิยมวานิช ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ห้องบางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
35. 2541 (1998) ชลิดา เถาว์ชาลี สิริดา ชุณหชาติ มัณฑนา โห่ศิริ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ห้องบางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
34. 2540 (1997) สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ ณาตยา พิมลพันธุ์ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ห้องบางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลลาดพร้าว
2539 (1996) งดจัดการประกวด เนื่องจากงานพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
33. 2538 (1995) ภาวดี วิเชียรรัตน์ น้ำทิพย์ วีระขจร จิตรานุช ธรรมมงคล ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
32. 2537 (1994) อารียา สิริโสภา ปรารถนา ไชยโรจน์ อารีวรรณ จตุทอง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
31. 2536 (1993) ฉัตฑริกา อุบลศิริ มาริสา ทิพย์วังเมฆ กชกร นิมากรณ์ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
30. 2535 (1992) อรอนงค์ ปัญญาวงศ์ จิดาภา ณ ลำเลียง นารถวลี ศรีสกุล ฟ้ารุ่ง ชารีรักษ์ อลิสา สุวรรณวงศ์ โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
29. 2534 (1991) จิระประภา เศวตนันทน์ วรรณิดา กุญชร อภัสนันท์ สุทธิกุล ศิรินทรา ไสยประจำ วัชรารัศมี สุนทรพนาเวช โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
28. 2533 (1990) ภัสราภรณ์ ชัยมงคล เบญจมาภรณ์ เดชสุภา วิภาวรรณ จันทรวงค์ ภัชธีญา กลิ่นสนิท ทิพย์สุดา วัฒนศฤงคาร โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
27. 2532 (1989) ยลดา รองหานาม เพชรรัตน์ สีแก้ว รักษ์สุดา สินวัฒนา จริญญา หาญณรงค์ ทิพาพร เพชรรัตน์ โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา
26. 2531 (1988) ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ปรียานุช ปานประดับ พิมพิไล ไชยโย ศุภรานันทน์ พันธ์ชูจิต อิสราภรณ์ จงเจริญ โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา ภูเก็ต
25. 2530 (1987) ชุติมา นัยนา ดวงเดือน จิไธสงค์ ศิริกัลยา โชติมณีพันธ์ มัลลิกา เกรียงไกร ดาริน กรสกุล โรงแรมไฮแอทเซ็นทรัลพลาซ่า
24. 2529 (1986) ทวีพร คลังพลอย สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์ สุมิตรา กิจประเสริฐ วรินทรา วิริยาภรณ์ พัชรีภรณ์ จันทร์สว่าง โรงแรมไฮแอทเซ็นทรัลพลาซ่า
23. 2528 (1985) ธารทิพย์ พงษ์สุข ลีลาวดี วัชโรบล ศศิมาภรณ์ ไชยโกมล สุจิตรา รัตนประยูร ดวงหทัย กุญชร ณ อยุธยา สวนสยาม
22. 2527 (1984) สาวิณี ปะการะนัง วรัญญา วรากรณ์ วาสิฏฐี ศรีโลฟุ้ง ประทุมทิพย์ ฉันทะ พิศเพลิน พงษ์เจริญ โรงแรมแกรนด์พาเลซ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
2516–2526 (1973–1983) งดจัดการประกวด เนื่องจากเหตุการณ์ 14 ตุลา วิกฤตการณ์การเมือง
21. 2515 (1972) กนกอร บุญมา แสงอรุณ จิตต์ใจ สุดเฉลียว รอดบุญธรรม ปริศนา โลหะนันท์ สุดสวาท สมโนทัย
20. 2514 (1971) นิภาภัทร สุดศิริ สรินยา ทัตตวร เปรมฤดี เสริมสิริ ศรัญญา ทองขจร เยาวเรศ ภูมิศิลป์
2513 (1970) งดจัดการประกวด เนื่องจากเกิดเหตุการณ์สงครามอินโดจีน
19. 2512 (1969) วารุณี แสงศิรินาวิน พนารัตน์ พิสุทธิศักดิ์ ลัดดาวัลย์ ยิ่งยง บุษราภรณ์ ธีระทรัพย์ ปริยา ศรีวิชัย
18. 2511 (1968) แสงเดือน แม้นวงศ์ มิตทีรา ภัทรนาวิก ศรีมาย ทิพย์มณฑา เนตรทราย ชลาธาร จันทพร สุรินทร์เปาว์
17. 2510 (1967) อภันตรี ประยุทธเสนีย์ รุ่งทิพย์ ภิญโญ พัชรินทร์ ไพรอุดม บุญตา ศรีแผ้ว พินนะรัฐ ทนันไชย
16. 2509 (1966) ประภัสสร พานิชกุล อุไรวรรณ งามบุญสืบ ณาตยา นิยมพงษ์ ภาสวรรณ พหุลรัตน์ สุภาภรณ์ นิลเสรี
15. 2508 (1965) จีรนันทน์ เศวตนันทน์ ชัชฎาภรณ์ รักษนาเวศ สุทิศา พัฒนุช มลุลี เอี่ยมศิริรักษ์ กิ่งกมล อุบลรัตน์
14. 2507 (1964) อาภัสรา หงสกุล อรัญญา นามวงษ์ เนาวรัตน์ วัชรา เสาวนีย์ วรปัญญาสกุล ละอองดาว กิริยา
2498–2506 (1955–1963) งดจัดการประกวด เนื่องจากเกิดการรัฐประหารในประเทศไทย
13. 2497 (1954) สุชีลา ศรีสมบูรณ์ จงดี วิเศษฤทธิ์ อุทัยวรรณ เทพจินดา ระเบียบ อาชนะโยธิน วาสนา รอดศิริ สวนลุมพินี
12. 2496 (1953) อนงค์ อัชชวัฒนา นวลสวาท ลังการ์พินธุ์ เลิศลักษณ์ สิริวิเศษ อมรา อัศวนนท์ มารศรี ยุวนากร สวนลุมพินี
11. 2495 (1952) ประชิตร์ ทองอุไร ดวงจันทร์ บุญศรี วิจิตรา วัลลิสุต พยุงศรี สาคริกานนท์ นัยนา ไชยสุต สวนลุมพินี
10. 2494 (1951) อุษณีย์ ทองเนื้อดี เปล่งศรี โสภาวรรณ สุวรรณา กังสดาร สุภัทรา ทวิติยานนท์ บุหงา วัชโรทัย
9. 2493 (1950) อัมพร บุรารักษ์ ศรีสมร อรรถไกวัลวที วีณา มหานนท์ โสภิตสุดา วรประเสริฐ พรทิพย์ จันทรโมกข์
2492 (1949) งดจัดการประกวด เนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงครามออกคำสั่งยกเลิกการประกวดนางสาวไทย เนื่องจากเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย
8. 2491 (1948) ลัดดา สุวรรณสุภา ลักษมี กรรณสูต อุษา วีระวรรธนะ เรณู พิบูลภานุวัฒน์ ปราณี มาลีพันธุ์สกุล สวนอัมพร
2484–2490 (1941–1947) งดจัดการประกวด เนื่องจากเกิดเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2
7. 2483 (1940) สว่างจิตต์ คฤหานนท์ สมจิตต์ ลิ้มไพบูลย์ อารี ปิ่นแสง สอาด ลิ่มสวัสดิ์ ประชัญ ศิวเสน
6. 2482 (1939) เรียม เพศยนาวิน มาลี พันธุมจินดา เทียมจันทร์ วานิชขจร เจริญศรี ปาศะบุตร ลำยอง สู่พานิช สวนอัมพร
นางสาวสยาม
5. 2481 (1938) พิสมัย โชติวุฒิ เสริมสุข จันทรเวคิน ลำดวน ดับทุกข์รัฎฐ์ สันธนา ลิ้มปิติ สุคนธ์ นาวารัตน์
4. 2480 (1937) มยุรี วิชัยวัฒนะ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง
3. 2479 (1936) วงเดือน ภูมิรัตน์ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง
2. 2478 (1935) วณี เลาหเกียรติ ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง
1. 2477 (1934) กันยา เทียนสว่าง ไม่มีผู้ได้รับตำแหน่ง พระราชอุทยานสราญรมย์

เรียงลำดับจังหวัดของผู้ชนะ[แก้]

จังหวัด จำนวน ปีที่ชนะ
 กรุงเทพมหานคร 18 2527, 2530, 2532, 2534, 2536, 2537, 2538, 2541, 2543, 2544, 2547, 2549, 2550, 2551, 2554, 2556, 2557, 2562
 พระนคร 12 2477, 2478, 2479, 2481, 2482, 2483, 2495, 2496, 2507, 2510, 2511, 2512
 เชียงใหม่ 5 2535, 2545, 2553, 2566, 2567
 นครปฐม 2 2542, 2563
 ฉะเชิงเทรา 2515, 2531
 ภูเก็ต 1 2565
 พะเยา 2559
 สระบุรี 2552
 ลำปาง 2546
 นครนายก 2540
 สงขลา 2533
 นครสวรรค์ 2529
 น่าน 2528
 กาญจนบุรี 2514
 เพชรบุรี 2509
 สุราษฎร์ธานี 2508
 ลำพูน 2497
 สมุทรสงคราม 2494
 เชียงราย 2493
 ปัตตานี 2491
 พระนครศรีอยุธยา 2480

ทำเนียบนางสาวไทย[แก้]

ผลงานการประกวดระดับนานาชาติ ปัจจุบัน[แก้]

สัญลักษณ์สี

  •   : ชนะเลิศ
  •   : รองชนะเลิศหรืออันดับ 5/6
  •   : เข้ารอบสุดท้ายหรือรอบรองชนะเลิศ
  •   : รางวัลพิเศษหรือเข้ารอบสุดท้ายรางวัลพิเศษ

มิสโกลบอล[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด ผลการประกวด รางวัลพิเศษ
2024 พนิดา เขื่อนจินดา เชียงใหม่ นางสาวไทย 2567 TBA TBA
กัมพูชา 2023 ชนนิกานต์ สุพิทยาพร เชียงใหม่ นางสาวไทย 2566 รองอันดับ 2

มิสเฟสออฟฮิวแมนนิตี้[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด ผลการประกวด รางวัลพิเศษ
2025 TBA TBA TBA : นางสาวไทย 2567 TBA TBA
เม็กซิโก 2024 กุลปริยา ฆ้อนทอง หนองคาย 20 คนสุดท้าย : นางสาวไทย 2567 รองอันดับ 1
มาริษา พลธิราช สกลนคร รองอันดับ 1 : นางสาวไทย 2566 ไม่สามารถเข้าร่วมการประกวดได้

มิสชาร์ม[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด ผลการประกวด รางวัลพิเศษ
เวียดนาม 2025 TBA TBA TBA : นางสาวไทย 2567 TBA TBA
เวียดนาม 2024 อะราเบล่า สิตานัน เกรโกรี่ พัทลุง รองอันดับ 2 : นางสาวไทย 2566 TBA TBA
เวียดนาม 2023 ปทิตตา สันติวิชช์ ปทุมธานี รองอันดับ 4 : นางสาวไทย 2563 เข้ารอบ 20 คนสุดท้าย Best Social Media

ผลงานการประกวดระดับนานาชาติในอดีต[แก้]

สัญลักษณ์สี

  •   : ชนะเลิศ
  •   : รองชนะเลิศหรืออันดับ 5/6
  •   : เข้ารอบสุดท้ายหรือรอบรองชนะเลิศ
  •   : รางวัลพิเศษหรือเข้ารอบสุดท้ายรางวัลพิเศษ

มิสเวิลด์[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด รางวัลพิเศษ
สหราชอาณาจักร 1968 พินนะรัฐ ทนันไชย กรุงเทพมหานคร เข้ารอบ 15 คนสุดท้าย

มิสอินเตอร์เนชันแนล[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด รางวัลพิเศษ
ญี่ปุ่น 2019 สิรีธร ลีห์อร่ามวัฒน์ กรุงเทพมหานคร มิสอินเตอร์เนชันแนล 2019 ราชินีแห่งทวีปเอเชีย
ญี่ปุ่น 1989 พิมพิไล ไชยโย น่าน ไม่ผ่านเข้ารอบ
ญี่ปุ่น 1988 ภัสสร บุญยเกียรติ กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ ขวัญใจช่างภาพ
ญี่ปุ่น 1987 ดาริน กรสกุล พิษณุโลก ไม่ผ่านเข้ารอบ
ญี่ปุ่น 1986 จันทนี สิงห์สุวรรณ กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
ญี่ปุ่น 1985 ศศิมาภรณ์ ไชยโกมล ชลบุรี ไม่ผ่านเข้ารอบ
ญี่ปุ่น 1972 สรินยา ทัตตวร กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
ญี่ปุ่น 1970 พนารัตน์ พิสุทธิศักดิ์ กรุงเทพมหานคร เข้ารอบ 15 คนสุดท้าย
ญี่ปุ่น 1968 รุ่งทิพย์ ภิญโญ ลำพูน รองอันดับ 4 ขวัญใจช่างภาพ

มิสยูนิเวิร์ส[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด รางวัลพิเศษ
ตรินิแดดและโตเบโก 1999 อภิสมัย ศรีรังสรรค์ นครปฐม ไม่ผ่านเข้ารอบ
สหรัฐ 1998 ชลิดา เถาว์ชาลี กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
สหรัฐ 1997 สรวงสุดา ลาวัณย์ประเสริฐ นครนายก ไม่ผ่านเข้ารอบ
นามิเบีย 1995 ภาวดี วิเชียรรัตน์ กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
ฟิลิปปินส์ 1994 อารียา สิริโสภา กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ นางงามยิ้มสวยจากฟิล์มสี
เม็กซิโก 1993 ฉัตฑริกา อุบลศิริ กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
ไทย 1992 อรอนงค์ ปัญญาวงศ์ เชียงใหม่ ไม่ผ่านเข้ารอบ อันดับ 2 - ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม
สหรัฐ 1991 จิระประภา เศวตนันทน์ กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
สหรัฐ 1990 ภัสราภรณ์ ชัยมงคล สงขลา ไม่ผ่านเข้ารอบ ขวัญใจช่างภาพ
เม็กซิโก 1989 ยลดา รองหานาม กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ อันดับ 2 - ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม
ไต้หวัน 1988 ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ฉะเชิงเทรา นางงามจักรวาล 1988 ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม
สิงคโปร์ 1987 ชุติมา นัยนา กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
ปานามา 1986 ทวีพร คลังพลอย นครสวรรค์ ไม่ผ่านเข้ารอบ
สหรัฐ 1985 ธารทิพย์ พงษ์สุข น่าน ไม่ผ่านเข้ารอบ
สหรัฐ 1984 สาวิณี ปะการะนัง กรุงเทพมหานคร เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย
กรีซ 1973 กนกอร บุญมา ฉะเชิงเทรา ไม่ผ่านเข้ารอบ
ปวยร์โตรีโก 1972 นิภาภัทร สุดศิริ กาญจนบุรี ไม่ผ่านเข้ารอบ
สหรัฐ 1971 วารุณี แสงศิรินาวิน พระนคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
สหรัฐ 1969 แสงเดือน แม้นวงศ์ พระนคร ไม่ผ่านเข้ารอบ ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม
สหรัฐ 1968 อภันตรี ประยุทธเสนีย์ พระนคร เข้ารอบ 15 คนสุดท้าย
สหรัฐ 1966 จีรนันทน์ เศวตนันทน์ สุราษฎร์ธานี รองอันดับ 2
สหรัฐ 1965 อาภัสรา หงสกุล พระนคร นางงามจักรวาล 1965
สหรัฐ 1954 อมรา อัศวนนท์ พระนคร ไม่ผ่านเข้ารอบ

มิสเอเชียแปซิฟิก[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด รางวัลพิเศษ
ฟิลิปปินส์ 1999 นฤมล จินะแก้ว กรุงเทพมหานคร เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย
ฟิลิปปินส์ 1998 สิริดา ชุณหชาติ กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
ฟิลิปปินส์ 1997 วรรัตน์ สุวรรณรัตน์ กรุงเทพมหานคร มิสเอเชียแปซิฟิค 1997 นางงามยิ้มสวย
ฟิลิปปินส์ 1996 จิตรานุช ธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย
ฟิลิปปินส์ 1995 น้ำทิพย์ วีระขจร กรุงเทพมหานคร เข้ารอบ 12 คนสุดท้าย
ฟิลิปปินส์ 1994 ปรารถนา ไชยโรจน์ กรุงเทพมหานคร เข้ารอบ 12 คนสุดท้าย
ฟิลิปปินส์ 1993 มาริสา ทิพย์วังเมฆ กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
ฟิลิปปินส์ 1992 นารถวลี ศรีสกุล
หรือ ชุติมา นิรันสิทธิรัตน์
กรุงเทพมหานคร รองอันดับ 1 ชุดราตรียอดเยี่ยม
บริติชฮ่องกง 1989 เพชรรัตน์ สีแก้ว กรุงเทพมหานคร รองอันดับ 4
บริติชฮ่องกง 1988 ปรียานุช ปานประดับ กรุงเทพมหานคร มิสเอเชียแปซิฟิค 1988 ชุดประจำชาติยอดเยี่ยม
บริติชฮ่องกง 1987 ดวงเดือน จิไธสงค์ กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
บริติชฮ่องกง 1986 สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์ กรุงเทพมหานคร รองอันดับ 2
บริติชฮ่องกง 1985 ลีลาวดี วัชโรบล กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ


มิสควีนออฟเดอะแปซิฟิก[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด รางวัลพิเศษ
ออสเตรเลีย 1966 ประภัสสร พานิชกุล กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ นางงามบุคลิกภาพ

มิสฟลาวเวอร์ควีน[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด รางวัลพิเศษ
ญี่ปุ่น 1989 รักษ์สุดา สินวัฒนา กรุงเทพมหานคร รองอันดับ 2

มิสวันเดอร์แลนด์[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด รางวัลพิเศษ
สาธารณรัฐจีน 1989 ศุภรานันทน์ พันธ์ชูจิต กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ
สาธารณรัฐจีน 1988 ดวงเดือน จิไธสงค์ กรุงเทพมหานคร เข้ารอบ 15 คนสุดท้าย
ญี่ปุ่น 1987 สรารัตน์ หรุ่มเรืองวงศ์ กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ

เวิลด์มิสยูนิเวอร์ซิตี้[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด รางวัลพิเศษ
ประเทศเกาหลี 1991 เบญจมาภรณ์ เดชสุภา กรุงเทพมหานคร ไม่ผ่านเข้ารอบ มิสเอเชีย

มิสทัวริซึมควีนอินเตอร์เนชันแนล[แก้]

ปี ผู้ดำรงตำแหน่ง จังหวัด ตำแหน่งในการประกวด รางวัลพิเศษ
จีน 2016 พิมพ์ชนก จิตชู สมุทรปราการ รองอันดับ 4

อ้างอิง[แก้]

  1. "ฮือฮา! ช่องวัน 31 ทุ่ม 10 ล้าน ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด "MUT-นางสาวไทย" เปิดกว้างร่วมงานทุกเวที". mgronline.com. 2023-12-19.
  2. ""ปุ้ย ปิยาภรณ์" คาด "ND นิการากัว" ลาออกเพราะกดดัน ให้กำลังใจ "Miss Universe 2023" ยังกลับประเทศไม่ได้". mgronline.com. 2023-12-19.
  3. “นางสาวไทย” ที่โลกลืมคืนชีพแล้ว ย้ายจาก ช่อง 9 อสมท. กลับไปตายรังเดิม ช่อง 7

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]